และนอกจากนี้คงต้องขอทำความเข้าใจซักเล็กน้อยเสียก่อนในที่นี้ว่า ตัวกระผมเองซึ่งเป็นผู้จัดทำนั้นก็ไม่ได้เป็นผู้สันทัดในเรื่องภาษาเท่าไรนัก อาศัยประสบการณ์กับเกมนี้ไปหลายชั่วโมง (เกือบ 600 ชม.ได้แล้วมั้ง ฮาฮา) จึงสามารถเรียบเรียงขึ้นเท่าที่สมองของผมจะอำนวยเท่านั้น ผิดพลาดประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ ด้วยนะครับ ผมเชื่อว่า
ปล. บางภาพ บางข้อมูล ผมก็ต้องไปอาศัยยืมเขามาอีกทีนะครับ โปรดให้อภัยกันด้วยเด้อ -*-
ปล.2 ข้อมูลทั้งหมดในบทความนี้นั้นส่วนใหญ่เน้นการแปลและการอธิบายความสัมพันธ์ของข้อมูลต่างๆ แบบเจาะลึก ซึ่งสำหรับผู้เล่นใหม่ที่เป็นหน้าใหม่จริงๆก็คงไม่รู้เรื่อง
คำเตือน เกมนี้ถึงจะเล่นบนคอมแบบเก่าเต่าล้านปีไหวก็จริงอยู่ แต่ทว่าจากการนั่งทำคู่มือ แล้วมีการพับจอบ่อยๆ จะทำให้เกิดปัญหาคอมในตำนาน "จอฟ้า" ได้ ดังนั้นสำหรับผู้เล่นที่มีคอมสเปคไม่แรงมาก ไม่ควรจะพับจอบ่อยๆหรือเล่นอย่างรุนแรงเกิน 4 ชั่วโมงนะครับ ไม่งั้นท่านจะเสี่ยงเจอปัญหาระดับตำนานตัวนี้เป็นแน่
** ท่านใดที่มีคำถามเกี่ยวกับการเกมเพลย์สามารถโพสถามได้เลยนะครับ ถ้าผมตอบได้ก็จะพยายามตอบให้เด้อ จะพยายามเช็คทุกวันครับช่วงนี้ ถ้าผมเห็นว่าต้องอธิบายโดยละเอียดเป็นข้อเฉพาะก็จะทำเป็นโพสใหม่ไ้ว้ให้คนอื่นๆดูด้วยนะครับ หรือถ้าใครตรวจพบข้อผิดพลาด (พิมพ์ตก ข้อมูลผิด เขียนอ่านไม่รู้เรื่อง บลาๆๆ -*-) ก็ช่วยกันคอมเมนต์บอกไว้ จะเป็นพระคุณอย่างสูงครับ
Being Constructed...ยังไม่เสร็จสมบูรณ์จ้า (^_^)
ช่วงนี้เนื่องจากตัวผมเปิดเทอมแล้ว และสภาพเน็ตที่ไม่เอื้ออำนวยนัก ต้องขอพักไว้แค่นี้ก่อนนะครับ -*-
1.อินเตอร์เฟสหลักในส่วน Single player
เกมนี้อันที่จริงก็มีโหมด tutorial เหมือนกับเกมอื่นๆ หากท่านสามารถเล่นจนจบก็ย่อมเข้าใจในตัว
เกมคร่าวๆได้โดยไม่ยากนัก โดยผมจะเริ่มอธิบายตั้งแต่หน้าจอ single player เข้ามานะครับ
1.1 หน้าจอยาวๆทางด้านซ้ายมือ คือช่วงเวลาที่หน้าสนใจทางประวัติศาสตร์ โดยเกมนี้ท่านจะเลือกเล่นได้ทุกอาณาจักรเท่าที่มีมาตั้งแต่ ค.ศ.1444-1820 ซึ่งโดยปกติ หากท่านไม่ใช่คอประวัติศาสตร์ที่อยากเล่นบางช่วงเวลาเป็นพิเศษ ก็แนะนำให้เริ่มเกมในปี 1444 ครับ
1.2 แถบไอคอนรูปต่างๆหกแบบด้านขอบบนใต้คำว่า The world 1___ AD. แสดงถึงแผนที่ต่างๆที่จะทำให้เราเข้าใจลักษณะที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศในด้านต่างๆที่แต่ละแผนที่นำเสนอ ดังนี้
คำอธิบายแผนที่ 6 โหมดหลัก
1.2.1 แผนที่ทางภูมิศาสตร์ แสดงถึงสภาพภูมิประเทศในแถบต่างๆ จะมีผลกับการสู้รบ ซึ่งผมจะขอยกไว้กล่าวเกี่ยวกับการสู้รบอีกทีหนึ่ง
1.2.2 แผนที่ทางการปกครอง จะแสดงอาณาเขตของแคว้นต่างๆ เป็นสีต่างๆกัน
และยังรวมไปถึงหากแคว้น 2 แคว้นรบกันแล้วฝ่ายใดผ่ายหนึ่งงสามารถยึดเมืองได้ ก็จะเกิดสีของผู้ที่ยึดได้ลากทับไว้จนกว่าจะมีการเจรจาสงบศึกหรือเจ้าของเดิมมายึดคืน เช่นในกรณีนี้ซึ่งฝ่ายกบฎเข้ายึดเมืองดังจะเห็นในภาพด้านล่าง
1.2.3 แผนที่ศาสนา แสดงถึงศาสนาในเขตจังหวัดต่างๆทั่วโลก โดยบางที่ทีมีสีทับกันอยู่ คล้ายกับแผนที่การปกครอง ก็แปลว่าศาสนาประจำแคว้นและศาสนาในเมืองนั้นไม่เหมือนกัน อาจก่อให้เกิดกบฎได้ง่าย ดังจะเห็นได้ดังภาพต่อไปนี้
1.2.5 แผนที่โซนการค้า แสดงถึงเขตการค้าต่างๆภายในโลก หากเราสามารถมีเมืองอยู่ในหลายๆเขตการค้าเราก็สามารถที่จะเข้าร่วมมีส่วนแบ่งในผลประโยชน์ได้จากหลายโซนเช่นเดียวกัน โดยการส่งพ่อค้าเข้าไปซึ่งสามารถทำรายได้ให้อาณาจักรได้ดีมาก โดยเฉพาะหากมีเมืองในเขตการค้าสำคัญ เช่น เวนิซ หรือแอนต์เวิร์ป
1.2.6 แผนที่ความสัมพันธ์ทางการฑูต เป็นหนึ่งในแผนที่ที่สำคัญที่สุดหากยังไม่เคยมีประสบการณ์ในการเล่นเกมนี้ เพราะจะทำให้ท่านทราบความสัมพันธ์คร่าวๆ ของรัฐท่านกับรัฐอื่นๆได้
โดยความสัมพันธ์กับรัฐต่างๆจะปรากฎเป็นสีดังภาพ
1. สีเขียว คืออาณาเขตที่อยู่ใต้การปกครองของเราโดยตรง
2. สีแดง (ในที่นี้ไม่มี) คือกำลังทำสงครามติดพันกันอยู่ ผู้เริ่มเล่นยังไม่ควรที่จะเริ่มเล่นรัฐเหล่านี้เท่าไร เพราะหากแพ้สงครามแต่ทีแรกคงไม่น่าสนุกนัก จะมีข้อยกเว้นก็คือ ประเทศฝรั่งเศสในตอนเริ่มเกมเท่านั้นเพราะสามารถชนะสงครามโดยแทบไม่ต้องทำอะไรเลย
3.สีเทา คือแคว้นที่ไม่มีพันธะใดๆกับเรา เป็นกลางต่อกัน (ถึงแม้บางทีจะเขม่นกันแล้วก็เถอะ -*-)
4.สีม่วง คือแคว้นที่เรามีการแต่งงานข้ามราชวงศ์กัน โดยจะมีผลสำคัญคือตราบเท่าที่การแต่งงานนั้นไม่สิ้นสุดลงเพราะการตายของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จะลดโอกาศที่อีกฝ่ายจะบุกเราได้มาก และเป็นการสร้างความเชื่อใจในระดับหนึ่งด้วย รวมถึงหากโชคช่วย ท่านอาจได้ตำแหน่งกษัตริย์ประเทศนั้นๆฟรี หากราชวงศ์ฝ่ายนั้นสิ้นเชื้อสายลง ซึ่งจะกล่าวในครั้งต่อไปให้เข้าใจลึกซึ้งกว่าเดิมอีกทีหนึ่งในหัวข้อ...
5.สีฟ้าเข้ม (ในภาพนี้คือออสเตรียซึ่งอยู่ในยุโรปกลาง) เป็นพันธมิตรกับเรา จะต้องคอยช่วยเหลือกันในยามสงคราม หากเราทำให้อีกฝ่ายเชื่อใจได้มาก ก็จะทำให้ความใกล้ชิดเพิ่มขึ้นจนถึงสูงสุดได้
6.สีฟ้าอ่อน (ในที่นี้คือส่วนใหญ่ของอเมริกาใต้) คือเมืองขึ้นของคุณ หรืออาณานิคมของคุณ จะต้องรบตามเจ้านายเสมอ หากเป้นเมืองขึ้นต้องแบ่งจ่ายส่วนหนึ่งของภาษีให้ประเทศแม่ หากเป็นอาณานิคมจะมอบอำนาจการค้าครึ่งหนึ่งให้เราตลอดเวลา
7.สีเหลือง คือเมืองที่เราอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนนั้นว่าเราเป็นเจ้าของที่ถูกต้อง สามารถใช้เป็นเหตุแห่งสงครามได้
8.สีเขียวลากทับรัฐอื่น (ในที่นี้ไม่มี) คือเมืองที่ถูกพิจารณาจากทุกๆรัฐว่าเป็นเมืองโดยชอบธรรมของเรา ที่ถูกรัฐอื่นๆครอบครองไป ยิ่งมีมากค่าเกียรติยศยิ่งเสื่อมเร็วขึ้น เมืองประเภทนี้จึงควรยึดกลับหากมีโอกาศ
![]() |
ตัวอย่างภาพจากข้อที่ 8 |
1.3 รายละเอียดของรัฐที่จะเริ่มเล่น หรือช่องยาวๆ ทางด้านขวามือของอินเตอร์เฟซ
*** ก่อนที่ท่านจะเริ่มเล่นรัฐใดๆก็ตามจะต้องเลือกดูความเหมาะสมจากแผนที่ 6 แบบด้านบนเสียก่อนว่าอยู่ในเขตการค้าสำคัญๆหรือไม่ มีรัฐสำคัญๆที่ใหญ่กว่าเราจะมางาบเราไปหรือเปล่า และยังต้องประกอบกับคุณสมบัติของประเทศ ณ เวลานั้นๆ อีกด้วย เราจะมาดูส่วนนี้กันเลยครับ
![]() |
หัวข้อ 1.3.1 |
ถัดลงมาจากตราประจำรัฐและชื่อรัฐแล้วจะเป็นในส่วนของรายละเอียดต่างๆของรัฐในเวลานั้นโดยจะแยกอธิบายอย่างละเอียดเป็นส่วนๆไป
1.3.1 ระบอบการปกครองของประเทศ มีอยู่หลักๆ 2 แบบด้วยกัน ได้แก่แบบมีพระมหากษัตริย์หรือ Monarchy โดยมีกษัตริย์หรือจักรพรรดิเป็นประมุข และแบบมหาชนรัฐหรือ Republic ซึ่งจะขออธิบายข้อดี-ข้อเสียในทุกๆแบบเท่าที่จะเป็นไปได้ในที่นี้เลยนะครับ
*หมายเหตุ: คำว่า kingdom ในกรอบวงกลมเพียงแสดงระบอบหลักเท่านั้น แต่ไม่ได้บอกว่าภายในมีการปกครองแบบไหน จะต้องเลื่อนเมาส์ดูเอาเอง เพราะฉะนั้นหากเจอแคว้นที่เป็น duchy หรือ archduke ก็สามารถมีรายละเอียดการปกครองภายในหลายแบบให้เลือกเช่นเดียวกับ kingdom และ republic ได้
**หมายเหตุ ในส่วนนี้สามารถข้ามไปได้เลยสำหรับผู้เล่นหน้าใหม่จริงๆที่ไม่เคยเล่นเกมแนวนี้มาก่อน เพราะในตอนเริ่มเกมหากไม่ได้เลือกแคว้นที่มีระบบพิเศษก็จะยังไม่ค่อยแตกต่างกันนัก แต่สำหรับผู้เล่นใหม่ควรเริ่มเล่นระบบ Monarchy เพราะระบบจะง่ายกว่า
ความสามารถพิเศษของ Monarchy แบบต่างๆที่สามารถเปลี่ยนได้เอง
1.Despotic Monarchy - ลดความเสี่ยงในการเกิดกบฎลง 1 หน่วย - สามารถเรียกร้องค่าปฎิกรรมสงครามจากคู่ต่อสู้โดยเปลืองความสามารถด้านการฑูตลง 10 เปอร์เซ็นต์
2.Feudal Monarchy - ได้รับบรรณาการจากเมืองขึ้นเพิ่มขึ้น 10 เปอร์เซ็นต์ - เพิ่มกองกำลังสำรองภายในประเทศ 10 เปอร์เซ็นต์ (มีประโยชน์ค่อนข้างมาก)
3.Administrative Monarchy - ผลผลิตสินค้าภายในประเทศเพิ่มขึ้น 10 เปอร์เซ็นต์ -เก็บภาษีได้มากกว่าปกติ 5 เปอร์เซ็นต์
4.Absolute Monarchy - ทหารมีระเบียบวินัยเพิ่มขึ้น 10 เปอร์เซ็นต์ (มีประโยชน์มาก) - ลดความเสี่ยงในการเกิดกบฎ 1 หน่วย * สำหรับคนเน้นทหารเก่ง
5.Constitution Monarchy - ค่าเกียรติยศเสื่อมช้าลง 1 เปอร์เซ็นต์ (มีประโยชน์มาก) - เพิ่มความมั่นคงในการสืบราชบัลลังก์ 1 เปอร์เซ็นต์ - กองกำลังสำรองเข้าประจำการเร็วขึ้น 10 เปอร์เซ็นต์ *สำหรับคนชอบความมั่นคง รวทั้งผมเองด้วยชอบเล่นตัวนี้พอเทคโนโลยีถึงแล้ว
6.Enlightened Depotism - เพิ่มโอกาศตรวจพบแผนร้ายศัตรู 20 เปอร์เซ็นต์ - ค่าทำเมืองให้เป็น core (ทำให้กลายเป็นเมืองเราโดยสมบูรณ์ ไม่ให้เกิดกบฎง่ายๆ) ลดลง 5 เปอร์เซ็น -*- เพื่อ? - เพิ่มทหารกองกำลังสำรอง 10 เปอร์เซ็นต์
7.Revolutionary Empire - ความนิยมการทหารเพิ่มขึ้นปีละ 1 - เพิ่มทหารกองกำลังสำรอง 20 เปอร์เซ็นต์ - เพิ่มกำลังใจทหาร 10 เปอร์เซ็น * ทหารเก่งสุดๆ แต่จะเกิดเฉพาะที่ฝรั่งเศษตามสงครามนโปเลียนในประวัติศาสตร์จริงเท่านั้น
ความสามารถของ Monarchy แบบพิเศษ
รูปแบบการปกครองแบบมีประมุขของรัฐแบบพิเศษที่มีเฉพาะบางประเทศเท่านั้น มีดังนี้
1. Archduchy - เพิ่มบรรณาการจากเมืองขึ้น 10 เปอร์เซ็นต์ - เพิ่มคววามสัมพันธ์การฑูตขึ้นอีก 1 แคว้น - เพิ่มกำลังพลสำรอง 10 เปอร์เซ็นต์ // การปกครองแบบพิเศษของออสเตรีย Austria เมื่อได้รับอีเวนท์ Privilegium Maius ซึ่งจะสุ่มเกิดเมื่อมีค่าเกียรติยศมากกว่า 75 หน่วยและจะง่ายขึ้นหากสูงกว่านั้น
2. Celestial Empire - ลดค่าความเสี่ยงในการกบฎลง 3 หน่วย // มีเฉพาะในช่วงราชวงศ์หมิงเท่านั้น มีการปกครองที่แปลกประหลาดกว่าทุกรัฐในโลก ต้องคอยเลือกแต่ผมไม่เคยเล่นมาก่อน -*- ดังนั้นขอข้ามนะครับ
3. Daimyo - เพิ่มกำลังใจทหาร 10 เปอร์เซ็นต์ - เพิ่มกำลังทหาร 10 เปอร์เซ็นต์ // มีเฉพาะเมืองขึ้นของญี่ปุ่นเท่านั้น สามารถประกาศศึกกับไดเมียวคนอื่นๆและยังสามารถตั้งเป็นญี่ปุ่นโดยล้มโชกุนคนเก่าได้
4. Iqta - เพิ่มบรรณาการจากเมืองขึ้น 33 เปอร์เซ็นต์ -เพิ่มโอกาสได้รัชทายาท 100 เปอร์เซ็นต์ // ระบบพิเศษคล้ายระบบฟิวดัลในยุโรป มีโอกาศโดนประเทศอื่นกินเมืองน้อยมาก
5. Shogunate - เพิ่มความสัมพันธ์ทางการฑูตอีก 4 รัฐ // พบได้เฉพาะโชกุนแห่งญี่ปุ่นเท่านั้น เกิดจากการที่ไดเมียวสามารถครอบครองเมืองหลวงและโค่นโชกุนคนเก่าลงได้ เมืองขึ้นของโชกุนทุกๆเมืองจะสามารถประกาศศึกกันเองได้ ไม่เหมือนกับรัฐอื่นที่เมืองขึ้นไม่สามารถประกาศศึกกับใครได้เลย
ความสามารถของ Republic แบบต่างๆที่เปลี่ยนได้เอง
1. Merchant - เพิ่มพ่อค้า 1 คน - เพิ่มอำนาจทางการค้าขาย 10 เปอร์เซ็นต์ // มีการเลือกตั้งใหม่ทุก 4 ปี
2. Noble - เพิ่มค่าความยอมรับในศาสนานอกรีต 1 - เพิ่มค่าความยอมรับในศาสนาอื่นๆ 1 - เพิ่มกำลังใจของทหาร 10 เปอร์เซ็นต์ // เลือกตั้งใหม่ทุก 8 ปี เป็นมหาชนรัฐแบบเดียวที่สามารถแต่งงานข้ามราชวงศ์ได้
3. Administrative - เพิ่มค่าความยอมรับในศาสนานอกรีต 1 - เพิ่มค่าความยอมรับในศาสนาอื่นๆ 1 - เพิ่มเพิ่มความสามารถในการค้าขายขึ้น 10 เปอร์เซ็นต์ (trade efficiency ไม่แน่ใจความหมาย...) // เลือกตั้งใหม่ทุกๆ 5 ปี
4. Dictatorship - เพิ่มค่าความยอมรับในศาสนานอกรีต 1 - เพิ่มค่าความยอมรับในศาสนาอื่นๆ 1 - เพิ่มกำลังใจของทหาร 10 เปอร์เซ็นต์ // เป็นระบบที่เกิดขึ้นเพียงครังเดียวในประวัติศาสตร์ในสมัยรัฐบุรุษของอังกฤษ โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ ผู้ปกครองจะปกครองตลอดชีวิตคล้ายๆกับเป็นประมุข
5. Constitution - เพิ่มค่าความยอมรับในศาสนานอกรีต 1 - เพิ่มค่าความยอมรับในศาสนาอื่นๆ 1 - เพิ่มผลผลิตภายในประเทศ 20 เปอร์เซ็นต์ // เลือกตั้งทุกๆ 4 ปี
6. Bureaucratic Depotism - เพิ่มค่าความยอมรับในศาสนานอกรีต 1 - เพิ่มค่าความยอมรับในศาสนาอื่นๆ 1 - ค่าในการเพิ่มความมั่นคงภายในประเทศลดลง 20 เปอร์เซ็นต์ // ผู้ปกครองปกครองตลอดชีวิต
7. Revolutionary - เพิ่มค่าความยอมรับในศาสนานอกรีต 2 - เพิ่มค่าความยอมรับในศาสนาอื่นๆ 2 // จะเกิดได้เฉพาะในยุโรปช่วงกลางศตวรรษที่ 18 เป็นต้นไป จะเกิดได้ด้วยการปล่อยให้กบฎ revolutionary ยึดครองเมืองได้
1.3.2 ค่าความสามารถของผู้นำและรัชทายาท
ค่าความสามารถของตัวละคร (Monarch point)ที่เราจะเลือกเล่นนั้นจะค่อนข้างตรงกับประวัติศาสตร์จริง โดยความสามารถของผู้นำแต่ละคนจะถูกแบ่งย่อยออกเป็น 3 ประเภท โดยแต่ละประเภทจะมีค่าความสามารถในประเภทนั้นๆได้สูงสุด 6 แต้ม และต่ำสุดคือ 0 แต้ม แบ่งได้ดังนี้
1. ความสามารถด้านการบริหาร (Administrative skill) เป็นรูปกระดาษและปากกาอันแรกสุด
2. ความสามารถด้านการฑูต (Diplomatic skill) เป็นรูปนกกระดาษอันตรงกลาง
3. ความสามารถด้านการทหาร (military skill) รูปดาบสองอันไขว้อันอันริมขวา
ผู้นำที่มีอายุต่ำกว่ากว่า 15 ปี จะมีผู้สำเร็จราชการดำเนินการบริหารประเทศแทนจนกว่าจะอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ ดังนั้นหากกษัตริย์คนปัจจุบันดันรีบตายไปเสียก่อน รัชทายาทก็จะยังไม่ได้ขึ้นครองราชย์ในทันที
ค่า claim คือความมั่นคงในการสืบราชบัลลังก์ จะเป็นการสุ่มเอาเช่นเดียวกัน แต่ในกรณีส่วนใหญ่ก็มักมีเหตุผล เช่น รัชทายาทคนเก่าตาย มีคนใหม่ขึ้นแทนแล้วยังตายอีก จากนั้นก็ได้รัชทายาทใหม่ที่อายุขวบเดียวจากตระกูลอื่นมา ก็จะทำให้เกิด week claim จนกษัตริย์รัฐอื่นสามารถมาแย่งชิงตำแหน่งกษัตริย์ของเราได้
*หมายเหตุ เกมนี้ความสามารถของบุคคลจะเกิดจากการสุ่มทั้งสิ้น นอกจากในระบบ Republic ที่บางครั้งจะมีผู้นำมาให้เลือกว่าต้องการคนไหน ซึ่งก็ยังกำหนดความสามารถของบุคคลไม่ได้อยู่ดี
**สามารถอ่านเพิ่มเติมเรื่อง Monarch point ที่ข้อ 2.6 ครับ
1.3.3 ค่าระดับเทคโนโลยี **ข้อนี้สำคัญกรุณาอ่าน
จากหัวข้อ 1.3.2 หัวข้อต่อไปนี้นี้นับว่ามีความเกี่ยวข้องกันอยู่ สัญลักษณ์ของเทคโนโลยีในหัวข้อนี้จะมีลักษณะคล้ายกับค่าความสามารถตัวละครหรือ Monarch point เพียงแต่มีรูปฟันเฟืองอยู่มุมล่างของสัญลักษณ์เดิมเท่านั้น
โดยค่าระดับเทคโนโลยีนั้นจะขึ้นอยู่กับกลุ่มเทคโนโลยี (จะกล่าวโดยละเอียดในภายหลัง) และค่าความสามารถตัวละคร คือยิ่งกลุ่มเทคโนโลยีสูงและมีค่าความสามารถตัวละครสูง เทคโนโลยีก็จะไปไวกว่ารัฐอื่นๆ ที่ไม่เพียบพร้อมเท่ารัฐของเรา แต่ในทางตรงข้าม หากเราอยู่ในกลุ่มเทคโนโลยีที่ช้า เช่น จีน หรือโลกใหม่ หรือต่อให้เป็นกลุ่มเทคโนโลยีตะวันตกที่เร็วที่สุด แต่ผู้นำไร้ความสามารถมี monarch point ต่ำ ค่านี้ก็ไปช้ากว่ารัฐอื่น และจะทำให้เสียเปรียบในด้านต่างๆที่เราล้าหลังไป
ค่า ADM และ DIP อาจจะยังไม่สำคัญนักหากล้าหลังไปแค่ขั้นสองขั้น แต่หากด้าน MIL ล้าหลังกว่ารัฐอื่นเพียงขั้นเดียวไปไม่กี่เดือน ก็เสี่ยงต่อการโดนประกาศสงครามมาก
**สามารถอ่านเพิ่มเติมเรื่องกลุ่มของเทคโนโลนีได้ในหัวข้อ 2.6.4 ครับ
1.3.4 ไอเดียของประเทศ
สำหรับคำว่า "ไอเดีย" จะมีความหมายคล้ายกับแนวทางการบริหารของแต่ละประเทศ ที่จะแตกต่างกันตามภูมิหลังของประเทศนั้นๆ โดยทุกๆรัฐจะมีไอเดียเป็นเอกลักษณ์ของตนเองทั้งหมด 7 ไอเดีย และเสริมอีก 1 ไอเดียที่จะได้เมื่อปลดล๊อกไอเดียทั้งหมด แะยังมีไอเดียที่ติดตัวกันมากับทุกๆแคว้นตั้งแต่เริ่มเกมอีก 2 ไอเดียอกีด้วย โดยไอเดียแต่ละชนิดจะให้ผลลัพย์เมื่อปลดลีอกแตกต่างกันออกไป ดังนั้นผมไม่สามารถจะแปลไอเดียทุกรัฐได้ไหว จึงต้องขออธิบายคร่าวๆเพียงเท่านี้ก่อนนะครับ
******หมายเหตุ สำคัญสุดๆ!! หากมีข้อสงสัยในเรื่องใดๆในเกมนี้ที่ผมไม่ได้อธิบายไว้ทั้งหมด เช่น ไอเดียต่างๆ ให้ลองเอาเมาส์ไปวางบนไอคอนหรือตัวหนังสือนั้นๆดู จะมีรายละเอียดเป็นภาษาอังกฤษขึ้นมาให้เสมอนะครับ
1.3.5 ความสัมพันธ์กับรัฐอื่นๆ
ในส่วนนี้จะแสดงถึงความสัมพันธ์ของท่านกับรัฐต่างๆแบบละเอียดมากกว่าแผนที่ในข้อ 1.2.6 จะแสดงถึงความสัมพันธ์ทางการฑูตที่เป็นรูปธรรมระหว่างรัฐต่างๆ มีรายละเอียดดังนี้
1. Have a truce with .... หมายถึงมีสัญญาสงบศึกกับแคว้นใดๆ โดยมีระยะเวลา 5 ปี หากฝ่าฝืนสัญญาฝ่ายที่ประกาศศึกจะเสียค่าความมั่นคง 3 หน่วย
2.Improving relation with ... หมายถึงเรากำลังส่งฑูตไปเพิ่มความสัมพันธ์กับรัฐนั้นๆอยู่
3.Improving relation from ... หมายถึงรัฐนั้นส่งฑูตมาเพิ่มความสัมพันธ์กับรัฐของเราอยู่
4. Allied with ... หมายถึงเราเป็นพันธมิตรกับรัฐนั้นๆ และหากเราหรือเขาเรียกให้ช่วยในสงครามเื่อไรจะต้องช่วยกันเสมอ
5.Target of the coalition of ... หมายถึงรัฐที่ปรากฎในนี้ไม่ไว้ใจเราแม้แต่น้อย และถ้าหากหนึ่งในสมาชิกรบกับเราเมื่อไร ทุกๆรัฐในช่องนี้ จะเข้าร่วมสงครามกับเราหมดทันที เกิดขึ้นเมื่อเราขยายอำนาจเร็วเกินไป
6.Royal marriage with ... หมายถึงมีการแต่งงานข้ามราชวงศ์กับรัฐนั้นๆอยู่
7.Has ... Casus belli again ... เรามีเหตุแห่งสงครามสำหรับประกาศศึกใส่รัฐเหล่านั้นได้โดยไม่เสียค่าความมั่นคงจากการต่อต้านของประชาชน ซึ่งมีหลายสาเหตุมาก จะขอยกไว้อธิบายภายหลัง
8.Embargoed by ... เราถูกรัฐนั้นๆ คว่ำบาตรไม่ยุ่งเกี่ยวในด้านการค้าด้วย ทำให้ขาดรายได้จากการที่พ่อค้าของเราไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ได้เต็มที่จากจุดการค้าที่เราถูกคว่ำบาตรใส่
9.At war with ... เรากำลังทำสงครามกับรัฐนั้นๆอยู่
10.Guarantee the independent by/of ... เราได้รับการรับรองอิสระภาพจากรัฐนั้นหากเป็น by หรือเรารับรองอิสระภาพรัฐนั้นหากเป็น of เมื่อไรก็ตามที่รัฐที่ถูกการันตีโดนโจมตี ผู้ที่การันตีจะเข้าร่วมรัฐนั้นในสงครามป้องกันตนเองทันที
11.Has military access to ... เราสามารถเดินผ่านดินแดนของรัฐเหล่านี้ได้
12.Grants military access to ... เราอณุญาตให้รัฐเหล่านี้เดินผ่านแดนเราได้
13. Has fleet basin right in ... เราสามารถจอดเรือ ซ่อมแซมเรือ ในเมืองท่าของรัฐเหล่านี้ได้ โดยต้องจ่ายค่าจอดเรือให้รัฐเหล่านี้ทุกๆเดือน
14.Grants fleet basin right to ... เราอณุญาตให้รัฐเหล่านี้จอดเรือในท่าของเรา และได้รับเงินค่าจอดเรือแปรผันตรงตามจำนวนท่าที่เรามี
15.Embargoing ... เราคว่ำบาตรการค้ารัฐเหล่านี้ไม่ให้พ่อค้าเข้าสู่ดินแดนใต้ปกครองของเรา
16.Lead personal union with ... กษัตริย์ของเราปกครองดินแดนเหล่านั้นด้วย โดยดินแดนเหล่านั้นจะสามารถถูกผนวกเข้ามาเป็นของหลังภายหลัง 50 ปีไปแล้ว
17. In personal union under ... ตกอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์รัฐนั้นๆ
18.Has the mission ... กำลังทำภารกิจ... (เลือกได้จากในเกมหลังเริ่มเล่นแล้ว)
19.Warning ... ข่มขู่ให้แคว้นอื่นๆ ไม่สามารถโจมตีประเทศเพื่อนบ้านของเรา มิฉะนั้นเราจะเข้าร่วมสงครามกับประเทศเพื่อนบ้านของเราได้
20. Warning by ... ถูกอีกฝ่ายข่มขู่ไม่ให้ขยายดินแดน
21. Has the following vassal ... มีรัฐเหล่านั้นเป็นรัฐบรรณาการหรือเมืองขึ้น สามารถผนวกเข้ามาเป็นดินแดนเราหลังผ่านไป 10 ปี
22.Is a vassal of ... เราเป็นเมืองขึ้นของรัฐนั้นๆอยู่
23. Has the colonies ... เรามีเมืองเหล่านี้เป็นอาณานิคม
24.Is subsidizing ... กำลังช่วยเหลือด้านการเงินโดยส่งเงินให้รัฐนั้นๆทุกๆเดือน
25. Has the following protectorate มีรัฐเหล่านี้เป็นรัฐในอารักขาจะคอยป้องกันรัฐเหล่านี้หากถูกโจมตี และทำให้อีกฝ่ายวิจัยเทคโนโลยีเร็วขึ้น 25 เปอร์เซ็นต์ โดยได้อำนาจการค้า 50 เปอร์เซ็นต์ ในเขตการค้าที่รัฐเหล่านั้นมีอิทธิพลอยู่ ใช้ได้กับรัฐที่มีเทคโนโลยีในกลุ่มล้าหลังกว่าเท่านั้น
**** ผมบกพร่องไปหน่อย *** ลืมบอกตัวสำคัญที่สุดไปเลย กรรม..อันบนสุดที่เป็นรูปฟันเพืองสีทองแล้วมีรูปหมวกสารพัดแบบตามสารพัดที่ในโลกคือกลุ่มของเทคโนโลยี สามารถข้ามไปอ่านในข้อ 2.6.4 ได้เลยครับ
1.3.5 Option ต่างๆ
โหมดผู้เล่นคนเดียว
1. Bonuses ปรับว่าจะให้โบนัสตกอยู่กับใคร ระหว่างผู้เล่น คอมพิวเตอร์ หรือไม่มีเลย
2. AI difficulty ปรับความยาก-ง่ายของคอมพิวเตอร์
3. Lucky Nation จะทำให้ประเทศที่เป็นผู้นำของโลกตามประวัติศาสตร์ได้โบนัส เช่น ฝรั่งเศส สเปน อังกฤษ หรือให้สุ่มรัฐบางรัฐขึ้นมาได้รับโบนัสแทน มิเช่นนั้นก็ปิดไปเสียเลย
4. Terra incognita in lobby ทำให้เมื่อเรายังไม่เริ่มเกมหรือพูดอีกอย่างหนึ่ง ก็คือยังอยู่ในหน้าอินเตอร์เฟซนี้นั่นเอง โดยไม่ว่าจะเริ่มครั้งแรกหรือโหลดเซฟใหม่ จะไม่สามารถมองเห็นประเทศหรือทวีปที่ตนเองยังไม่ค้นพบได้
โหมดผู้เล่นหลายคน
เนื่องจากเกมนี้สามารถย้ายเซฟจากการเล่นคนเดียวหรือ single player ไปเล่นต่อในโหมดผู้เล่นหลายคนได้ จึงต้องมีการตั้งค่าไว้เผื่อ อันได้แก่
1. Allow players to hotjoin อณุญาตให้ผู้เล่นคนอื่นๆสามารถเข้าร่วมเล่นในโหมดผู้เล่นหลายคน หลังจากที่เกมเริ่มไปแล้วได้ ปกติตั้งไว้เพื่อให้คนที่เกมหลุดสามารถกลับเข้าเกมมาได้
2. Allows players to play the same country อณุญาตให้ผู้เล่นเล่นรัฐเดียวันได้ -*- เอิ่ม...มันเป็นอย่างไรผมยังไม่เคยทดสอบนะครับ
3. Only host can save จะอณุญาตให้ผู้สร้างห้องเซฟได้เท่านั้น ซึ่งส่วนตัวไม่แนะนำเป็นอย่างยิ่ง เพราะถ้าหัวหน้าห้องหลุดเองก็ต้องเริ่มเล่นใหม่กนัหมด
4. Editable savegame อณุญาตให้ผู้เล่นคนอื่นๆสามารถนำเกมนี้ไปเล่นต่อในเกมเล่นคนเดียวของตนเองหรือปรับแต่งเซฟนั้นได้
5. Locked ledger จะล๊อกตารางเปรียบเทียบในด้านต่างๆภายในเกม เพื่อป้องกันผู้เล่นดูข้อมูลของรัฐอื่นๆที่ตนเองไม่รู้ได้
![]() |
Ledger ตารางเปรียบเทียบข้อมูลต่างๆอยู่ที่มุมล่างขวาของจอ |
เพิ่มเติม สำหรับผู้ที่ต้องการปลดล๊อก achivement ในเกมนี้จะต้องติ๊กถูกที่กล่องที่เขียนว่า ironman mode ซึ่งจะเซฟไม่ได้ และโบนัสเป็นของคอมพิวเตอร์ตลอดเท่านั้น
![]() |
โหมด ironman ที่เล่นแล้วปวดหัวมาก -*- |
รัฐเริ่มต้นที่น่าสนใจสำหรับมือใหม่นะครับ
1.ออตโตมัน เป็นรัฐที่เริ่มต้นมามีขนาดใหญ่มาก มีทหารมากกว่ารัฐเพื่อนบ้านทั้งหมด และยังรวมถึงกษัตริย์ที่มีค่าความสามารถสูงในทุกๆด้าน ซึ่งก็คือคือสุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 ผู้ตีกรุงคอนแสตนตโนเปิลจนแตกได้ ทำให้ออตโตมันดูจะเป็นตัวเลือกที่ง่ายที่สุดสำหรับผู้เล่นใหม่ เมื่อเริ่มเกมมาสามารถที่จะเริ่มตีแคว้นเล็กในอนาโตเลียได้สบายๆ หลังจากที่ชนะศึก Albania แล้ว แล้วจึงค่อยอ้างสิทธิ์เหนือคอนแสตนติโนเปิล แยกทัพเป็น 2 ส่วนก็สามารถยึดครองอาณาจักรที่กว้างใหญ่ได้แล้วตั้งแต่ 10 ปีแรก การเล่นของออตโตมันเน้นพิชิตรัฐอิสลามอื่นๆ ในเอเชียกลางและแอฟริกาเหนือเข้สไว้ด้วยกัน
2. อาณาจักรคาสตีล เป็นรัฐขนาดใหญ่ทางด้านเกือบตะวันตกสุดของยุโรป มักได้อีเวนท์พิเศษที่จะสามารถรวมแคว้น Aragon ซึ่งเป็นรัฐขนาดใหญ่ใกล้บ้านมาเป็นของตัว แล้วก่อตั้งสเปนได้ ช่วงแรกๆอาจจะไม่สามารถขยายอำนาจได้มากนัก เพราะกษัตริย์ 2 คนแรกไม่ค่อยมีความสามารถเท่าไร นอกจากท่านจะรบชนะโปรตุเกสได้ แต่เมื่อไรท่านสามารถปลดล๊อกนักสำรวจจากไอเดีย Quest of new world เมื่อไรท่านจะสามารถบุกเบิกดินแดนในแอฟริกา ข้ามมาอเมริกาใต้ ไปแคริบเบียน ขึ้นอเมริกาเหนือ แล้วไปต่อยังเอเชียได้สบายๆ เพียงหาพันธมิตรใหญ่ๆในยุโรปไว้ อย่าง ออสเตรีย หรือ ฝรั่งเศส ท่านก็แทบหมดห่วงแล้วไปล่าอาณานิคมอย่างเต็มรูปแบบได้เลย
3.อาณาจักรมันลุค เป็นอีกหนึ่งรัฐอิสลามขนาดใหญ่ที่สามารถขยายได้หลากหลายทางมาก ทั้งบุกยึดสองฟากทะเลแดง บุกขึ้นอนาโตเลีย หรือแม้แต่เข้าครองแอฟริกาทั้งหมด และบุกเบิกดินแดนจนทั่วแอฟริกาก็สามารถทำได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องระวังออตโตมันไว้เพราะมีเทคโนโลยีเร็วกว่าคุณค่อนข้างมากในช่าว 100 ปีแรก
2.อินเตอร์เฟสเบื้องต้นในเกม
2.1 เงินเก็บของประเทศ (treasury) เป็นค่าที่สำคัญที่สุด สำคัญอย่างไรบ้าง ผมเชื่อว่าทุกๆท่านก็คงจะพอเดาได้อยู่แล้ว ในช่วงแรกๆของเกม ท่านจะประสบปัญหาเรื่องขาดแคลนเงินอยู่บ่อยครั้งเมื่อประกาศสงคราม และยังรวมไปถึงอีเวนท์แบบสุ่มที่ต้องเสียเงินเพื่อแลกกับการไม่ต้องเสียค่าสำคัญๆอื่นๆ สำหรับเกมนี้จะมีระบบกู้ยืมเงินจากธนาคารด้วยซึ่งจำเป็นมากในช่วงต้นเกมถึงประมาณปี 1530 แต่หากยืมมากไปก็อาจทำให้ล้มละลายได้ถ้าไม่จ่ายคืน (มากกว่า 25 ครั้ง -*- คงไม่มีใครถึงมั้ง) การจะหาเงินในเกมนี้หลักๆก็คือต้องขยายดินแดนไปเรื่อยๆ พยายามยึดเมืองศูนย์กลางทางการค้าในแต่ละที่ให้มากที่สุดแล้วส่งพ่อค้าไปประจำจุดที่มีรายได้สูงๆเพื่อเพิ่มรายได้หรือพูดง่ายๆก็คือต้องขยายอาณาจักรไปเรื่อยๆนั่นเอง
การเงินในเกมนั้นหลักๆเราจะได้มาจากภาษีและการค้าเป็นหลักซึ่งสองอย่างนี้ก็ได้มาจากการเป็นมหาอำนาจมีดินแดนมากๆนั่แหละ โดยหากเราจ้างที่ปรึกษาแพงๆ ส่งนักสำรวจไปสร้างอาณานิคม จ้างทหารมากเกิน force limit (จะกล่าวในหัวข้อ...) หรือส่งนักบวชไปทำภารกิจต่างๆ ก็จะลดรายได้ต่อเดือนลง
**สำคัญ เกมนี้หากท่านส่งทหารไปรบ ทหารกองกำลังสำรองของท่านจะต้องถูกนำไปเสริมแนวการรบแทนทหารที่ตายไปทุกๆเดือน ไม่ว่าจากการรบหรือการล้อมเมือง จะทำให้ท่านต้องเสียรายได้ต่อเดือนไปอย่างมากในการส่งทหารไปเสริมแนวรบ โดยเฉพาะหากรบในดินแดนไกลๆ ที่ทหารส่งไปเสริมยากหรือแม้แต่รบศึกที่เสียทหารไปจำนวนมาก ก็จะทำให้เศรฐกิจตกต่ำจนติดลบได้ยิ่งยืดเยื้อก็ยิ่งตกต่ำ เกมนี้จึงมีระบบขึ้นภาษีสงคราม 2 ปีซึ่งจะกล่าวในหัวข้อ...
2.2 กองกำลังสำรอง (Manpower)เกมนี้ถูกออกแบบมาให้มีกองกำลังที่ท่านสามารถเรียกใช้ได้ตามอาณาเขตที่ท่านถือครองอยู่ โดยการจ้างทหารเกณฑ์จะเสียค่านี้ทันที 1000 และจะเสริมเข้ามาต่อเดือนมากหรือน้อยก็ตามแต่ขนาดดินแดนของเรา โดยปกติค่านี้จะอยู่ตัวที่จุดสูงสุดเท่าที่รัฐของท่านจะมีได้ ในที่นี้คือ 50310 คน ซึ่งดังภาพจะเห็นได้ว่าเพิ่มขึ้นต่อเดือนๆละ 424 คน หากท่านถือครองเมืองมากขึ้น (เฉพาะเมืองที่เป็น core เท่านั้น ซึ่งจะอธิบายในหัวข้อ ...) ทหารที่จะเข้ามาประจำในกองทัพต่อเดือนก็จะมากขึ้น และความจุสูงสุดก็จะมากขึ้นเช่นกัน โดยค่านี้สามารถเพิ่มได้ด้วยไอเดียบางชนิด และ modifier บางประการที่ผมคงอธิบายไม่ไหว คงต้องใช้ประสบการณ์ช่วยนะครับ -*-
หากว่าเมื่อไรที่กองกำลังสำรองของท่านหมดลงในขณะทำสงคราม (ซึ่งจะหมดง่ายมากหากกด assault ซึ่งไม่แนะนำเป็นอย่างยิ่งที่จะ assault ในช่วงต้นเกมล้อมเอาไว้เฉยๆดีกว่าครับ อันนี้จะอธิบายในหัวข้อเกี่ยวกับการรบอีกครั้งนะครับ) ก็จะทำให้ทหารของท่านที่ไปตีเมืองอื่นลดลงเรื่อยๆแต่มักไม่เป็นปัญหาหากท่านตีทุกเมืองของศัตรูได้อยู่แล้ว แต่หากทหารของ่านยังไม่พอก็ให้จ้างทหารรับจ้างเอาครับ (อธิบายในหัวข้อ ...)
1.ออตโตมัน เป็นรัฐที่เริ่มต้นมามีขนาดใหญ่มาก มีทหารมากกว่ารัฐเพื่อนบ้านทั้งหมด และยังรวมถึงกษัตริย์ที่มีค่าความสามารถสูงในทุกๆด้าน ซึ่งก็คือคือสุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 ผู้ตีกรุงคอนแสตนตโนเปิลจนแตกได้ ทำให้ออตโตมันดูจะเป็นตัวเลือกที่ง่ายที่สุดสำหรับผู้เล่นใหม่ เมื่อเริ่มเกมมาสามารถที่จะเริ่มตีแคว้นเล็กในอนาโตเลียได้สบายๆ หลังจากที่ชนะศึก Albania แล้ว แล้วจึงค่อยอ้างสิทธิ์เหนือคอนแสตนติโนเปิล แยกทัพเป็น 2 ส่วนก็สามารถยึดครองอาณาจักรที่กว้างใหญ่ได้แล้วตั้งแต่ 10 ปีแรก การเล่นของออตโตมันเน้นพิชิตรัฐอิสลามอื่นๆ ในเอเชียกลางและแอฟริกาเหนือเข้สไว้ด้วยกัน
![]() |
เมืองที่สามารถประกาศศึกและยึดได้ทันทีมีสีเขียวลากทับ |
![]() |
อาณาจักรออตโตมันใน 13 ปีแรกหากบริหารเวลาดีๆบวกดวงนิดหน่อย ฮา |
![]() |
อาณาจักรออตโตมันตอนเริ่มเกม |
![]() |
อาณาจักรคาสตีลแรกเริ่ม |
3.อาณาจักรมันลุค เป็นอีกหนึ่งรัฐอิสลามขนาดใหญ่ที่สามารถขยายได้หลากหลายทางมาก ทั้งบุกยึดสองฟากทะเลแดง บุกขึ้นอนาโตเลีย หรือแม้แต่เข้าครองแอฟริกาทั้งหมด และบุกเบิกดินแดนจนทั่วแอฟริกาก็สามารถทำได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องระวังออตโตมันไว้เพราะมีเทคโนโลยีเร็วกว่าคุณค่อนข้างมากในช่าว 100 ปีแรก
![]() |
อาณาจักรมัมลุคเริ่มต้น |
2.อินเตอร์เฟสเบื้องต้นในเกม
2.1 เงินเก็บของประเทศ (treasury) เป็นค่าที่สำคัญที่สุด สำคัญอย่างไรบ้าง ผมเชื่อว่าทุกๆท่านก็คงจะพอเดาได้อยู่แล้ว ในช่วงแรกๆของเกม ท่านจะประสบปัญหาเรื่องขาดแคลนเงินอยู่บ่อยครั้งเมื่อประกาศสงคราม และยังรวมไปถึงอีเวนท์แบบสุ่มที่ต้องเสียเงินเพื่อแลกกับการไม่ต้องเสียค่าสำคัญๆอื่นๆ สำหรับเกมนี้จะมีระบบกู้ยืมเงินจากธนาคารด้วยซึ่งจำเป็นมากในช่วงต้นเกมถึงประมาณปี 1530 แต่หากยืมมากไปก็อาจทำให้ล้มละลายได้ถ้าไม่จ่ายคืน (มากกว่า 25 ครั้ง -*- คงไม่มีใครถึงมั้ง) การจะหาเงินในเกมนี้หลักๆก็คือต้องขยายดินแดนไปเรื่อยๆ พยายามยึดเมืองศูนย์กลางทางการค้าในแต่ละที่ให้มากที่สุดแล้วส่งพ่อค้าไปประจำจุดที่มีรายได้สูงๆเพื่อเพิ่มรายได้หรือพูดง่ายๆก็คือต้องขยายอาณาจักรไปเรื่อยๆนั่นเอง
การเงินในเกมนั้นหลักๆเราจะได้มาจากภาษีและการค้าเป็นหลักซึ่งสองอย่างนี้ก็ได้มาจากการเป็นมหาอำนาจมีดินแดนมากๆนั่แหละ โดยหากเราจ้างที่ปรึกษาแพงๆ ส่งนักสำรวจไปสร้างอาณานิคม จ้างทหารมากเกิน force limit (จะกล่าวในหัวข้อ...) หรือส่งนักบวชไปทำภารกิจต่างๆ ก็จะลดรายได้ต่อเดือนลง
**สำคัญ เกมนี้หากท่านส่งทหารไปรบ ทหารกองกำลังสำรองของท่านจะต้องถูกนำไปเสริมแนวการรบแทนทหารที่ตายไปทุกๆเดือน ไม่ว่าจากการรบหรือการล้อมเมือง จะทำให้ท่านต้องเสียรายได้ต่อเดือนไปอย่างมากในการส่งทหารไปเสริมแนวรบ โดยเฉพาะหากรบในดินแดนไกลๆ ที่ทหารส่งไปเสริมยากหรือแม้แต่รบศึกที่เสียทหารไปจำนวนมาก ก็จะทำให้เศรฐกิจตกต่ำจนติดลบได้ยิ่งยืดเยื้อก็ยิ่งตกต่ำ เกมนี้จึงมีระบบขึ้นภาษีสงคราม 2 ปีซึ่งจะกล่าวในหัวข้อ...
2.2 กองกำลังสำรอง (Manpower)เกมนี้ถูกออกแบบมาให้มีกองกำลังที่ท่านสามารถเรียกใช้ได้ตามอาณาเขตที่ท่านถือครองอยู่ โดยการจ้างทหารเกณฑ์จะเสียค่านี้ทันที 1000 และจะเสริมเข้ามาต่อเดือนมากหรือน้อยก็ตามแต่ขนาดดินแดนของเรา โดยปกติค่านี้จะอยู่ตัวที่จุดสูงสุดเท่าที่รัฐของท่านจะมีได้ ในที่นี้คือ 50310 คน ซึ่งดังภาพจะเห็นได้ว่าเพิ่มขึ้นต่อเดือนๆละ 424 คน หากท่านถือครองเมืองมากขึ้น (เฉพาะเมืองที่เป็น core เท่านั้น ซึ่งจะอธิบายในหัวข้อ ...) ทหารที่จะเข้ามาประจำในกองทัพต่อเดือนก็จะมากขึ้น และความจุสูงสุดก็จะมากขึ้นเช่นกัน โดยค่านี้สามารถเพิ่มได้ด้วยไอเดียบางชนิด และ modifier บางประการที่ผมคงอธิบายไม่ไหว คงต้องใช้ประสบการณ์ช่วยนะครับ -*-
หากว่าเมื่อไรที่กองกำลังสำรองของท่านหมดลงในขณะทำสงคราม (ซึ่งจะหมดง่ายมากหากกด assault ซึ่งไม่แนะนำเป็นอย่างยิ่งที่จะ assault ในช่วงต้นเกมล้อมเอาไว้เฉยๆดีกว่าครับ อันนี้จะอธิบายในหัวข้อเกี่ยวกับการรบอีกครั้งนะครับ) ก็จะทำให้ทหารของท่านที่ไปตีเมืองอื่นลดลงเรื่อยๆแต่มักไม่เป็นปัญหาหากท่านตีทุกเมืองของศัตรูได้อยู่แล้ว แต่หากทหารของ่านยังไม่พอก็ให้จ้างทหารรับจ้างเอาครับ (อธิบายในหัวข้อ ...)
2.3 ค่าความมั่นคง (Stability)เป็นค่าที่สำคัญไม่แพ้ค่าอื่นในเกม ค่าความมั่นคงจะกระทบกับเสถียรภาพในอาณาจักรท่านทุกอย่างตั้งแต่ ความเสี่ยงในการเกิดกบฎ อำนาจค้าขายกับรัฐต่างๆ ค่าความสามารถของนักบวชที่ถูกส่งไปเปลี่ยนศาสนาในดินแดนนอกรีตใต้ปกครอง อัตราการเก็บภาษี และความสามารถในการตรวจพบแผนร้ายของศัตรูโดยสายลับ โดยค่านี้จะต่ำสุดที่ -3 และสูงสุดที่ +3 โดยใช้ค่า monarch point ในหัวข้อ Administrative หรือ ADM ในการเพิ่มปกติควรจะเอาไว้ที่ +2 เป็นอย่างน้อย เพราะเวลาเปลี่ยนกษัตริย์จะติดลบทันทีที่ 1 หรือ 2 หน่วย ซึ่งตากปกติค่านี้ไม่ควรต่ำกว่า 0 และรวมถึงหากต่ำถึง -3 เมื่อไรก็จะไม่สามารถประกาศศึกกับใครได้เลย ดังนั้นการกระทำใดๆซึ่งอาจส่งผลให้ติดลบค่านี้ หากมีอย่างอื่นให้เสียก็ควรเลือกเสียอย่างอื่นดีกว่า
ปล.ค่านี้มีความสัมพันธ์โดยตรงกับการส่งนักบวชไปเปลี่ยนเมืองนอกรีตใต้ปกครอง ค่าห่างกันเพียงแค่ 1 หน่วยสามารถร่นเวลาในการเปลี่ยนศาสนาได้หลายเดือนเลยทีเดียวบางทีก็หลายปีด้วยซ้ำ
ในส่วนของค่า MP ในหัวข้อการบริหารหรือที่เรียกกันง่ายๆว่า ADM นั้นจะมีประโยชน์ที่ใช้หลักๆดังนี้
- ใช้ในการปลดลีอกเทคโนโลยีในหมวดหมู่ Administrative
- ใช้ในการปลดลีอกไอเดียในสาย Administrative ทั้ง 5 หมวด
- ใช้ในการเพิ่มค่าความมั่นคงในประเทศหรือ Stabiity
- **สำคัญมาก ใช้ในการเปลี่ยนเมืองศัตรูให่กลายเป็นเมืองของเราโดยชอบบธรรมหรือเปลี่ยนเป็นเมือง Core เมื่อเรายึดเมืองมาใหม่เราต้องทำเป็น core ในทันที ปกติจะใช้เวลา 5 ปี และเราควรจะนำทหารไปเฝ้าเมืองไว้อย่างน้อยเมืองละ 8 กอง เพราะในระหว่างที่เมืองยังไม่เป็น core นั้นจะเกิดกบฎง่ายมาก และการเอาทหารเฝ้าเมืองก็ดีกว่าการต้องเสียค่า MIL เพื่อรักษาความสงบซึ่งจะทำให้เทคโนโลยีการทหารเราล้าหลังหรือที่เรียก Harsh -Treatment
- ใช้ในการลดภาวะเงินเฟ้อ (Inflation)
- ใช้ในการเพิ่มภาษีอาณานิคม
- ใช้ในการออกกฎหมายบางอย่าง (National decision) เช่น ปฏิรูปรัฐบาล (Reform government) ในรัฐกลุ่ม Steppe Horde หรือ Sub-African
**หมายเหตุ เทคโนโลยีในกลุ่มนี้ไม่จำเป็นต้องตามคนอื่นเขาทันก็ได้ อย่างตัวผู้เขียนเองเคยเค่นโหมด Ironman จบ โดยที่เทคโนโลยีด้านนี้คนอื่นเขาอยู่ปี 1820 ผมยังย่ำอยู่ที่ปี 1700 หรือขั้นที่ 20 แต่คนอื่นเขาไป 32 หมดแล้ว อยู่เลยทั้งๆที่เป็นเทคโนโลยีกลุ่มตะวันตกเหมือนกัน ดังนั้นหากท่านต้องการปลดไอเดียเยอะๆ เพื่อปลด National Ideas การทิ้งดิ่งลงเหวเทคโนโลยีกลุ่มนี้ก็ไม่เลวเท่าไรนักเพราะไม่ส่งผลกระทบกับการสู้กับใครแม้แต่นิดเดียว
2.6.2 ค่า Diplomatic Power หรือ การฑูต
2.6.4 หัวข้อพิเศษ กลุ่มของเทคโนโลยีในโลก
เนื่องมาจากผมไม่รู้จะเอาไอหัวข้อนี้ไปไว้ตรงไหน (ต้องขอสารภาพว่าตอนนี้มันเยอะกว่าที่วางแผนทำแค่เริ่มต้นไปไกลมากแล้ว ฮา) จึงขอนำเอาเรื่องของเทคโนโลยีมาแทรกไว้ตรงนี้นะครับ
**หมายเหตุ ถึงแม้ท่านจะดวงดีมากพอที่เป็นกลุ่มเทคโนโลยีช้ากว่าเขา แต่มีเทคโนโลยีระดับเดียวเขาที่เป็นกลุ่มเทคโนโลยีที่ไวกว่า เช่นท่านเป็นตะวันออก เขาเป็นตะวันตก แต่ถึงกระนั้นทหารของท่านก็จะไม่สามารถสู้ทหารของกลุ่มนั้นได้ เพราะแต่ละกลุ่มเทคโนโลยีจะมีประเภททหารแตกต่างกัน และการที่ท่านจะปกป้องตนเองจากการล่าอาณานิคมให้ได้ ก็คือต้องเปลี่ยนเป็นเทคโนโลยีกลุ่มตะวันตกเหมือนพวกเขาเท่านั้น มิเช่นนั้นยังไงหากไม่ถึงกับเละ ก็ต้องใช้ทหารเกือบ 2:1 เพื่อชนะสงครามเพื่อบุกแต่ละครั้ง แค่เพียงการเล่นเป็นกลุ่มตะวันออกเพื่อสู้ตะวันตกในช่วงเทคโนโลยีช่วง 20 ขึ้นไปก็ต้องใช้ทหารขนาดนีแล้ว และไม่ต้องพูดถึงเทคโนโลยีกลุ่มอื่นที่มีทหารแย่กว่า ก็ต้องทำการ Westernize เพื่อให้สามารถใช้ทหารแบบตะวันตก ซึ่งรายละเอียดจะกล่าวเสริมภายหลัง
****สรุป ทหารในกลุ่มเทคโนโลยีช้ากว่าจะมีประสิทธิภาพด้อยกว่ากลุ่มที่เร็วกว่าเสมอหลังปี 1550 เป็นต้นไป โดยกลุ่มที่จะนำหน้าตะวันตกช่วงต้นได้แก่ ออตโตมัน และมุสลิมครับ
เทคโนโลยีกลุ่มต่างๆ เรียงตามลำดับง่ายไปยาก
จากเทคโนโลยีทั้งหมดในเกมจะแบ่งได้เป็น 8 กลุ่มใหญ่ๆ โดยในที่นี้จะเรียงลำดับจากระดับง่ายสุดไปถึงยากที่สุด โดยเทคโนโลยีที่เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นได้แก่กลุ่มที่ 1-4 สำหรับผู้ที่พอจะมีประสบการณ์มาบ้างแล้วคือกลุ่มที่ 5ถึง 7 ส่วนกลุ่มที่ 8 และ 9 นั้นคือกลุ่มที่เหมาะกับผู้เล่นที่มีประสบการณ์มากถึงมากที่สุด เข้าใจเกมได้จนเรียกได้ว่าแตกฉานเท่านั้นจึงจะเหมาะเล่นกลุ่มที่ 8 และ 9
1. Western - ค่าวิจัยพื้นฐาน 100 เปอร์เซ็นต์ คือเทคละ 600 ทุกกลุ่มหากไม่วิจัยได้ก่อนเวลา - ค่า MP ต่อเดือนมาตรฐาน +3 คือต่อให้กษัตริย์ท่านความสามารถ 0/0/0 ก็จะเพิ่มทุกหมวดๆละ 3 ตลอด // กลุ่มเทคโนโลยีตะวันตกพบได้ในยุโรปตะวันตก ยุโรปกลาง และทางตะวันตกของคาบสมุทรบอลติก เป็นกลุ่มเทคโนโลยีที่ในช่วงต้นเกมจนถึงช่วงเทคโนโลยี 11 จะยังไม่สามารถไปสู้กับใครได้เท่าไร แต่เมื่อย่างเข้าเทคโนโลยีขั้น 12 เป็นต้นไปจะมีการทหารล้ำหน้าทุกกลุ่มเทคโนโลยีโดยเฉพาะด้านทหารราบ
2. Eastern - ค่าวิจัยมาตรฐาน 120 เปอร์เซ็นต์ - ค่า MP ต่อเดือนมาตรฐาน +3 // พบได้ในยุโรปตะวันออกทั้งหมด คาบสมุทรบอลข่าน และทางใต้ของทะเลขาว จรดถึงเอเชียกลาง เป็นกลุ่มเทคโนโลยีที่จะไล่หลังกลุ่มตะวันตก รวมไปถึงจะโกงมาก ถ้าท่านเล่นจนตั้งรัสเซียได้แล้วบุกเอเชียได้โดยไม่ต้องข้ามน้ำข้ามทะเล แต่ถึงกระนั้นทหารในกลุ่มนี้ก็ยังเป็นรองกลุ่มตะวันตกอยู่เสมอ
3. Ottoman - ค่าวิจัยมาตรฐาน 125 เปอร์เซ็นต์ - ค่า MP ต่อเดือนมาตรฐาน +3 // กลุ่มเทคโนโลยีออตโตมันนับว่าเป็นกลุ่มที่ได้เปรียบที่สุดในช่วงต้นเกมจนถึงประมาณกลางคริสตศตวรรษที่ 16 มีทหารที่สามารถเอาชนะทุกกลุ่มเทคโนโลยีในช่วงนี้ และวิจัยเทคโนโลยีได้ไว เพราะสุลต่านในช่วงระยะแรกมักมีความสามารถมากตามประวัติศาสตร์เสมอ แต่พอถึงช่วงหลังเทคโนโลยีขั้น 12 จะเพียงได้เปรียบกลุ่มมุสลิมนิดหน่อย แต่ก็สามารถเอาชนะกลุ่มที่ต่ำลงไปได้สบายๆ จึงสามารถขยายเข้าเอเชียหรือแอฟริกาได้ทั้งสองทาง
4. Muslim - ค่าวิจัยมาตรฐาน 140 เปอร์เซ็นต์ - ค่า MP ต่อเดือนมาตรฐาน +3 // กลุ่มเทคโนโลยีมุสลิมเริ่มต้นมาด้วยทหารม้าที่สามารถรบในเขตที่่เปิดเช่น ทะเลทราย หรือทุ่งหญ้าสเตปป์โดยได้เปรียบอย่างมากในช่วงต้นถึงกลางเกม ทำให้สมมารถทำการรบป้องกันอาณาเขตของตนเองกับกลุ่มเทคโนโลยีอื่นได้สบายๆ และสามารถขยายอาณาเขตได้แบบเดียวกับเทคโนโลยีออตโตมัน แต่ก็ต้องคอยระวังพวกออตโตมันเอาไว้มิเช่นนั้นทหารราบทีเหนือกว่าของพวกออตโตมันสามารถเอาชนะเทคโนโลยีมุสลิมในช่วงที่เราอ่อนแอได้ ปกติกลุ่มเทคโนโลยีมุสลิมจะต้องทำการ westernization มิเช่นนั้นอาจต้องเสียดินแดนให้พวกตะวันตกไปจำนวนมากได้หลังช่วง 1650
5. Nomad - ค่าวิจัยมาตรฐาน 175 เปอร์เซ็นต์ - ค่า MP ต่อเดือนมาตรฐาน +3 // กลุ่มเทคโนโลยีล้าหลังแห่งพวกมองโกล ต้องใช้ทัพทหารม้าตีทุกๆเมืองที่ขวางหน้าอยู่ตลอด มิเช่นนั้นมันจะอยู่ไม่ได้ -*- มีทหารม้าที่เก่งที่สุดในเกมตอนช่วงก่อนปี 1500 ดังนั้นท่านจะต้องขยายอาณาเขตให้มากเท่าที่จะมากได้ แล้วพยายามทำ Reform government ให้เร็วที่สุด เพราะกลุ่มเทคโนโลยีนี้มีการชิงบัลลังค์กันตลอดเวลา (อันนี้เรื่องจริงเพราะข่านคนอื่นจะหาว่าเราอ่อนแอตลอด แค่ไม่ทำสงครามซักปีแค่นั้นก็โดน -*-) และท่านจึงต้องมีทหารขนาดใหญ่มากเพื่อปราบกบฎที่จะเกิดได้ทุกๆปี ซึ่งการปล่อยให้ตนเองมีการปกครองแบบนี้จะทำให้บริหารอาณาจักรขนาดใหญ่ได้ยากมาก ดังนั้นเมื่อการขยายอำนาจเข้าที่แล้วก็ให้ทำการปฏิรูปประเทศซึ่งเงื่อนไขต่างๆจะอยู่ใน National Decision ซึ่งจะอธิบายในหัวข้อ ...
6. India - ค่าวิจัยมาตรฐาน 150 เปอร์เซ็นต์ - ค่า MP ต่อเดือนมาตรฐาน +2 // พบได้ในรัฐทั้งหมดบนอนุทวีปอินเดีย เป็นเทคโนโลยีที่ไปได้ไวที่สุดสำหรับกลุ่มเทคโนโลยีที่ค่า MP มาตรฐานเพิ่มแค่ 2 หรือต่ำกว่า 2 จะสามารถอัพเทคโนโลยีได้ไวกว่ากลุ่มจีนนิดหน่อย และมีทหารดีกว่ากลุ่มจีนที่อยู่ติดกันนิดหน่อยเช่นเดียวกัน การจะอยู่รอดด้วยเทคโนโลยีกลุ่มนี้มีเป้าหมายก็คือรวมอนุทวีปอินเดียให้ได้มากที่สุดเพื่อป้องกันจากการบุกรุกจากกลุ่มเทคโนโลยีอิสลามตั้งแต่ช่วงต้นเกม และช่วงหลัง 1650 เป็นต้นไปที่ยุโรปจะเริ่มเข้ามา และอนุทวีปอินเดียจะเป็นเป้าหมายหลักของยุโรปทันที
**เทคนิคของการเล่นกลุ่มอินเดีย คือการยอมประกาศศึกใส่รัฐเล็กๆแถวโซมาเลียหรือแถบแอฟริกาตะวันออกรัฐใดก็ได้โดยไม่ต้องมีเหตุแห่งสงคราม (Casus belli หรือที่เรียกย่อๆว่า CB) แล้วขยายลงไปทางใต้ จนได้พบกับอาณานิคมของโปรตุเกสหรือสเปนแถบแหลมกู๊ดโฮป จะทำให้ท่านสามารถเปลี่ยนเทคโนโลยีตามตะวันตกได้ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 16 เลย ไม่ต้องแข่งกับเวลาเหมือนกลุ่มอื่นๆ
7. Chinese - ค่าวิจัยมาตรฐาน 160 เปอร์เซ็นต์ - ค่า MP มาตรฐานต่อเดือน +2 // กลุ่มเทคโนโลยีจีนในช่วงแรกก็ไม่มีอะไรมากใช้พวกมากของตนเองเข้าถล่มรัฐที่มีพวกน้อยในกลุ่มเทคโนโลยีเดียวกัน จนกระทั่งถึงกลางคริสตศตวรรษที่ 17 เมื่อพวกเทคโนโลยีตะวันตกเข้ามา และแบ่งสันปันส่วนอินเดียกับหัวเมืองทางเกาะอินโดนีเซีย และฟิลลิปปินส์กันเรียบร้อยแล้ว คราวนี้มันก็จะเบนเป้ามาหาเรา แล้วถล่มเราแบบไม่ได้ผุดได้เกิดกันทันที
**เทคนิคการเล่นกลุ่มจีน เมื่อเริ่มต้นมาหากท่านเล่นเป็นญี่ปุ่นหรือหมิงที่อยู่ทางด้านเหนือให้ท่านพยายามปลดล๊อกไอเดียสาย Diplomatic 2 อันคือ Exploration (อันนี้สำคัญต้องปลดกลุ่มนี้อย่างน้อย 2 อันแรกเพื่อให้จ้างนักสำรวจไปบุกเบิกสถานที่ก่อนส่งนักสร้างอาณานิคมลงไปได้) และ Expansion ซึ่งอันที่จริงแค่อันแรกก็น่าจะอยู่ๆแล้ว พยายามสร้างอาณานิคมในไซบีเรียให้ได้มากที่สุด ถ้าเป็นไปได้ก็ให้ตีพวกมองโกล เช่น แมนจู จากาไต ให้หมด แล้วส่งเรือไปค้นหาอเมริกาผ่านทางการเดินเรือจากช่องแคบแบริง แล้วจึงสร้างอาณานิคมในเขตตอนเหนือของเม็กซิโกไว้ 2-3 เมืองเท่านั้น(เพื่อไม่ให้กลายเกิดเมืองอาณานิคมที่มีรัฐบาลแยกปกครอง) แล้วรอจนสเปนเข้ามาแล้ว Westernize เป็นอันสำเร็จ หากเล่นเป็นแถบอาเซียนก็ให้พยายามยึดอาเซียนให้หมด ส่งนักเดินทางไปยึดอินโดนีเซียไปเรื่อยๆ จนเข้าสู่ออสเตรเลีย จากนั้นยึดเกาะต่างๆในโอเชียเนีย แล้วค่อยเข้าไปในอเมริกาใต้ จนพบสเปนหรือโปรตุเกสแล้ว Westernize ที่ต้องจำคือช่วงหลัง 1700 อย่าปล่อยให้เป็นเทคโนโลยียังเป็นจีนเด็ดขาด!!
8. Sub-Saharan - ค่าวิจัยมาตรฐาน 200 เปอร์เซ็นต์ - ค่า MP มาตรฐานต่อเดือน +1 // กลุ่มเทคโนโลยีที่พบได้ในทวีปแอฟริกาเกือบทั้งหมดยกเว้นทางด้านตอนเหนือ สำหรับกลุ่มนี้ผมคงไม่สามารถแนะนำอะไรมากนัก เพราะผมเองยังไม่เคยเล่นกลุ่มนี้มาก่อน แต่ก็พอรู้ว่าคนที่จะเล่นกลุ่มเทคโนโลยีนี้ได้หรือกลุ่มต่อไปจะต้องเป็นผู้เล่นที่ผ่านประสบการณ์มาโชกโชนมาก เพราะว่าเทคโนโลยีล้าหลังสุดๆ เทคนิคการเล่นก็ต้องพลิกแพลงกันตามสถานการณ์แทบทั้งสิ้น
9. New world (Mesoamerican-North American-South American ) - ค่าวิจัยมาตรฐาน 250 เปอร์เซ็นต์ - ค่า MP มาตรฐานต่อเดือน +1 // กลุ่มเทคโนโลยีนี้จะมีลักษณะคล้ายๆกันทั้ง 3 กลุ่ม พบได้ในทวีปอเมริกาทั้งหมด และแน่นอน กลุ่มนี้ถ้าคุณไม่เทพจริงอย่าแตะครับไม่งั้นท่านจะต้องเจอความอัปยศอย่างสูงเมื่อต้องเจอกับพวกยุโรปแน่นอน
2.6.4.1 หัวข้อพิเศษ การ Westernize เพื่อปฏิรูปเทคโนโลยีและทหารเป็นตะวันตก
จากหัวข้อด้านบนจะเห็นได้ว่ากลุ่มเทคโนโลยีตั้งแต่มุสลิมลงไปนั้นแทบจะเรียกได้ว่าต้องเปลี่ยนกลุ่มเทคโนโลยีให้เป็นไปตามแบบของตะวันตกเมื่อเริ่มผ่าน 1550 ไปแล้วโดยเฉพาะช่วงหลัง 1650 ที่ไอตัว Lucky nation มันจะเริ่มทำงาน จะต้องเพื่อใช้ต่อกรกับทหารที่ดีกว่าที่จะมาล่าอาณานิคมได้ ดังนั้นในหัวข้อนี้จะอธิบายถึงขั้นตอนการ Westernize ควบไปเลยนะครับ
เงื่อนไขจำเป็น
- ต้องมีเมืองที่เป็น core ของเรา ติดอยู่กับเมืองที่เป็น core ของกลุ่มเทคโนโลยีตะวันตก หรือแชร์เขตทางทะเลกันก็ได้เช่นเดียวกัน
- ทุกๆเมืองของเราที่ติดกับเทคโนโลยีตะวันตกจะต้องเป็น core ทั้งหมด
- กลุ่มเทคโนโลยีตะวันตอกที่เราอยู่ติดด้วยและมีเทคโนโลยีไวที่สุดจะต้องมีระดับเทคโนโลยีห่างจากเราอย่างน้อย 8 ระดับ โดยนับรวมเทคโนโลยีทั้ง 3 ด้าน เช่น เรามีระดับเทคโนโลยี 8/10/15 รัฐตะวันตกมีเทคโนโลยี 15/11/15 เราก็สามารถ Westernize ได้เพราะผลรวมลบกันแล้วเท่ากับ 8 หรือมากกว่า
- ค่า Overextension หรือเมืองที่เรายึดมาโดยยังไม่เป็นของเราโดยสมบูรณ์ พูดง่ายๆก็คือยังไม่ได้ทำ core หรือยังทำไม่เสร็จนั่นเอง โดยเราต้องมีค่านี้เป็น 0 เสมอก่อน westernize ได้
- กลุ่มเทคโนโลยี Nomad หรือพวก Steppe horde และกลุ่ม North American จะต้องทำการปฎิรูปรัฐบาลก่อนนะครับ ซึ่งรายละเอียดจะกล่าวถึงภายหลังอีกครั้งหนึ่ง
ข้อแนะนำก่อนเริ่ม Westernize
- ควรจะตุนค่า Monarch point เอาไว้ให้เท่ากับค่าที่ต้องเสียเลยถ้าเป็นไปได้ คือการ Westernize จะกินค่า Monarch point รวมทั้ง 3 หมวดเท่ากับ 2800 หรือประมาณ 900 ต่อประเภท โดยค่า ADM ควรจะตุนไว้อย่างน้อยที่สุด 1200 เพราะเป็นตัวบวกความมั่นคงภายในเพราะแค่เริ่มก็ติดลบทันที 3 หน่วยแล้ว ส่วนค่าการฑูตและการทหารตุนไว้ประมาณอย่างละพันเผื่อเหตุฉุกเฉินเช่นมีอีเวนท์ให้เสียค่าพวกนี้ขึ้นมา
- ทุกๆอาณาเขต 20-25 เมืองที่ท่านมี จะต้องมีทหารคุมแต่ละจุดนั้นๆไว้อย่างน้อย 15 กอง เพื่อป้องกันการเกิดกบฎจากอีเวนท์แย่ๆ และต้องมีทหารน้อยกว่า force limit อย่างต่ำ 10 กอง เผื่อเกิดกบฎขนาดใหญ่ จะได้จ้างทหารรับจ้างได้ทันท่วงที หากมีดินแดนที่อยู่แยกออกไป(Overseas province) เช่นอยู่อีกทวีปหรือไม่เชื่อมกับดินแดนที่อยู่ออกมาจากเมืองหลวง ก็ต้องมีทหารเฝ้าตลอดเช่นกันเพราะจ้างทหารรับจ้างไม่ได้ ก็ยิ่งต้องมีทหารเฝ้ามาก
**หมายเหตุสำคัญ Force limit คือจำนวนกองทหารที่รัฐบาลเราในขณะนั้นๆสามารถควบคุมดูแลอย่างทั่วถึง โดยไม่ปล่อยให้งบประมาณรั่วไหลไปได้ หากเกินมาหลายๆกองอาจทำให้การเงินติดลบได้
- เงินควรตุนไว้อย่างต่ำที่สุดคือ 400 เผื่อจ้างหทารรับจ้างมาปราบกบฎขนาดใหญ่
- ถ้าเป็นไปได้ ควรทำในขณะที่กษัริย์มีความสามารถ 4/4/4 ขึ้นไป เพราะจะลดค่า Monarch point น้อยลง เช่น ค่าทุกค่าปกติกิน 10 ต่อเดือน หากเราเป็นมุสลิมที่มีกษัตริย์ 6/6/6 บวกค่ามาตรฐาน +3 และที่ปรึกษา +2 ทุกหมวดก็จะเป็นเพิ่มเดือนละ 1 แทนที่จะติดลบ
- ควรจ้างที่ปรึกษาที่ดีที่สุดเอาไว้ตามกำลังทรัพย์เสมอ โดยเฉพาะ Theologian ที่ลดโอกาสเกิดกบฎ 3 หน่วยควรจะจ้างไว้อย่างมาก
ผลกระทบทันทีเมื่อกด Westernize
**การ Westernize จะกินเวลาโดยปกติประมาณ 9-10 ปี โดยทุกๆปีจะมีอีเวนท์ไม่ดีๆที่เกิดจากบุคคลกลุ่มต่างๆในรัฐของเราต่อต้านการปฏิรูปประเทศ หากเรายอมรับขอเสนอของพวกนี้ก็จะยืดเวลาการ Westernize ไปทันที 4 เดือน เพราะจะสูญเสียขั้นตอนการดำเนินงานย้อนไป 4 เดือน แต่หากไม่ยอมก็จะลดค่าต่างๆตามแต่ว่าพวกไหนที่ต่อต้านเรา โดยปกติจะผมจะยอมเฉพาะกรณีขุนนาง (Noble) ต่อต้านเท่านั้น เพราะถ้าไม่ยอมจะลด Stability โดยตอนที่เราพร้อมกด Westernize ไปแล้วจะส่งผลกระทบดังนี้ตลอดระยะเวลา 9-10 ปีน้นทันที
- เพิ่มโอกาสการเกิดกบฎทันทีทั้งประเทศ 5 หน่วย
- ลดค่าความมั่นคงภายในหรือ Stability 3 หน่วย ซึ่งควรจะเอากลับมาเป็น 3 ทันที
- สามารถวิจัยเทคโนโลยีแบบเดียวกับตะวันตกได้ทันที และแน่นอนช่องความจุของ Monarch point จะลดลงเหลือแค่ 999 เท่านั้น ผมจึงให้ตุนแต่ละหมวดไว้ 1000 ยกเว้น ADM ที่พอกด Westernize ปุ๊ป ให้รีบเอาไปเพิ่ม Stability ทันที ก่อนที่มันจะลดลงเหลือ 999 (ให้ Pause เกมไว้ก่อนแล้วรีบเพิ่มค่าทันที)
2.7 แถบข้อมูลรวมหรือ Outliner
แถบข้อมูลรวมจะแสดงข้อมูลของอาณาจักรเราในแทบทุกๆเรื่องว่าเกิดอะไรขึ้นในประเทศของเราบ้าง จะบอกรายละเอียดในหลายเรื่องตลอดเวลา เช่น
- บอกว่าฑูตของเราไปประจำอยู่ที่เมืองอะไร รัฐอะไร และหากเราเรียกกลับจะกลับมาถึงภายในกี่วัน
- บอกว่าพ่อค้าของเราไปประจำในเขตการค้าไหนบ้าง และหากเราเรียกกลับจะกลับมาพร้อมส่งไปที่อื่นในกี่วัน
- บอกได้ว่านักสร้างอาณานิคมหรือ Colonist ของเราจะเดินทางไปถึงเมืองที่เราต้องการในกี่วัน และการสร้างดำเนินไปถึงขั้นไหนแล้ว (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่องสร้างอาณานิคมในข้อ ...)
- บอกว่าได้นักบวชที่เราส่งไปเปลี่ยนศาสนาในเมืองต่างๆดำเนินงานไปได้แล้วถึงไหน
- บอกว่าเรามีทหารอยู่กี่กอง ดูได้ว่าประจำอยู่เมืองอะไรบ้างโดยการคลิกที่ชื่อแต่ละกอง และประสบการสูญเสียต่อเนื่องจาก Attrition หรือไม่ (จากสัญลักษณ์หัวกระโหลดด้านหลังชื่อกองทหาร)
- บอกว่าเรามีเรืออยู่กี่กอง ดูได้ว่าประจำอยู่น่านน้ำอะไรบ้างโดยการคลิกที่ชื่อแต่ละกอง และประสบการสูญเสียต่อเนื่องจาก Attrition หรือไม่ (จากสัญลักษณ์หัวกระโหลดด้านหลังชื่อกองเรือ)
- ในยามสงคราม จะบอกว่าทหารของเรากำลังตีเมืองใดอยู่ และมีทหารพอจะเข้าตีหรือไม่ รวมถึงมีโอกาศชนะเท่าไรแล้ว ซึ่งรวมถึงหากทหารศัตรูมาตีเมืองเราด้วย
- อื่นๆอีกมากมาย เพราะผมนึกไม่ออกแล้ว ฮา
2.8 แถบกิจกรรมระหว่างรัฐ
แถบกิจกรรมระหว่างรัฐจะคอยนำเสนอความเป็นไปของรัฐต่างๆ โดยจะแสดงผลตามที่เรากำหนด เราสามารถจะเห็น 4 ช่องเล็กๆทางด้านล่างของแถบกิจกรรม ในส่วนนั้นจะเป็นตัวเลือกที่ใช้ปรับว่าข่าวจากรัฐไหนบ้างจะเข้ามาปรากฎในนี้ หรือเลือกเจาะจงประเทศใดประเทศหนึ่งเป็นพิเศษชนิดเกาะติดทุกสถานการณ์ โดยปกติผู้เล่นจะต้องคอยจับตาดูช่องนี้เสมอแบบไม่ให้คลาดสายตา เพราะมันเปรียบเสมือนหูตาของเรา บางครั้งการคลาดสายตาจากแถบนี้ไปนิดเดียว ท่านก็อาจพลาดโอกาสสำคัญในการขยายอาณาเขตไปได้อย่างน่าเสียดาย
หากเราคลิกเข้าไปในข่าวที่ปรากฎในแถบกิจกรรมระหว่างรัฐ จะปรากฎหน้าจอสี่เหลี่ยมพร้อมข้อความแบบทางการ พร้อมปรากฎปุ่ม 2 ปุ่ม คือ OK และ Go to โดยการกด OK ก็คือประมาณว่ารู้แล้ว ขอตัวไปบริหารประเทศต่อ แต่หากกด Go to ก็จะเป็นการไปดูรัฐนั้นๆ มักใช้ในกรณีที่เราไม่รู้จักรัฐนั้น แต่หากรู้จักกันดี ก็แค่โอเคไป
2.9 แถบกำหนดความเร่งเวลา
หน้าต่างแถบนี้จะแสดงถึงวันเวลาที่เราเล่นอยู่ในปัจจุบัน คะแนนรวมจากการเล่นทั้งหมด อันดับที่รวมของเราทั้ง 3 ด้านรวมกันคือด้านการบริหาร การฑูต การทหาร ซึ่งในที่นี้คือเลข 0 และแถบนี้ยังเป็นตัวกำหนดความเร็วของเกม โดยที่ปุ่มสีแดงขนาดใหญ่ที่ด้านมุมบนขวา จะเป็นการ Pause หรือ Unpause เกม เครื่องหมาย + และ - เป็นการเร่งหรือผ่อนความเร็วในเกมลง ซึ่งปกติจะใช้กันดังนี้
- ความเร็ว +5 เซ็งจัด ใช้ในขณะที่เราแน่ใจว่าไม่มีใครบุกเราแน่ๆ อาจเพราะรัฐเราแข็งแกร่งมากอยู่แล้ว หรือมีสัญญาสงบศึกอยู่กับทุกๆแคว้นใกล้บ้าน หรืออีกแบบก็คือว่างจัดกำลังรออะไรซักอย่างอยู่เช่น Westernize อันที่จริงแล้วความเร็วระดับนี้ไม่แนะนำให้ใช้เท่าไร เพราะหากเกิดเหตุสุดวิสัยเช่น โดนประกาศศึกใส่แบบกะทันหัน ก็จะทำให้เสียเวลาในการควบคุมทัพไปมาก และกลายเป็นฝ่ายเสียเปรียบไปในทันที
- ความเร็ว +4 สงบสุข เป็นความเร็วมาตรฐานในการเล่นเกมนี้ที่เหมาะสมที่สุด ไม่เร็วและไม่ช้าเกินไป ในยามสงบสุขแนะนำให้ใช้ความเร็วระดับนี้เอาไว้ก่อน
- ความเร็ว +3 บุก! จะใช้ในเวลาที่เราทำสงครามกับรัฐที่เรากำลังค่อนข้างมีเปรียบด้านการทหาร หรือเสียเปรียบนิดหน่อยแต่เป็นฝ่ายป้องกัน จะทำให้มีความละเอียดรอบคอบในการวางแผนเดินทัพ ตาม AI ได้ค่อนข้างดี แต่หากเป็นเวลาสงบสุขอาจจะช้าและเสียเวลามากจนเกินไปหากเล่นความเร็วนี้
- ความเร็ว +2 เครียด เมื่อทัพ 2 ฝ่ายที่มีกำลังทหารประสิทธิภาพใกล้ๆกันต้องต่อสู้กัน ชิงไหวชิงพริบในการเคลื่อนพลแบบวันต่อวัน (เกมนี้ความละเอียดระดับวันต่อวันแทบหมายถึงหากพลาดแล้วหายนะมาเยือน) หรือต้องต่อสู้กับรัฐที่มีกำลังพลเหนือกว่าและต้องพยายามรีบทำคะแนนสงครามหรือ Warscore เพื่อสงบศึกโดยเร็ว
- ความเร็ว +1 ชิล(จนเกินเหตุ) ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะต้องใช้ความเร็วนี้ นอกจากท่านสบายใจจนถึงขนาดมองดูทัพของท่านกับศัตรูสู้กันเท่านั้น
3. แผงควบคุมหลัก
หน้าต่างภายในแผงควบคุมหลักนั้นจะเป็นที่ๆสามารถดูรายละเอียดทั้งหมดภายในรัฐของเรา โดยจะแยกย่อยออกเป้น 11 หน้าต่างคือ รัฐบาล การฑูต เศรฐกิจ การค้า เทคโนโลยี ไอเดีย ภารกิจและการตัดสินใจ ความมั่นคงและการขยายอำนาจ ศาสนา การทหาร และรัฐใต้ปกครอง โดยจะแยกอธิบายเป็นส่วนๆดังนี้
3.1 แผงรัฐบาล
แผงควบคุมหลักในหัวข้อของรัฐบาลนั้นจะบ่งบอกถึงองค์ประกอบและข้อมูลสำคัญๆในเกมดังนี้
3.1.1 ระบอบการปกครอง จะแสดงรูปแบบการปกครองบ้านเมืองของเราว่าเป็นแบบไหนในปัจจุบัน และสามารถที่จะเปลี่ยนเป็นแบบไหนได้บ้าง ซึ่งการจะปลดล๊อกระบอบการปกครองแบบใหม่ๆจะต้องมีเทคโนโลยีการบริหารถึงขั้นที่กำหนดเท่านั้น โดยเราสามารถกดเปลี่ยนโดยการคลิกที่รูปมงกุฎในวงกลมที่ล้อมรอบด้วยสีแดงในภาพ แล้วเลือกรูปแบบที่เราต้องการ โดยจะลดค่าความชอบธรรมในการสืบราชบัลลังค์ลงประมาณ 50 ในระบอบประมุข หรือลดค่าความนิยมในระบอบมหาชนรัฐลงประมาณ 50 ในระบอบมหาชนรัฐเช่นเดียวกัน
3.1.2 กษัตริย์และรัชทายาท สำหรับในส่วนนี้จะแสดงชื่อของกษัตริย์ ค่า Monarch point ของกษัตริย์องค์ปัจจุบัน รวมถึงหากเรามีทายาทโดยชอบธรรมก็จะแสดงค่า Monarch point ของรัชทายาทด้วยเช่นกัน
ซึ่งในที่นี้จะขออธิบายเกี่ยวกับค่า Claim กันตรงนี้เลย ซึ่งค่านี้จะอยู่ต่อจากอายุของรัชทายาทของเรา โดยเจ้าค่า Claim ตัวนี้นั้น จะเป็นตัวที่จะส่งผลโดยตรงเมื่อกษัตริย์เราขึ้นครองราชย์ (ก็คือไอรัชทายาทในรัชกาลก่อนคนนั้นน่ะแหละ งงไหม?) โดยจะส่งผลกระทบโดยตรงกับค่าความชอบธรรมในการครองบัลลังค์ หรือ Legitimacy เป็นค่าที่จะรีเซ็ตใหม่ทุกครั้งเมื่อเปลี่ยนบัลลังค์ ซึ่งแต่ละระดับจะส่งผลดังนี้
1. ค่า Claim เป็น Strong เมื่อขึ้นเป็นกษัตริย์จะมีค่าความชอบธรรมเป็น 100 ซึ่งผลคือ - ลดความเสี่ยงในการเกิดกบฎ 3 หน่วย - เพิ่มค่าความยอมรับในศาสนานอกรีตหรือศาสนาอื่นๆ 1 หน่วย - ชื่อเสียงในด้านการฑูตเพิ่มขึ้น 2.5 หน่วย (ค่าชื่อเสียงในด้านการฑูตจะอธิบายในหัวข้อ 3.2 นะครับ)
2. ค่า Claim เป็น Average เมื่อขึ้นเป็นกษัตริย์จะมีค่าความชอบธรรมเป็น 51 ซึ่งผลคือ - ลดความเสี่ยงในการเกิดกบฎ 0.06 หน่วย - เพิ่มค่าความยอมรับในศาสนานอกรีตหรือศาสนาอื่นๆ 0.02 หน่วย - ชื่อเสียงในด้านการฑูตเพิ่มขึ้น 0.06 หน่วย // คือทำให้โบนัสจากการที่เรามีค่าความชอบธรรมมากกว่าครึ่งหายไปทั้งหมด และใช้เวลาในการฟื้นค่านี้นานมาก เพราะปกติเกมนี้จะเพิ่มแค่ประมาณปีละ 1 เท่านั้น
3. ค่า Claim เป็น Low เมื่อขึ้นเป็นกษัตริย์จะมีค่าความชอบธรรมเป็น 1 ซึ่งผลคือ - เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดกบฎ 3 หน่วย - ลดค่าความยอมรับในศาสนานอกรีตหรือศาสนาอื่นๆ 0 หน่วย - ชื่อเสียงในด้านการฑูตลดเป็น 0 หน่วย // ถ้าค่านี้ลดลงไปขนาดนี้แล้วท่านโชคดีได้รัชทายาทที่ทั้งเก่งกว่าและ Claim เป็น Strong ก็แนะนำให้เอากษัตริย์นี่ไปรบให้ตายๆไปเลยครับ กรณี Claim เป้น low แล้ว Legitimacy ต่ำกว่า 10 บางครั้งหากกษัตริย์คนนี้ตายไปตั้งแต่ค่า Legitimacy ยังไม่ฟื้น อาจโดนควบรวมดินแดนทันทีเลยก็ได้ ดังนั้นก็อย่างว่า เอามันตายๆไปก็ดี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นท่านก็ต้องลองดุในหน้าต่างการฑูตของตัวเอง แล้วเอาเมาส์ไปวางเหนือชื่อกษัตริย์ดูว่าหากคนี้ตายไปจะเกิดอะไรขึ้นเสียก่อนด้วย (หน้าต่างในข้อ 3.2.1 ที่เป็นชื่อ king Felipe IV Rurikovich )
นอกจากนี้หากท่านมีรัชทายาทที่มีค่า Claim เป็น Low ก็ยังเสี่ยงกับการที่รัฐที่ท่านมีการแต่งงานข้ามราชวงศ์ด้วย จะทำการ Claim throne ซึ่งเมื่อไรก็ตามที่เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น รัฐนั้นๆจะสามารถประกาศศึกกับเราเพื่อแย่งชิงตำแหน่งกษัตริย์ไปได้ (อธิบายรวมในหัวข้อ 3.2 เรื่องการฑูต)
**ในกรณีที่ท่านไม่มีรัชทายาทอ่านเพิ่มเติมในหัวข้อ 3.2.2.4 ข้อย่อย Royal Marriage
3.1.3 วัฒนธรรม **ข้อนี้สำหรับผู้เล่นใหม่ข้ามได้เลยครับ
ในส่วนแถบนี้จะแสดงถึงกลุ่มของวัฒนธรรมที่เป็นที่ยอมรับภายในอาณาจักรของเรา โดยจะอธิบายแยกย่อยได้ โดยเมื่อเราเอาเมาส์ไปวางเหนือตัวอักษรในช่องของหัวข้อวัฒนธรรม จะเห็นเป็นรายละเอียดเพิ่มเติมดังภาพใหญ่ด้านบน ซึ่งในที่นี้ข้อย่อยแรกนั้นเขียนว่า "Their primary culture is Turkish, Turkish is in the Turko-Semitic group" แปลว่ากลุ่มวัฒนธรรมของเรายอมรับวัฒนธรรมในสายตุรกีหรือ Turkish เป็นหลัก แต่เราก็เป็นส่วนหนึ่งในกลุ่มใหญ่ซึ่งก็คือ Turko-Semitic ทำให้เราสามารถยอมรับวัฒนธรรมย่อยๆเหล่านั้นได้บ้างเช่นกัน
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มวัฒนธรรมพิเศษที่เกิดจากเราถือครองเมืองในเขตนี้ไว้มาก และเมื่อเทียบกับรายได้จากภาษีมาตรฐานของเรา เมืองที่มีวัฒนธรรมเหล่านั้นคิดเป็นอัตราส่วนถึง 20 เปอร์เซ็นต์ ทำให้เรายอมรับวัฒนธรรมเหล่านั้นในสถานะเดียวกับกลุ่มวัฒนธรรมหลักอย่างตุรกีได้สบายๆ แต่ทว่า...การยอมรับนี้เกิดขึ้นแค่เพีงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อไรก็ตามที่รัฐเราขยายดินแดนมากขึ้น และอัตราภาษีของเมืองที่มีวัฒนธรรมเหล่านั้นลดลงจนต่ำกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ เราก็จะสูญเสียการยอมรับในวัฒนธรรมนั้นไป กลายเป็นกลุ่มวัฒนธรรมที่ไม่ยอมรับไปเลย
ในกรณีนี้วัฒนธรรมที่ถูกยอมรับแบบชั่วคราวคือ Greek และ Bulgaria ซึ่งเกิดจากเหตุผลดังต่อไปนี้ (อ้างอิงจากรัฐออตโตมันปี 1444 แพท 1.5.0 ไม่ใช้ม๊อด)
1. กลุ่มวัฒนธรรม Bulgaria มีค่าภาษีมาตรฐาน 17 กลุ่มวัฒนธรรม Greek มีค่าภาษีมาตรฐาน 27
2. กลุ่มวัฒนธรรมหลักของออตโตมันซึ่งคือ Turkish มีค่าภาษีมาตรฐาน 51
3. เมื่อเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์แล้วกลุ่ม Bulgaria ต่อ Turkish จะเป็น 33 เปอร์เซ็นต์ ส่วนกลุ่ม Greek ต่อ Turkish จะเป็น 53 เปอร์เซ็นต์
4. ดังนั้นกลุ่มวัฒนธรรม Bulgaria จะเลิกเป็นที่ยอมรับเมื่อออตโตมันมีค่าภาษีมาตรฐานรวมเป็น 171 ส่วน Greek จะเลิกเป็นที่ยอมรับเมื่อออตโตมันมีค่าภาษีมาตรฐานรวมเป็น 271 หรือคิดง่ายๆก็คือเมื่อค่าภาษีมาตรฐานรวมของรัฐนั้นๆมากกว่า 10 เท่าของค่าภาษีมาตรฐานรวมของที่ได้จากเมืองในวัฒนธรรมนั้นๆนั่นเอง
* ข้อควรจำ ปกติข้อมูลในส่วนนี้ไม่จำเป็นเลย แต่รู้ไว้ก็ไม่เสียหายอะไรนัก ส่วนเรื่องที่จำเป็นเกี่ยวกับหัวข้อวัฒนธรรมนี้จะพูดเมื่อถึงหัวข้อเกี่ยวกับการรบขยายดินแดนนะครับ
** เสริม วิธีดูค่าภาษีมาตรฐาน หรือ Base tax ของแต่ละเมืองดูภาพด้านล่างประกอบ
** เสริม วิธีเปลี่ยนกลุ่มวัฒนธรรมในเมืองต่างๆ มาเป็นกลุ่มหลักของเรา ใช้ได้ต่อเมื่อเมืองนั้นมีศาสนาเป็นศาสนาหลักของรัฐเราเท่านั้น
จากที่กล่าวมาข้างต้น คงจะต้องอธิบายเพิ่มเติมสำหรับผลกระทบจากการมีเมืองที่มีวัฒนธรรมต่างกันทั้ง 3 แบบด้วย อันมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ครับ
- กลุ่มวัฒนธรรมหลักจะถาวรหรือชั่วคราวก็แล้วแต่ ในที่นี้ได้แก่ Turkish , Greek และ Bulgaria จะไม่ส่งผลเสียเลยภายในรัฐของเรา การถือครองเมืองที่มีวัฒนธรรมหลักจะให้ทรัพยากรจากเมืองนั้นๆเต็มที่ เช่น เมืองนี้มีทหารกองกำลังสำรองมาตรฐาน 50 คน ก็จะได้ทั้ง 50 มีค่าภาษีมาตรฐาน 8 ก็จะได้ 8 และยังรวมถึงเมืองพวกนี้จะก่อกบฎยากมากอีกด้วย
- กลุ่มวัฒนธรรมที่เราพอจะรับได้ ในที่นี้ก็คือวัฒนธรรมในกลุ่ม Turko-Semitic ทั้งหมดนอกจาก Turkish ได้แก่ Maghrebi , Egyptian , Syrian , Mashriqi , Bedouin และ berber จะส่งผลหากเรามีเมืองที่มีวัฒนธรรมเหล่านี้ 2 ประการ คือ - ภาษีที่เก็บได้จากเมืองนั้นลดลง 15 เปอร์เซ็นต์ - กองกำลังสำรองที่จะเกณฑ์ได้จากเมืองนั้นลดลง 15 เปอร์เซ็นต์ โอกาศเกิดกบฎยากเท่าๆกันกับกลุ่มวัฒนธรรมหลัก
- กลุ่มวัฒนธรรมที่ไม่เป็นที่ยอมรับ เช่นเราไปยึดดินแดนในแถบยุโรป หรือดินแดนอื่นๆ ที่ไม่ได้มีชาติพันธ์เดียวกับเรา จะส่งผลเสียดังนี้ - เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกบฎในเมืองนั้น 2 หน่วย - ภาษีที่ได้จากเมืองนั้นลดลง 33 เปอร์เซ็นต์ - ความสามารถในการเปลี่ยนศาสนาของนักบวชเราในเมืองนั้น -2 หน่วย - กองกำลังสำรองที่เกณฑ์ได้จากเมืองนั้นลดลง 33 เปอร์เซ็นต์ // แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การเปลี่ยนกลุ่มวัฒนธรรมในเมืองเหล่านี้ เมื่อคำนวณดูจะได้ไม่คุ้มเสีย เพราะเทียบกับค่าภาษีมาตรฐานเป็น 1 ในเมืองใดๆ จะกินค่า MP ในข้อ DIP มากถึง 25 หน่วย หากเมืองนั้นมีค่าภาษีมาตรฐานเป็น 6 ก็จะกินมากถึง 150 ซึ่งทำให้เรานำไปวิจัยเทคโนโลยี หรือไอเดียช้ากว่าเดิมมาก ดังนั้น **ไม่ต้องจำเป็นเปลี่ยนกลุ่มวัฒนธรรมในเกมนีเลยนอกจากท่านมีค่า DIP มากเกินต้องการเท่านั้น
3.1.4 แถบแสดง Modifier ของรัฐเราทั้งหมด
แถบนี้จะแสดงถึงปัจจัยหรือเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อด้านต่างๆของรัฐเราทั้งหมด ซึ่งตัว Modifier ต่างๆนั้น จะได้มาจาก 4 ปัจจัยหลัก คือ การสุ่มอีเวนท์ในเกม การออกกฎหมาย ซึ่งจะกล่าวในหัวข้อ... การทำภารกิจ triggered modifier และการถือครองส่วนแบ่งมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ในตลาดของสินค้าแต่ละชนิด
ค่า Modifier นั้นมีทั้งดีและไม่ดี ตามปกติเวลาเล่นๆอยู่แล้วไม่มีอะไรทำ ก็ควรจะแวะมาดูค่านี้เอาไว้บ้าง เพื่อจะได้รู้ว่าตอนนี้รัฐของเรากำลังมี Modifier ที่ได้เปรียบในด้านไหน หรือเสียเปรียบในด้านไหนอยู่ โดยการเอาเมาส์ไปวางเหนือ Modifier แต่ละตัว ซึ่งผมจะไม่ขออธิบายนะครับ เพราะมันเยอะมากจริงๆ หากไม่เข้าใจในข้อไหนก็แนะนำให้ใช้ดิกชันนารี่ หรือกูเกิลแปลภาษาแปลดู
**เสริม วิธีการดู Triggered modifier หรือค่า Modifier ที่สามารถปลดล๊อกได้โดยการทำเงื่อนไขให้ครบ
เงินเข้าต่อเดือนก็เยอะ อาณาจักรก็ใหญ่โตมโหฬาร แต่กษัตริย์ดันทำอะไรไม่เป็นใช่หรือไม่? แต่วันนี้! ทุกปัญหาจะหมดไปทันทีเพียงคุณสั่งซื้อที่ปรึกษาจากเรา โทรเลย 02-... ถรุ้ย!! เอิ่ม...ก็ไม่มีอะไรมากครับ คือเมื่อเรามีค่า MP อยู่ 3 แบบ เราก็จะมีที่ปรึกษาอยู่ 3 ด้านด้วยกัน โดยที่ปรึกษาเหล่านี้นอกจากจะเพิ่มค่า MP ตามด้านที่เราจ้างแล้ว ซึ่งแต่ละคนจะมีค่าจ้างแตกต่างกันตามค่า MP ที่บวกแต่ละเดือน ต่ำสุดคือ +1 สูงสุดคือ +3 เจ้าพวกที่ปรึกษาเหล่านี้ยังมีความสามารถพิเศษเฉพาะตัวอีกด้วย เรามาดูกันเลยครับ
**หมายเหตุ ที่ปรึกษาที่เป็นตัวเอียงและขีดเส้นใต้คือที่ปรึกษาที่ส่งผลกระทบแบบเห็นได้ชัดเจนทันทีเมื่อจ้างมา
3.1.5.1 ที่ปรึกษาด้านการบริหาร หรือ ADM adviser
- Artist ศิลปิน // ลดค่า ADM ที่ต้องใช้เพิ่มค่าความมั่นคงภายในหรือ Stability ลง 10 เปอร์เซ็นต์
- Inquisitor เจ้าหน้าที่สอบสวนพวกนอกรีต // เพิ่มค่าความสามารถของนักบวชในการเปลี่ยนศาสนาเมืองต่างๆ 2 เปอร์เซ็นต์
- Master of mint เจ้าหน้าที่การเงิน // ลดภาวะเงินเฟ้อหรือ Inflation ลง 0.10 ต่อปี ควรใช้ก็ต่อเมื่อเรามีค่าเงินเฟ้อมากกว่าหรือเท่ากับ 6 เพราะจะทำให้การจ้างท่ปรึกษาแพงกว่าเดิมหลายเท่าหากเงินเฟ้อขนาดนี้
- Natural scientist นักวิทยาศาสตร์ // เพิ่มอัตราการผลิตสินค้าภายใน 10 เปอร์เซ็นต์
- Philosopher นักปรัชญา // เพิ่มค่าเกียรติยศต่อปี 1 หน่วย
- Theologian นักศาสนศาสตร์ // ลดโอกาสเกิดกบฎ 3 หน่วยทั่วอาณาจักร
- Treasurer นักการคลัง // เพิ่มอัตราภาษีที่เก็บได้ 5 เปอร์เซ็นต์
3.1.5.2 ที่ปรึกษาด้านการฑูต หรือ DIP adviser
- Colonial governer เจ้าหน้าที่บริหารอาณานิคม // เพิ่มภาษีศุลกากรในอาณานิคม 10 เปอร์เซ็นต์ อันนี้ใช้เฉพาะประเทศที่มีอาณานิคมในอเมริกาเยอะๆเท่านั้น ไม่อย่างนั้นก็ไม่มีประโยชน์อะไรเลย)
- Diplomat นักการฑูต // ความสัมพันธ์ของเรากับรัฐเพื่อบ้านจะดีกันเร็วขึ้น 30 เปอร์เซ็นต์ ใช้เมื่อประเทศต่างๆเกลียดเรา จะทำให้คืนดีกันเร็วขึ้น 30 เปอร์เซ็นต์ แต่หากดีกันอยู่แล้วก็ไม่จำเป็นเลย
- Naval reformer นักปฏิรูปทัพเรือ // เพิ่มกำลังใจสำหรับกองเรือ 10 เปอร์เซ็นต์
- Navigator นักเดินเรือ // เพิ่มระยะการสร้างอาณานิคม 20 เปอร์เซ็นต์ ควรใช้เฉพาะรัฐที่มีการล่าอาณานิคมเป็นภารกิจหลักเท่านั้น หากล่าเล็กๆน้อยๆก็ไม่ำเป็น
- Spy Master หัวหน้าสายลับ // เพิ่มโอกาสตรวจพบแผนร้ายจากรัฐอื่นๆ 10 เปอร์เซ็ต์ อันนี้ไร้ค่ามากไม่จำเป็นไม่ต้องไปจ้างครับ
- Statesman นักการเมือง // เพิ่มชื่อเสียงในด้านการฑูต (Diplomatic reputation) ขึ้น 5 หน่วย ทำให้โอกาสในการดำเนินงานทางการฑูตเพิ่มขึ้นอย่างมาก หรืออาจทำให้เมืองอื่นๆยอมมาอยู่เป็นเมืองขึ้นเราได้เลยหากประกอบกับค่าอื่นๆไว้เยอะ
- Trader พ่อค้า // เพิ่มความสามารถในการค้าองค์รวม 10 เปอร์เซ็นต์
3.1.5.3 ที่ปรึกษาด้านการทหาร หรือ MIL adviser
- Army organiser นักจัดการระบบกองทัพ // เลี้ยงดูทหารเกินจาก Limit ได้ 10 เปอร์เซ็นต์ (วิธีดู limit หัวข้อ ...)
- Army reformer นักปฏิรูปกองทัพ // เพิ่มกำลังใจทหาร 10 เปอร์เซ็นต์
- Commandant ผู้บัญชาการกองทัพ // เพิ่มระเบียบวินัยในกองทัพ 5 เปอร์เซ็นต์ มีประโยชน์มาก เวลาจำเป็นต้องสู้กับกองทหารของรัฐที่มีความสามารถด้านการทหารใกล้ๆกัน ค่าระเบียบวินัยส่งผลแบบเดียวกับ Combat skill หรือฝีมือการรบ ที่จะได้จากเทคโนโลยีและไอเดีย
- Grand captain แปลไม่ถูก -*- // ลดค่าเลี้ยงดูทหารลง 10 เปอร์เซ็นต์
- Master recruiter ผู้ชำนาญการเกณฑ์พล // เพิ่มทหารกองกำลังสำรอง 10 เปอร์เซ็นต์
- Military engineer วิศวกรทหาร // เพิ่มการป้องกันเมือง 10 เปอร์เซ็นต์
- Quartermaster ผู้ชำนาญการประสานงานทหาร // ส่งกองกำลังสำรองไปแนวหน้าเร้วขึ้น 33 เปอร์เซ็นต์
3.2 แผงการฑูต
3.2.1 แผงข้อมูลการฑูตของรัฐเรา
สำหรับหน้าต่างนี้เมื่อเราเข้ามาแล้วจะเป็นข้อมูลทางการระหว่างรัฐของเรากับรัฐที่เรามีความสัมพันธ์ด้วยทั้งหมด โดยจะแยกอธิบายเป็นส่วนๆดังนี้
3.2.1.1 ค่าความสัมพันธ์จำกัดและชื่อเสียงทางการฑูต (Diplomatic relation and Diplomatic reputation)
- Diplomatic Relation หรือในภาพที่อยู่ด้านบนเป็นรูปมือจับกันอยู่ จะแสดงถึงความสัมพันธ์ของท่านกับรัฐอื่นๆว่าสามารถมีได้เท่าไร ซึ่งกรณีที่จะกินค่านี้ได้แก่ การแต่งงาน การเป็นพันธมิตร การมีเมืองขึ้น การขอเดินผ่านแดนรัฐอื่น การมีรัฐในอารักขา การขอใช้ท่าเรือ และการรับรองอิสระภาพของรัฐต่างๆ การกระทำทั้งหลายนี้กับรัฐหนึ่งรัฐใดก็ตาม จะกินค่าความสัมพันธ์ 1 หน่วย หากเกินจาก limit เมื่อไรแล้ว ก็จะกินค่า Dip ที่จะเพิ่มต่อเดือนลงตามจำนวนที่เกิน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหากเราทำการฑูตกับรัฐๆหนึ่งไปแล้ว เราก็สามารถทำการฑูตแบบอื่นๆ (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมในหัวข้อต่อไป)กับรัฐนั้นๆเพิ่มได้โดยกินค่าแค่ 1 งงไหม? มีตัวอย่างให้แล้วกัน
**ตัวอย่างความสัมพันธ์ทางการฑูต ผมเล่นเป็นรัฐ A มีเพื่อนบ้านคือ รัฐ B , C และ D ผมมี Diplomatic limit คือ 2 ซึ่งผม เป็นพันธมิตร และ แต่งงาน กับรัฐ B แล้วผมก็ รับรองอิสระภาพ ให้รัฐ C ส่วนรัฐ D นั้นผมให้มัน เดินผ่านแดนเรา ได้ ซึ่งในกรณีนี้จะกินค่าความสัมพันธ์ 2 เท่านั้น เพราะในกรณีรัฐ B จะกินค่านี้ 1 ก็ตามหลักที่ว่า "รัฐใดๆ เมื่อมีความสัมพันธ์ทางการฑูตที่กินค่าความสัมพันธ์กันและกันแล้ว จะทำการใดๆที่เกี่ยวข้องกับการฑูตกับรัฐคู้่กรณีเพิ่มได้เสมอ" ส่วนกรณีรัฐ C ก็เป็นหนึ่งในการกระทำที่กินความสัมพันธ์ทางการฑูตอยู่แล้ว ส่วนรัฐ D ไม่ใช่ ความสัมพันธ์ที่กินค่านี้ ดังนั้นจึงไม่เสียช่องการฑูตไป
- Diplomatic reputation หรือที่ในภาพจะเห็นเป็นรูปหัวใจสีแดงอยู่หน้านก ถ้าเป็นผมเรียก ก็จะเรียกว่าค่าชื่อเสียงด้านการฑูต เป็นค่าที่ยิ่งมีมากก็ยิ่งจะส่งผลให้การดำเนินการทางการฑูตโดยเฉพาะ การขอเป็นพันธมิตร และการขอให้เมืองที่เล็กกว่ามาเป็นเมืองขึ้น สามารถดำเนินการได้ง่ายขึ้นอย่างยิ่ง เพราะทั้งสองอย่างนี้บางทีทำไม่ได้เพราะติดเงื่อนไขเพียงนิดเดียวเท่านั้นเช่นยังขาดอีกความสัมพันธ์อีก -2 ถึงจะขอให้แคว้น A ซึ่งเป็นเมืองเล็กๆใกล้เรามาเป็นเมืองขึ้นได้ หากมีค่านนี้ก็สามารถสำเร็จได้ง่ายๆ
จากภาพด้านบนผม (เป็นสเปน) จะพยายามขอให้รัฐบริแตนนี่มาเป็นเมืองขึ้น ซึ่งตามปกติก็คงจะไม่ได้ แต่ในที่นี้ผมที่ค่า Diplomatic reputation 11 ทำให้ผมสามารถขอรัฐนี้ซึ่งมีเมืองถึง 4 เมืองมาเป็นเมืองขึ้นได้โดยไม่ต้องยึดด้วยกำลัง
มาถึงตอนนี้หลายท่านอาจจะเริ่มคิดว่า เอ๊ะ! แล้วจะไปเอาไอค่านี่มาได้ยังไง ซึ่งผมจะขออธิบายต่อไปเลยครับ มี 5 วิธี ได้แก่
- การเป็นเจ้าตลาดในสินค้างาช้างหรือ Ivory ซึ่งการจะเป็นเจ้าตลาดสินค้าในชนิดนี้ก็ไม่ได้ยากมาก เพียงแค่บุกเบิกแอฟริกาให้ได้เยอะๆ เพราะงาช้างจะกระจายอยู่มากเต็มแอฟริกา โดยเน้นไปที่แถบชายฝั่งแอฟริกาตะวันออก เพราะจะมีมากที่สุดเกือบตลอดแนวชายฝั่ง หากทำได้จะบวกค่านี้ 5
- การจ้างที่ปรึกษาการฑูตตัว Statesman จะเพิ่มแบบไม่ต้องลงทุนลงแรงทีเดียว 5 ซึ่งหากมีเจ้าที่ปรึกษาตัวนี้แบบสกิล 1 หรือ 2 มา ผมจ้างไม่เว้นประโยชน์คุ้มมาก
- การมีค่า Legitimacy มากกว่า 50 ซึ่งถ้าหากมีครบ 100 เต็ม ก็จะได้ค่านี้ไปเลย 2.5 ไล่ลงไปตามค่าความมั่นคงในการสืบบัลลังค์ของเรา (หากต่ำกว่า 50 ค่านี้ก็จะต่ำลงเช่นกัน หากเป็น 0 ก็ไปถึง -2.5)
- อีเวนท์สุ่ม Enhanced Reputation จะสุ่มเมื่อเรามีค่า Legitimacy สูงๆ หากเกิดอีเวนท์นี้จะเพิ่มค่านี้ 5 ทันทีไป 5 ปี นับจากวันที่ได้
- ไอเดียกลุ่มการฑูต ในหัวข้อ Diplomatic idea ในระดับ 7 เพิ่มค่านี้ทันที 5 (อธิบายเรื่องไอเดียในหัวข้อ...)
3.2.1.2 ศัตรูและอริ (Enemy and rival)
ศัตรู (Enemy) ในภาพด้านบนคือรัฐที่มีสัญลักษณ์ประจำแคว้นอยู่บนแถวบน ในที่นี้มีอยู่ 5 รัฐ รัฐใดๆก็ตามที่มาปรากฎบนนี้ ให้ท่านตระหนักเลยว่ารัฐเหล่านี้มองท่านเป็นศัตรู และถ้ามีโอกาสมันก็จะถล่มเราทันที เช่น เวลาที่เรารบจนกำลังสำรองเหลือน้อยมากๆ หรือรบกับรัฐอื่นติดพันโดยไม่มีทหารเฝ้าอยู่ในพื้นที่ของตนเอง การทำการฑูตกับรัฐเหล่านี้ ไม่สามารถร้องขออะไรได้เลย ไม่ว่าจะการขอแต่งงาน ขอเป็นพันธมิตร หรือแม้แต่เดินทัพผ่าน
อริ (Rival) จะอยู่ถัดลงมาด้านล่างของสัญลักษณ์ศัตรู โดยในที่นี้เราสามารถกำหนดอริของเราเองได้ โดยเมื่อกำหนดแล้ว ก็จะได้โบนัสดังนี้
- ศัตรูของรัฐนั้นๆ หรือรัฐที่ตั้งรัฐนั้นๆเป็น Rival ด้วย จะเพิ่มค่าความสัมพันธ์ของเรากับรัฐนั้นๆ 20 เมื่อผ่านไปหลายๆเดือน
- หากเรารบชนะรัฐนั้นๆ จะเพิ่มค่าเกียรติยศที่จะได้จากการรบ 25 เปอร์เซ็นต์ เช่น ปกติรบได้ค่าเกียรติยศ 10 ก็จะได้เป็น 12.5 แทน
- หากตั้งแล้ว เมื่อไรก็ตามที่เราคว่ำบาตรทางการค้าใส่รัฐนั้นๆ (Embargo ซึ่งจะอธิบายในหัวข้อ...) เราจะไม่สูญเสียรายได้ของตนเอง แต่อีกฝ่ายเสียเท่าเดิม
- ลดโอกาศที่อีกฝ่ายจะทำการฑูตที่ไม่ดีกับเราได้ 20 เปอร์เซ็นต์ เช่น อ้างสิทธิ์เหนือดินแดนเา สนับสนุนกบฎ หรือทำลายความสัมพันธ์ของเรากับรัฐอื่นๆ
- ลดค่า DIP เมื่อเรียกร้องดินแดนจากรัฐนั้นๆ 33 เปอร์เซ็นต์
**ตามปกติแล้วเราไม่จำเป็นต้องตั้ง Rival เพราะจะเป็นการสร้างศัตรูโดยใช่เหตุ ในกรณีของผู้เขียนนี้ เคยตั้ง Netherlands เพียงครั้งเดียวเท่านั้นจากการเล่น 600 ชั่วโมง เพราะมันเป็นภารกิจ (อธิบายเรื่องภารกิจในหัวข้อ...)
3.2.1.3 ความสัมพันธ์ทางการฑูตของเรากับรัฐอื่นๆ
สำหรับหน้าต่างตรงส่วนนี้จะแสดงความสัมพันธ์ของเรากับรัฐอื่นๆทั้งหมดที่เรามีการทำการกระทำทางการฑูตด้วย สามารถย้อนกลับไปอ่านความสัมพันธ์ต่างๆได้ที่ข้อ 1.3.5 ครับ วิธีดูก็แค่เอาเมาส์ไปวางไว้ตรงรูปภาพหน้าแถวของสัญลักษณ์แทนรัฐที่จะเรียงกันอยู่ครับ
3.2.1.4 สร้างเมืองขึ้นปกครองตนเอง หรือ Create vassals
สำหรับในส่วนนี้โดยส่วนตัวแล้วผมไม่เคยใช้เลย มันก็คือการปล่อยเมืองที่คุณยึดมาเป็นของคุณแล้ว ให้มีอิสระในการปกครองตนเองอีกครั้ง จะใหญ่หรือจะเล็กก็ตามแต่ขนาดของเมืองก่อนจะยึดมา และก็แล้วแต่ว่ายังเหลือ Core อยู่กี่เมืองด้วย ซึ่งจะทำให้รัฐใกล้เคียงรู้สึกไว้ใจคุณมากยิ่งขึ้นว่าคุณไม่ใช่พวกบ้าอำนาจ หรือที่เรียกว่ามี Aggressive expansion เยอะๆ (อธิบายในหัวข้อพิเศษ...)
3.2.2 แผงการฑูตของรัฐอื่นๆ หรือเรียกว่าหน้าต่างการฑูต
**สำคัญกรุณาอ่าน การกระทำใดๆในหน้าต่างต่อไปนี้จำเป็นต้องใช้ฑูตเสมอ ผมจะขออธิบายเรื่องฑูตในเกมตรงส่วนนี้เลยนะครับ
จากภาพด้านบน ในวงกลมสีแดงนั้นคือสัญลักษณ์แสดงถึงตัวฑูตของเรา โดยจะมีตัวเลขกำกับอยู่เช่น 1/3 ในกรณีด้านบน แปลว่าผมมีฑูตที่สามารถส่งไปในดินแดนอื่น 1 คน ส่วนอีก 2 คนยังอยู่ต่างประเทศหรือกำลังเดินทางกลับประเทศอยู่แต่ยังมาไม่ถึง สามารถดูรายละเอียดได้ในแถบข้อมูลรวมหรือ Outliner ที่ผมทำกรอบสีแดงในภาพไว้ โดยดูได้ว่าฑูตของเราประจำอยู่ที่ไหน หรือกำลังเดินทางกลับมาประเทศหรือเปล่า ซึ่งในที่นี้ฑูตของผมคนหนึ่งที่ชื่อ Sinan Gircu กำลังเดินทางกลับ และจะใช้งานได้อีกครั้งเมื่อถึงเวลาอีก 61 วัน
ปล. เมื่อเราส่งฑูตไปรัฐใดๆก็ตาม หากเราต้องการจะส่งฑูตอีกคนไปดำเนินการอย่างอื่นจ ะต้องรออีก 1 เดือนเสมอ ตัวอย่างเช่น ผมส่งฑูตไปทำสัมพันธไมตรีวันที่ 2 มกรา ก็จะส่งอีกคนหรือคนเดิมไปได้อีกทีในวันที่ 2 กุมภา เป็นต้น
**สำคัญอีกเช่นกัน หลักการดูจำนวนพ่อค้า นักสร้างอาณานิคม ฑูต และนักบวชจะมีวิธีการดูเหมือนๆกัน คือสัญลักษณ์ด้านบนแสดงจำนวนคนที่ว่างงานอยู่มีแบบคือ X/Y เมื่อ X เป็นจำนวนเต็มบวกใดๆที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ Y เสมอ และแถบ Outliner จะแสดงถึงที่ๆพวกเขาไปอยู่ วันที่เดินทางกลับถึงรัฐเรา และหากเอาเมาส์ไปวางบนชื่อเขาเหล่านั้น ก็จะบ่งบอกเมืองที่ไปอยู่และอัตราการดำเนินงานว่าทำงานไปถึงไหนแล้ว
สำหรับหน้าจอนี้นับได้ว่ามีความสำคัญมากถึงมากที่สุดในเกมเลยก็ว่าได้ การจะประกาศสงคราม การหาพันธมิตร ขอเดินผ่านแดน และการกระทำแทบทุกๆอย่างที่เกี่ยวข้องกับรัฐอื่นๆแทบไม่สามารถกระทำได้หากไม่ผ่านหน้าต่างการฑูตนี้เสียก่อน ดังนั้นการกระทำทางการฑูตทั้งหมดจะต้องขออธิบายโดยละเอียดถึงละเอียดที่สุด ในทุกๆการกระทำดังนี้
หัวข้อการฑูตต่างๆ **ข้อย่อยทำเป็นสีเขีบวนะครับ
3.2.2.1 การประกาศสงคราม (Declare war) การจะประกาศสงครามกับรัฐใดรัฐหนึ่งนั้น จำเป็นจะต้องมีเหตุแห่งสงครามหรือ Casus belli มิเช่นนั้นจะต้องเสียค่าความมั่นคงภายในทันที 2 หน่วย ซึ่งถือว่าเยอะมากทีเดียว โดยผมจะขอพูดถึง Casus belli หรือเหตุแห่งสงครามสำคัญอันที่สำคัญๆ และใช้กันบ่อยๆต่อไปเลยนะครับ
หัวข้อย่อย Casus Belli สำคัญๆ
- Conquest // สำหรับเหตุแห่งสงครามอันแรกนี้เป็นอันที่ใช้กันมากที่สุด การจะขยายอาณาจักรก็จะใช้ข้อนี้เป็นสำคัญ เพราะทำได้ง่ายและใช้ได้กับทุกรัฐที่มีชายแดนติดกับเรา เป็นการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนนั้น เงื่อนไขในการได้เหตุแห่งสงครรามนี้ได้แก่
1. มีเมือง Core ของเราติดกับเมือง Core ฝ่ายตรงข้าม ติดในที่นี้ยังรวมถึงอยู่ในเขตทะเลเดียวกันเช่น เมืองลิกอร์หรือประจวบในปัจจุบัน อยู่ไม่ได้ติดกับเมืองระยองเพราะมีอยุธยากั้นอยู่ แต่แชร์แบ่งเขตอ่าวไทยด้วยกันก็ สามารถทำได้
2. เมื่อมีเงื่อนไขในข้อ 1 แล้ว ก็ให้เปิดหน้าต่างการฑูตกับรัฐนั้นๆ แล้วไปที่ Covert action แล้วจึงเลือก Fabricate Claim
3. รอเวลาจนครบ 1 ปีก็จะได้เหตุแห่งสงครามอันนี้มา และสามารถประกาศสงครามได้
สำหรับ Conquest casus belli เป้าหมายหลักของผู้ประกาศสงครามหรือฝ่ายรุกก็คือยึดเมืองที่ตัวเองอ้างสิทธิ์ให้ได้ไวที่สุด และทำ Warscore โดยการยึดเมืองของฝ่ายรับให้เยอะที่สุด ส่วนฝ่ายป้องกันก็เพียงแค่ป้องกันเมืองนั้นเอาไว้เป็นสำคัญ และหากเป็นไปได้ก็ปกป้องเมืองอื่นๆให้ถูกยึดช้าที่สุด เพียงป้องกันให้สภาพกลายเป็นทำอะไรกันไม่ได้ จะทำให้คะแนนสงครามหรือ Warscore ของฝ่ายป้องกันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และฝ่ายรุกจะแพ้ไปเอง
- Reconquest // จะเกิดขึ้นในกรณีที่เมืองของเราถูกอีกฝ่ายยึดไป บางทีก็อาจเป็นผลพวงติดมาตั้งแต่เพิ่งเริ่มเกม เช่นในรัฐ Timurid และ Ottoman แปลว่าเรามีเมืองที่ชอบธรรมหรือ Core ของเราแล้วถูกคนอื่นยึดไปโดยไม่สามารถเอาคืนได้ สำหรับการประกาศศึกโดยใช้ตัวนี้เป็นข้ออ้างจะมีลักษณะเดียวกับ Conquest casus belli ทุกประการ
- Holy war // หรือสงครามศักดิ์สิทธิ์ จะทำได้เฉพาะเมืองต่างศาสนากับเราหรือเมืองนอกรีตเท่านั้น มีเงื่อนไขในการได้ดังนี้
1. มีเมือง Core ติดกับรัฐต่างศาสนาหรือนอกรีตของศัตรู
2. ปลดล๊อกไอเดียสาย Administration ในหัวข้อ Religious idea อันแรกที่ชื่อ "Deus Vult" หรือหากเป็นคาทอลิก เมื่อรัฐที่ควบคุมสันตะปาปาสั่งเรียกครูเสดใส่อิสลามรัฐใดๆแล้วรัฐอิสลามนั้นๆมีดินแดนติดกับเรา ก็จะได้ Holy war casus belli เช่นกัน
สงคราม Holy war จะได้ Warscore ง่ายมากหากท่านสามารถรบชนะทัพของอีกฝ่ายได้เรื่อยๆ ส่วนการยึดเมืองนั้นไม่ค่อยจำเป็นเท่าไรยกเว้นท่านอยากได้เมืองนั้นๆ แต่หากต้องการเงิน หรือบีบบังคับทำสัญญาก็เพียงแค่รบชนะทัพศัตรูบ่อยๆก็พอโดยจะได้คะแนนเพิ่มเรื่อยๆหากฝ่ายใดชนะสงครามมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของสงครามที่ได้รบไปแล้วทั้งหมด ทั้งทัพบกและทัพเรือ
- Colonialism // สงครามแย่งชิงอาณานิคม จะเกิดขึ้นได้เมื่อเรามีเมืองที่เป็นอาณานิคมของเราติดต่อกันกับอาณานิคมของชาติล่าอาณานิคมอื่นๆเงื่อนไขมีข้อเดียวคือ
1. มีเมืองอาณานิคมติดกันในภูมิภาคแอฟริกา(ยกเว้นภาคเหนือ) อเมริกา และออสเตรเลีย
การทำคะแนนในสงครามแบบนี้จะทำได้ไวมากเพียงแค่ยึดเมืองอาณานิคมอีกฝ่ายไว้ให้ได้เยอะๆ ไม่จำเป็นต้องรบกันในแผ่นดินแม่ก็สามารถทำ Warscore เยอะๆ จนอีกฝ่ายเสียอาณานิคมจนหมดเลยก็ยังได้เช่นกันหากทหารของเรากับรัฐบาลอาณานิคมยึดเมืองอาณานิคมอีกฝ่ายได้จนหมด
**ในกรณีที่เรารบสงครามแบบนี้ในทวีปอเมริกา แล้วแย่งอาณานิคมอีกฝ่ายมา เราก็จะต้องทำ Core เหมือนกับการยึดเมืองในทวีปอื่นๆ จะไม่ได้โอนไปอยู่กับรัฐอาณานิคมทันทีเหมือนพวกเมืองชนเผ่า
** การล่าอาณานิคมจะอธิบายแยกออกไปอีกครั้งหนึ่ง
- Coalition // สงครามชนิดนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีรัฐๆใดก็ตามขยายอำนาจเร็วจนเกินไป รัฐอื่นๆไม่ไว้ใจหรือมี Attitude ต่อรัฐนั้นเป็น Outrage จะพร้อมใจกันรวมตัวต่อต้านรัฐนั้นๆ โดยมีเงื่อนไขดังนี้
1. รัฐที่จะเป็นเป้าหมายขยายอำนาจเร็วมากๆหรือขยายแดนทีเดียวมากจนเกินไป
2. ค่าติดลบ Aggressive Expansion (ดูได้โดยเอาเมาส์ไปดูช่องความสัมพันธ์ในช่องการฑูตระหว่างรัฐนั้นๆกับรัฐอื่นๆ) กับรัฐอื่นๆที่เป็น AI ติดลบมากกว่า 40 โดยประมาณ
3. รัฐที่เข้าเป็นสมาชิกเข้าร่วมมีมากกว่า 4 รัฐ หรือ รวมกันแล้วมีกำลังมากพอจะโค่นรัฐเป้าหมายลงได้
สำหรับสงครามชนิดนี้มีเป้าหมายของฝ่ายบุกคือต้องยึดเมืองหลวงของฝ่ายเป้าหมายให้ได้ ซึ่งอันที่จริงแล้วสงครามแบบนี้ warscore จะได้มากทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการยึดเมืองหรือการรบชนะก็ตาม ส่วนฝ่ายป้องกันจะต้องพยายามรบให้ชนะทัพเล็กทัพน้อยของศัตรูให้เร็วที่สุด หากศัตรูมีกำลังมากก็ควรรีบสงบศึกไว้ สงครามชนิดนี้ฝ่ายป้องกันต้องตกลงสงบศึกกับหัวหน้าอีกฝ่ายหรือ Warleader เท่านั้น ซึ่งจะเป็นรัฐที่แข็งแรงที่สุดในหมู่ศัตรูเสมอ ทำให้ควรรีบทำ Warscore แล้วยอมเสียอะไรก็ได้ที่ไม่ใช่ดินแดนไป หากอีกฝ่ายมีกำลังมาก ซึ่งปกติสงครามแบบนี้ต้องระวังอย่างมากเพราะมักจะรวมรัฐเพื่อนบ้านทุกๆทิศมาเป็นศัตรูเราหมด
- Overseas Conquest // สงครามล่าอาณานิคมของกลุ่มเทคโนโลยีตะวันตก ตะวันออก และออตโตมัน ประกาศสงครามใส่กลุ่มจีน อินเดีย และมองโกลในเอเชีย เงื่อนไขข้อเดียวคือ
1. ปลดล๊อกไอเดียสายการฑูต ในหัวข้อ Expansion idea จนหมด จะได้เหตุแห่งสงครามอันนี้ใส่ประเทศที่มีกลุ่มเทคโนโลยีล้าหลังในเอเชียทันที
เหตุแห่งสงครามนี้นิยมใช้สำหรับพวกตะวันตกในการล่าอาณานิคมมากที่สุด เพราะใช้ได้ง่ายที่สุด เพราะถึงอย่างไรประเทศที่ประกาศศึกด้วยมันก็มีทหารสู้ไม่ได้ชัวร์เพราะแปลว่ามันยังไม่ได้ Westernize เลยด้วยซ้ำ และการจะได้คะแนนก็เพียงแค่รบชนะ 2-3 ครั้งในสงครามขนาดกำลังทัพ 10000 ขึ้นไปก็ได้คะแนนมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์เข้าไปแล้วสำหรับการบุกรัฐใหญ่ๆอย่างหมิง ไม่ต้องพูดถึงพวกรัฐเล็กๆเลยด้วยซ้ำ
- Tribal Feud // หากเราเริ่มเล่นเป็นรัฐใดๆก็ตามที่มีกลุ่มเทคโนโลยีเป็น steppe horde หรือพวกมองโกลนั่นเอง เราก็จะได้เหตุแห่งสงครามนี้มามีเงื่อนไขดังนี้
1. เป็นรัฐ Steppe horde ที่ยังมีระดับเทคโนโลยีเป็น 175 เปอร์เซ็นต์หรือเทียบเท่าเริ่มต้นเท่านั้น การปฏิรูปรัฐบาล หรือการ Westernize จะทำให้เหตุแห่งสงครามตัวนี้หายไปทันที
2. เหตุแห่งสงครามนี้จะทำให้สามารถประกาศศึกกับรัฐข้างเคียงใดๆก็ได้ แต่ก็ยังได้รับผลกระทบหากประกาศสงครามใส่รัฐใดๆที่ยังมีสนธิสัญญาสงบศึกหรือ Truce ตามปกติ
สำหรับเจ้าเหตุแห่งสงครามตัวนี้เป็นของที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการเล่นเป็นบรรดารัฐมองโกลทั้งหลายเนื่องจากว่าในช่วงเริ่มเกมนั้น เราจะต้องตีเมืองของข้าศึกให้ได้มากที่สุด ในขณะที่เรายังมีทหารที่ดีกว่าศัตรู (ช่วงก่อนปี 1550 เท่านั้น โดยจะต้องใช้ทหารม้าเกือบ 80 เปอร์เซ็นต์ในกองทัพมองโกลเนื่องจากทหารมองโกลมีทหารม้าเก่งกาจกว่าทหารราบตั้งแต่ต้นเกม) และเราจะต้องประกาศศึกทุกๆระยะเวลา 5 ปี ไม่อย่างนั้นกบฎจะเกิดทุก 2 เดือนกันเลย -*- ดังนั้นสำหรับมองโกลที่ท่านจะต้องรบตลอด เจ้า Casus belli ตัวนี้จึงสำคัญมาก ถ้าไม่อยากให้กบฎเอาอาณาจักรท่านไปงาบฟรีๆ
หัวข้อ Alliance
หัวข้อนี้จะใช้ในการกระทำการฑูตใดๆ อันเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างรัฐต่างๆ มี 3 หัวข้อดังนี้
Offer alliance การยื่นพันธมิตร
สำหรับในหัวข้อนี้ก็จะแปลความหมายได้ตรงตัวเลยนั่นก็คือ "การขอเป็นพันธมิตร" ซึ่งการขอเป็นพันธมิตรควรจะใช้กับรัฐที่มีคุณสมบัติดังนี้
- รัฐที่อยู่ติดกับชายแดนของรัฐรอบๆตัวเราที่ได้ตั้งเราเป็นอริ การทำอย่างนี้จะเป็นการคานอำนาจของศัตรูไม่ให้สามารถลงมือจัดการเราแบบผลีผลามได้ เพราะจะโดนตลบหลัง
- รัฐที่มีกองทหารและกองเรือขนาดใหญ่ จะทำให้ศัตรูที่มีขนาดเล็กกว่ารัฐขนาดใหญ่นั้นๆ ไม่กล้าโจมตีเราเลย เพราะรัฐใหญ่จะกลายเป็น Warleader ในสงครามทันทีหากเรามีทหารน้อยเป็นทุนเดิม หรือน้อยกว่าประมาณ 1/4 ของทหารรัฐนั้นๆ
- ในกรณีที่เล่นเป็นกลุ่มเทคโนโลยีล้าหลัง ก็ให้หาเพื่อนที่เป็นอันดับต้นๆในกลุ่มเทคโนโลยีที่เป็นภัยเอาไว้เช่นเราเล่นอินเดียก็ต้องคอยระวังกลุ่มมุสลิม ก็ควรเป็นพันธมิตรกับรัฐขนาดใหญ่ของกลุ่มมุสลิมนั้นไว้
การยื่นเป็นพันธมิตรเมื่อฝ่ายที่ถูกร้องขอยอมรับแล้วจะมีข้อผูกมัดดังนี้
- ในกรณีที่มีรัฐหนึ่งรัฐใดประกาศสงครามกับรัฐอื่นๆ จะสามารถร้องขอความช่วยเหลือจากรัฐพันธมิตรของตนได้ โดยหากพันธมิตรไม่ยอมเข้าร่วม จะเสียค่า Prestige ไป 25 และเป็นการยกเลิกพันธมิตรทันที
- หากรัฐหนึ่งรัฐใดถูกโจมตีโดยรัฐอื่นๆ พันธมิตรของรัฐนั้นๆทั้งหมดจะถูกเรียกเข้าร่วมสงครามทันที หากปฎิเสธก็เสียค่า Prestige ไป 25 หน่วยเช่นเดียวกัน
- รัฐพันธมิตรใดๆที่เป็นพันธมิตรกันอยู่ จะไม่สามารถประกาศศึกต่อกันได้เด็ดขาด ยกเว้นยกเลิกพันธมิตรโดยฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเท่านั้น
Form Coalition Against หรือ Join Coalition Against ก่อตั้งพันธมิตรเฉพาะกิจเพื่อต่อต้านรัฐ ...
การก่อตั้งพันธมิตรเฉพาะกิจเพื่อต่อต้านรัฐใดๆหรือเข้าร่วมพันธมิตรนั้นๆ มักใช้ในกรณีดังนี้
- รัฐนั้นๆขยายดินแดนรวดเร็วเกินไป
- รัฐนั้นๆเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐรอบๆจำนวนมาก
สำหรับหัวข้อทางการฑูตนี้ จะทำให้หากรัฐหนึ่งรัฐใดที่อยู่ในรัฐพันธมิตรเฉพาะกิจถูกประกาศศึกจากรัฐเป้าหมายไม่ว่าจะมีเหตุแห่งสงครามเป็นอะไรหรือประกาศศึกใส่รัฐเป้าหมายโดยใช้หัวข้อ Coalition เป็น Casus belli จะทำให้ทุกๆรัฐเข้าร่วมสงครามกับรัฐเป้าหมายนั้นๆทันที โดยรัฐที่เป็น Warleader หรือรัฐที่มีกำลังทางทหารสูงสุดของกลุ่มพันธมิตรเท่านั้นที่สามารถเจรจาสงบศึกได้ ทำให้สงครามแบบนี้หากยังไม่ทำสนธิสัญญาสงบศึก ก็ยังไม่สามารถสงบศึกเอง
**เป้าหมายหลักของสงครามแบบนี้คือการบังคับให้รัฐเป้าหมายต้องปล่อยเมืองต่างๆที่ยึดไปเป็นอิสระ และจ่ายค่าปฎิกรรมสงครามที่แพงลิบลิ่วจนหมดตัว ดังนั้นหากท่านไม่ใช่สมาชิกที่แข็งแรงที่สุดที่จะเป็น Warleader แล้ว ในเกมเล่นคนเดียวก็ไม่จำเป็นต้องเข้าร่วมก็ได้ เพราะจะไม่ได้อะไรตอบแทนนอกจากลดกำลังรัฐใหญ่นั้นๆไป ซึ่งปกติก็ไม่ค่อยเกิดขึ้นอยู่แล้ว เพราะคอมจะไม่ตีเมืองแบบแหลกกลาญเหมือนคนคุมเอง
3.2.2.2 หัวข้อ Influence action
Enforce Peace บีบบังคับให้สงบศึก
สำหรับการบีบบังคับรัฐใดๆที่เป็นฝ่ายรุกรานรัฐอื่นๆก่อน ให้ยุติสงครามลงเสีย โดยหากรัฐนั้นๆยอมก็จะทำให้เกิด White peace และทั้ง 2 ฝ่ายคู่สงครามจะไม่เสียอะไรเลย แต่หากรัฐนั้นๆไม่ยอม รัฐที่ทำการบีบบังคับนั้นๆหรือตัวเราเองก็จะเข้าร่วมสงครามกับฝ่ายป้องกัน มีเงื่อนไขดังต่อไปนี้
- รัฐฝ่ายป้องกันมีความคิดเห็นต่อเราเป็นเชิงบวกมากกว่า 100
- รัฐที่เราจะทำการบีบบังคับนั้นต้องเป็นฝ่ายรุกรานเท่านั้น
- เราจะสามารถประกาศศึกกับรัฐนั้นๆได้ คือ ต้องไม่เป็นพันธมิตร หรือมี Truce สัญญาสงบศึกกันอยู่
การบีบบังคับให้สงบสงครามจะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อรัฐนั้นๆ หากขยายอำนาจแล้วในอนาคตอาจเป็นภัยต่อเรา และในตอนนั้นเรามีทหารมากพอที่จะสามารถถล่มรัฐนั้นๆได้ จะมีประโยชน์ที่สุดเมื่อเราไม่มี CB (Casus belli) แต่อยากจะประกาศศึกเพื่อหาเกียรติยศหรืออยากได้เมืองเป็นทุนเดิมอยู่เสมอ เพราะโดยมากแล้วคอมจะปฏิเสธและเปิดโอกาศให้เราทำสงคราม
Offer vassalization ยื่นข้อเสนอมาเป็นเมืองขึ้น
ในหัวข้อนี้จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อรัฐของท่านมีขนาดใหญ่และต้องการให้รัฐเพื่อนบ้านที่มีขนาดเล็ก มาเป็นเมืองขึ้นเพื่อที่จะสามารถกินเมืองได้โดยไม่ต้องใช้กำลังทหาร แต่จะเสียเวลาในการควบรวมดินแดนมากกว่าการบุกด้วยกำลังทหาร มีเงื่อนไขดังนี้
- อีกฝ่ายมีความคิดเห็นต่อเราเป็นบวกมากกว่า 190
- รัฐนั้นๆมีค่า Base tax (วิธีดูอยู่ในข้อ 3.1.3 ตรงกลางๆนะครับ) เท่ากับหรือน้อยกว่า 40 โดยเทียบกับรัฐของเราด้วยว่ามากกว่ากันมากหรือไม่
- มีการแต่งงานข้ามราชวงศ์หรือ Royal marriage
- เป็นพันธมิตรกัน
- ค่าความแตกต่างของการวิจัยเทคโนโลยีน้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ คือจะทำได้กับกลุ่มเทคโนโลยีช้ากว่าเรา 50 เปอร์เซ็นต์ลงมาเท่านั้น หากมากกว่านั้นจะอยู่ในหัวข้อต่อไป Protectorate แทน
- ต้องมีชายแดนไม่อยู่ห่างกันมากเกินไป
สำหรับการทำให้อีกฝ่ายมาเป็นเมืองขึ้นนั้นจะทำให้เราไม่ต้องเสียค่า ADM ในการทำ Core แต่ทว่าก็จะเสียเวลามากกว่า 10 ปีขึ้นไปในการรวมรัฐนั้นๆเข้ามาเป็นของเรา โดยจะมีปัจจัยอีกหลายๆอย่างที่จะเกี่ยวพันว่ารัฐนั้นๆจะยอมเป็นเมืองขึ้นของเราหรือไม่ ซึ่งสามารถจะไปดูได้ที่ลิ๊งค์นี้ www.eu4wiki.com/Offer_vassalization#Offer_vassalization_.28diplomatic.29
ซึ่งเงื่อนไขทั้งหมดนั้นมักจะติดปัญหาที่ความสัมพันธ์ในบางครั้งที่ทำเป็นบวกได้ไม่ถึง 190 โดยปัจจัยต่างๆที่จะเพิ่มความสัมพันธ์ของเรากับรัฐนั้นๆจะมีปกติดังต่อไปนี้
- เป็นพันธมิตร +50
- แต่งงาน +25
- รับรองเอกราช +10
- ให้ของขวัญ(เงิน) +25
- ให้เดินผ่านแดนของเราได้ +10 ข้อนี้ใช้ได้เฉพาะกับรัฐที่มีดินแดนติดกันเท่านั้น
- ให้ฑูตไปเจริญสัมพันธไมตรี +100
ข้อที่ได้กล่าวมานั้นหากสามารถทำได้ทั้งหมดจะบวกความสัมพันธ์ของเรากับรัฐเป้าหมายได้ทั้งหมด 220 หน่วย ถ้าหากว่าอีกฝ่ายมีความคิดเห็นต่อเราตอนเราเริ่มสนใจให้รัฐนั้นๆต่ำกว่าหรือเท่ากับ -29 ก็ถล่มมันจะง่ายกว่านะครับ
หลังจากที่รัฐนั้นๆได้เข้ามาเป็นเมืองขึ้นเราแล้วเป็นเวลา 10 ปีขึ้นไป เราสามารถส่งฑูตของเราไปรวมรัฐนั้นๆเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในอาณาจักรเราได้ โดยให้ไปที่เดิมในเมนู Offer vassalization มันจะเปลี่ยนเป็น Annex vassal ซึ่งจะกินเวลาแตกต่างกันตามปัจจัยของขนาดและระยะเวลาที่เป็นเมืองขึ้นของเราว่าเป็นมานานแค่ไหน โดยจะมีที่ปรึกษา Statesman และ Modifier ต่างๆที่เพิ่มค่าชื่อเสียงทางการฑูต จะร่นระยะเวลาในการควบรวมดินแดนได้มาก
Establish Protectorate ทำให้อีกฝ่ายเป็นรัฐในอารักขา
หัวข้อนี้จะทำให้รัฐในกลุ่มเทคโนโลยีที่ล้าหลังกว่าเรามากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ (กลับไปอ่านเพิ่มเติมได้ในหัวข้อ 2.6.4) มาเป็นรัฐอารักขาในการคุ้มครองของเรา โดยจะส่งผลดังนี้
- รัฐนั้นๆจะต้องแบ่งอำนาจทางการค้า หรือพูดง่ายๆก็คือรายได้จากการค้าให้เราครึ่งหนึ่ง
- รัฐนั้นๆจะไม่สามารถมีพันธมิตรอื่นๆได้ หากมีอยู่ก่อนก็จะยกเลิกไปทันทีที่ตกลงกับเรา
- หากรัฐในการคุ้มครองของเราถูกโจมตีเราจะต้องเข้าร่วมสงครามปกป้องรัฐนั้นๆด้วย
- รัฐในการคุ้มครองจะสามารถวิจัยเทคโนโลยีได้เร็วกว่าเดิม 20 เปอร์เซ็นต์
- รัฐเหล่านี้ไม่สามารถควบรวมทางการฑูตได้เหมือนเมืองขึ้นใสข้อก่อนหน้านี้
สำหรับการทำให้รัฐอื่นๆมาเป็นรัฐในอารักขานั้น มักจะใช้กันในกรณีที่เรายังไม่ว่างมาจัดการยึดดินแดนนั้นๆ อาจเพราะติดพันอยู่ที่อื่นๆหรือด้วยเหตุใดก็ตามที หากเราต้องการจะได้เมืองเหล่านี้ในอนาคต เราก็สามารถที่จะทำให้มีความสัมพันธ์ดีๆกันก่อน แล้วยื่นข้อเสนอให้มาเป็นรัฐใต้อารักขาของเราเพราะจะไม่สามารถหาพันธมิตรได้ แล้วจึงค่อยทำการโจมตียึดเมืองทีหลัง
นอกจากรัฐเหล่านี้จะส่งส่วนแบ่งการค้าให้เราแล้วนั้น หากในกรณีที่เรารบแพ้กับรัฐใดก็ตาม รัฐที่รบชนะส่วนใหญ่จะต้องการให้เราปล่อยรัฐใต้คุ้มครองเป็นอิสระ ซึ่งหากว่ารัฐใต้คุ้มครองของเรามีขนาดใหญ่ บางครั้งก็แทน Warscore ได้เยอะเสียจนไม่ต้องเสียอย่างอื่นเลย อย่างในกรณีของผู้เขียนมีรัฐใต้คุ้มครองที่มีขนาด 9 เมือง เมื่อรบแพ้ หากเลือกปล่อยรัฐนี้เป็นอิสระหรือ Annual Treaties ก็จะแทน Warscore ได้มากถึง 100 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว
Proclaim Guarantee รับรองอิสระภาพ
การรับรองอิสระภาพแก่รัฐใดๆนั้น จะทำให้เมื่อรัฐนั้นถูกโจมตีเมื่อไร เราจะถูกเรียกเข้าร่วมในสงครามกับรัฐอื่นๆที่เข้ามารุกรานทันที ใช้ประโยชน์หลักๆคล้ายกับ Protectorate ก็คือการันตีไว้ก่อน แล้วค่อยเอาไว้กินเองทีหลัง เพราะรัฐอื่นๆก็จะต้องเกรงว่าหากประกาศศึกกับรัฐนั้นแล้ว ก็จะต้องสู้ศึกกับเราด้วย นิยมใช้วิธีนี้เมื่อรัฐนั้นๆ และรัฐที่อยู่รอบๆรัฐนั้นมีอำนาจทางการทหารด้อยกว่าเรา รวมถึงเป็นการช่วยเพิ่มความคิดเห็นเชิงบวกของรัฐนั้นๆต่อเราด้วย 10 หน่วย
Send warning ข่มขู่
สำหรับในหัวข้อนี้ จะเป็นการบังคับให้รัฐนั้นๆไม่สามารถที่จะประกาศสงครามกับรัฐอื่นๆได้ นิยมใช้เพื่อป้องกันการขยายตัวของรัฐเพื่อนบ้านที่มีกำลังทางทหารด้อยกว่าเรา แต่แข็งแกร่งกว่ารัฐข้างเคียงอื่นๆ แต่ก็ทว่าการใช้การฑูตหัวข้อนี้ก็มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน หากว่ารัฐนั้นๆสามารถหาพันธมิตรขนาดใหญ่ได้ และลากรัฐใหญ่นั้นเข้าสู่สงครามด้วย ก็จะทำให้เราต้องเจอศึกหนักโดยไม่จำเป็น และหากปฏิเสธเข้าร่วมสงครามก็จะทำลายความไว้ใจระหว่างเรากับรัฐที่เรารับรองอิสระภาพอย่างมาก รวมถึงเสียค่าเกียรติยศ (Prestige) 25 เทียบเท่ากับการหักหลังพันธมิตร ดังนั้นต้องคิดดีๆก่อนใช้ด้วย
3.2.2.3 หัวข้อ Relation action
Improve Relation เจริญสัมพันธไมตรี
นับเป็นหัวข้อที่ใช้บ่อยที่สุดเลยก็ว่าได้ สำหรับการเจริญสัมพันธไมตรีกับรัฐอื่นๆนั้น จำเป็นอย่างยิ่งเพื่อต่อยอดสู่การทำการฑูตข้ออื่นๆไม่ว่าจะเป็น การขอเป็นพันธมิตร การขอเดินผ่านดินแดน การขอเข้าร่วมรบ ทุกๆอย่างที่จำเป็นต้องใช้ความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกันจำเป้นจะต้องพึ่งข้อนี้ทั้งหมด
หากว่าเมื่อใดก็ตามที่ท่านมีฑูตเหลืออยู่ก็ควรจะส่งไปรัฐต่างๆที่ท่านสนใจ ไม่ว่าจะเป็นรัฐคู่แข่ง รัฐพันธมิตร หรือแม้แต่รัฐศัตรูก็ตาม จะเป็นพื้นฐานสำหรับการดำเนินการทางการฑูตอื่นๆในอนาคตได้
Send insult หาเรื่อง -*-
แปลตรงตามตัวเลยนะครับ ก็คงประมาณว่าส่งฑูตไปพูดจาเละเทะต่อหน้ากษัตริย์ของอีกฝ่ายน่ะแหละ -*- เป็นการกระทำที่แทบไม่มีประโยชน์เอาเสียเลย นอกจากบางครั้งที่เรากับรัฐศัตรูดันมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมากจนเกินไป ทำให้เมื่อประกาศศึกจะเสียค่าความมั่นคงภายในได้ ก็ส่งฑูตไปทำลายสัมพันธ์ซะ ง่ายซะไม่มีเลย ฮา
3.2.2.4 Dynasties Action การกระทำที่เกี่ยวข้องกับราชวงศ์
Royal Marriage การแต่งงานข้ามราชวงศ์
การแต่งงานข้ามราชวงศ์นั้นเป็นระบบที่จะมีเฉพาะการปกครองแบบมีกษัตริย์เป็นประมุขเท่านั้น ไม่สามารถใช้กับระบบมหาชนรัฐได้ ยกเว้นแต่ Noble Republic ที่สามารถแต่งงานกับรัฐอื่นๆได้ มีผลดังต่อไปนี้
- เพิ่มความสัมพันธ์ที่มีต่อกันทั้ง 2 ฝ่ายทันที 25
- หากอีกฝ่ายเป็นคอมหรือ AI จะมีโอกาศน้อยมากที่จะโจมตีเราเพราะค่า Stability จะติดลบ
- ในกรณีที่ท่านโชคดีอาจจะทำให้ท่านได้เป็นกษัตริย์ของรัฐนั้นๆไปด้วย เมื่อวงศ์กษัตริย์ของรัฐที่ท่านแต่งงานด้วยสิ้นเชื้อสายลงไป (ซึ่งโอกาสเกิดยากมากแต่ถ้าได้ก็สุดยอด) จะทำให้เกิด Personal Union คือกษัตริย์ท่านจะปกครองอาณาจักรนั้นด้วย
- หากกษัตริย์ของท่านยังไม่มีผู้สืบทอดโดยชอบธรรม ก็จะมีโอกาสเสี่ยงจะถูก Personal Union กับรัฐอื่นๆ การรีบแต่งงานกับรัฐอื่นๆหลายๆรัฐจะช่วยเพิ่มโอกาศที่จะได้รัชทายาทต่อปีรัฐละ 5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งการแต่งงานนั้นจะส่งผลกระทบกับค่าโอกาสการได้รัชทายาทเพียง 5 รัฐแรก เท่านั้น ถึงเราจะมีการแต่งงานมากกว่า 5 รัฐ แต่ Modifier ที่เราจะได้รัชทายาทต่อปีก็จะยังเป็น 25 เปอร์เซ็นต์อยู่ดี
- เพิ่มค่าความมั่นคงในการครองบัลลังค์ต่อปี 0.05 ต่อการแต่งงานกับ 1 รัฐ
ถึงการแต่งงานข้ามราชวงศ์ดูเหมือนจะมีแต่ได้กับได้ แต่ทว่าอันที่จริงแล้วก็มีข้อเสียอยู่เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น หากเรากดยอมรับการแต่งงานกับรัฐขนาดเล็กๆใกล้บ้านไป แล้ววันหนึ่งเรารบกับศัตรูทุกๆคนจนหมดแล้ว แต่ไอ้เจ้ารัฐเล็กๆนี่เราก็จะไม่สามารถประกาศศึกใส่ได้ง่ายๆ สบายๆ เหมือนเช่นรัฐธรรมดาอื่นๆ เพราะการประกาศศึกกับรัฐเหล่านี้จะทำให้เราติดลบค่า Stability หรือไอ้เจ้าค่าความมั่นคงภายในทันที 1 หน่วย ซึ่งนั่นทำให้เราต้องมาเสียเวลา Boost ค่านี้ขึ้นมาใหม่ เปลืองค่า ADM ไปเสียเปล่าโดยไม่จำเป็นเลย นอกจากทุกๆรัฐที่เรายอมแต่งงานด้วยก็จะกินช่องการฑูต (ย้อนไปดูเรื่องช่องการฑูตได้ที่ข้อ 3.2.1.1 ครับ) 1 ช่องทันที และหากรัฐของเรามีขนาดใหญ่กว่ารัฐที่เราจะแต่งงานมากๆก็จะเสียค่าความมั่นคงในบัลลังค์ได้ถึง 5 หน่วยทีเดียว ดังนั้นการจะยอมรับการแต่งงานก็ต้องคิดให้ดีเสียก่อน
Claim Throne ชิงราชบัลลังค์
เป็นปุ่มสุดยอดอภิมหาเข้าใจยากที่สุดเท่าที่มีในเกมนี้ ไม่สามารถคาดเดาอะไรได้ทั้งสิ้นชัวร์ทั้งสิ้น แต่ที่ผมสรุปมาโดยคร่าวๆ ก็คงจะได้ประมาณนี้
รายละเอียดของระบบ Personal Union
การ Personal Union คือการที่กษัตริย์ 1 คน สามารถครองบัลลังค์ได้มากกว่า 1 อาณาจักร และหากกษัตริย์ในวงศ์นั้นๆ สามารถดำรงอยู่ซึ่ง Union ได้มากกว่า 50 ปี จะสามารถควบรวมอาณาจักรแบบเดียวกับ Vassal ได้
การจะได้ Union นั้นต้องแปลว่าตอนที่กษัตริย์คนสุดท้ายของวงศ์นั้นๆตายลงต้องไม่มีรัชทายาทโดยชอบธรรมหรือ Legal heir นั่นจะทำให้รัฐอื่นที่เกี่ยวพันกันทั้งทางด้านเขตแดน ราชวงศ์ หรือบางทีก็รัฐพันธมิตรของรัฐตัวเองก็ได้เข้าแทรกแซง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
สถานการณ์ตัวอย่าง 1 (Succession war แบบปกติ)
- รัฐ A มีค่า Prestige เป็น 20 รัฐ B และรัฐ C มีค่า Prestige 50 และ 60 ตามลำดับ อยู่ในกลุ่มศาสนาเดียวกัน
- กษัตริย์รัฐ A เสียชีวิตในขณะที่ไม่มีรัชทายาทโดยชอบธรรมหรือ No legal heir
- โดยปกติหากกษัตริย์ของรัฐ A ตายไปโดยไม่มีรัชทายาท ขุนนางของรัฐ A จะขึ้นเป็นกษัตริย์แบบสุ่มขึ้นมา แต่ในบางกรณี เช่น หาก รัฐ B กับ รัฐ C เป็นมหาอำนาจและมีรัฐ A ซึ่งเป็นรัฐขนาดกลางหรือบางทีก็มีขนาดไล่เลี่ยกัน(ขนาดไม่ค่อยสำคัญในระบบนี้เน้นสุ่มมากกว่า)เป็นเสมือนรัฐกันชนอยู่ หรือเป็นรัฐเพื่อนบ้านธรรมดา ตรงนี้นั้นมักจะสุ่มเอา
-จะเกิดเป็นสงครามแย่งชิงบัลลังค์กันระหว่างรัฐ B และรัฐ C โดยฝ่ายที่มีค่า Prestige มากกว่าจะได้ Union กับรัฐ A ไปก่อน เท่ากับหากรัฐ C มีค่า Prestige มากกว่ารัฐ B ในขณะที่กษัตริย์รัฐ A ตายไป รัฐ C จะได้ Union กับรัฐ A ไปก่อน ซึ่งในกรณีนี้หากรัฐ B ซึ่งก็มีสิทธิ์ในบัลลังค์เหมือนกัน หวังจะได้ Union กับรัฐ A ก็จะต้องต่อสู้กับรัฐ A และ C ทั้งสองรัฐ โดยจะต้องพยายามยึดเมืองหลวงของรัฐ A อันเป็นเป้าหายหลักของสงคราม รวมถึงจะต้องทำ Warscore ให้ได้มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นหากทหาร(รัฐ B)ไม่เข้มแข็งพอจะสู้กับทหารรวมสองรัฐในกรณีที่ท่านเล่นเป้นรัฐนั้น หรือแมนพาวเวอร์ต่ำกว่าห้าหมื่น ก็ไม่ควรที่จะรบ เพราะมันจะมีตัวเลือกถามรัฐ B ก่อนว่าจะรบหรือไม่
สถานการณ์ตัวอย่าง 2 (Succession war ประกอบกับปุ่ม Claim throne)
- รัฐ A มีค่า Prestige 50 และกษัตริย์มีอายุ 65 หรือมากกว่า แต่งงานกับรัฐ B , C , D และ E โดยมีค่า Prestige 50 , 60 , 70 และ 80 ตามลำดับ สมมติเราเป็นรัฐ C
- ในกรณีที่ทุกๆรัฐนั้นต่างถูกรัฐ A ซึ่งไม่มีทายาทแถมกษัตริย์ยังแก่หง่อมซะแบบนี้ แน่นอนแทบทุกรัฐจะยอมรับการแต่งงานทันที และก็หวังว่าคนจากตระกูลตนเองจะขึ้นเป็นกษัตริย์ของรัฐนั้นๆ
**ในกรณีที่เป็นศาสนาอิสลามนิกายซุนนี่ จะทำ Union ได้ยาก เพราะมี Modifier ที่เพิ่มโอกาสได้รัชทายาท 100 เปอร์เซ็นต์ต่อปี หมายความว่าใน 12 เดือนจะต้องเกิดอีเวนท์ให้รัฐนั้นๆ สามารถได้รัชทายาทที่มีค่า Claim เป็น weak ขึ้นมา 1 ครั้งหรืือมากกว่าเล็กน้อยเสมอ ซึ่งนั่นก็แล้วแต่ว่าผู้เล่นหรือ AI ที่คุมจะยอมรับรัชทายาทนั้นๆหรือไม่
- รัฐ A มีกษัตริย์อายุ 60 ปีขึ้นไป ไม่มีรัชทายาท รัฐ B , C แต่งอยู่เช่นเดียวกัน
สถานการณ์ตัวอย่างที่ 5 (กินเมืองเขาไปเลย -*-)
- รัฐ A เป็นรัฐที่พบกับการชิงอำนาจบ่อยกันภายในครั้งมาก เปลี่ยนกษัตริย์บ่อยจนมี Legitimacy ต่ำสุดๆ
- หากค่า Legitimacy ยังต่ำเรี่ยดินอยู่ คือไม่เกิน 10 นั่นแหละ และกษัตริย์คนนั้นดันเสียชีวิตลงโดยไม่มีทายาทและค่า Legitimacy ยังไม่ฟื้น รัฐที่แต่งงานด้วยมีสิทธิ์ควบรวบดินแดนไปในทันทีแบบงงๆได้
- เกิดได้ง่ายในกรณีที่อีกฝ่ายเป็น Horde หรือกลุ่มเทคโนโลยีมองโกล เพราะเปลี่ยนกษัตริย์บ่อยที่สุดแต่ก็พบในกลุ่มเทคโนโลยีอื่นได้เช่นกันแต่น้อยมาก
Covert action การกระทำอย่างลับๆด้านการฑูต
สำหรับในหัวข้อ Covert action ทั้งหมดนั้นจะปลดล๊อกได้ในไอเดียสายบริหาร (ADM) หัวข้อ Espionage Idea นะครับ สำหรับใครที่ชอบเล่นแนวส่งสปายไปก่อกวนชาวบ้านรัฐอื่นๆ แล้วปลดไอเดียกลุ่มนี้ถึงจะมีให้ใช้กันครบ นอกเหนือจากสองอันที่ได้จากเทคโนโลยี ADM เอง คือ Fabricate Claim และ Support Rebel
**หมายเหตุ ในหัวข้อนี้นอกจาก Support Rebel และ Fabricate Claim จะไม่มีไอเดียไหนที่จะได้มาจากเทคโนโลยี แต่จะได้จากการปลดล๊อกไอเดียสาย Espionage ในหัวข้อไอเดีย (ในหัวข้อ...) โดยส่วนัวแล้วเห็นว่าไม่จำเป็นเลย แต่หากใครชอบเล่นแนวชอบทำอะไรลับๆก็ลองศึกษาดูครับ
Fabricate Claim อ้างสิทธิ์เหนือดินแดน
เป็นหัวข้อทางการฑูตหลักที่ทำให้สามารถขยายดินแดนได้ โดยมีรายละเอียดทำให้ได้ Casus belli หรือเหตุแห่งสงครามสำหรับประกาศศึกใส่รัฐข้างเคียงที่มีดินแดนต่อกันมีรายละเอียดดังนี้
Conquest // สำหรับเหตุแห่งสงครามอันแรกนี้เป็นอันที่ใช้กันมากที่สุด การจะขยายอาณาจักรก็จะใช้ข้อนี้เป็นสำคัญ เพราะทำได้ง่ายและใช้ได้กับทุกรัฐที่มีชายแดนติดกับเรา เป็นการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนนั้น เงื่อนไขในการได้เหตุแห่งสงครรามนี้ได้แก่
1. มีเมือง Core ของเราติดกับเมือง Core ฝ่ายตรงข้าม ติดในที่นี้ยังรวมถึงอยู่ในเขตทะเลเดียวกันเช่น เมืองลิกอร์หรือประจวบในปัจจุบัน อยู่ไม่ได้ติดกับเมืองระยองเพราะมีอยุธยากั้นอยู่ แต่แชร์แบ่งเขตอ่าวไทยด้วยกันก็ สามารถทำได้
2. เมื่อมีเงื่อนไขในข้อ 1 แล้ว ก็ให้เปิดหน้าต่างการฑูตกับรัฐนั้นๆ แล้วไปที่ Covert action แล้วจึงเลือก Fabricate Claim
3. รอเวลาจนครบ 1 ปีก็จะได้เหตุแห่งสงครามอันนี้มา และสามารถประกาศสงครามได้
สำหรับ Conquest casus belli เป้าหมายหลักของผู้ประกาศสงครามหรือฝ่ายรุกก็คือยึดเมืองที่ตัวเองอ้างสิทธิ์ให้ได้ไวที่สุด และทำ Warscore โดยการยึดเมืองของฝ่ายรับให้เยอะที่สุด ส่วนฝ่ายป้องกันก็เพียงแค่ป้องกันเมืองนั้นเอาไว้เป็นสำคัญ และหากเป็นไปได้ก็ปกป้องเมืองอื่นๆให้ถูกยึดช้าที่สุด เพียงป้องกันให้สภาพกลายเป็นทำอะไรกันไม่ได้ จะทำให้คะแนนสงครามหรือ Warscore ของฝ่ายป้องกันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และฝ่ายรุกจะแพ้ไปเอง
แน่นอนว่าหากฑูตของท่านเมื่อส่งไปแล้วถูกจับได้ ก็จะทำให้ความสัมพันธ์ของรัฐใกล้เคียงจะติดลบเล็กน้อย (-10 Aggressive expansion) ซึ่งไม่มีผลอะไรนักเพราะจะติดลบไม่มาก แปปๆก็ดีกันได้ ตามปกติหากฑูตท่านว่างๆ ก็ส่งไป Claim รัฐรอบๆให้หมดเป็นวิธีที่มีประโยชน์มาก เพราะหากรัฐเพื่อนบ้านเราอ่อนแอลงเมื่อไรเราจะสามารถประกาศศึกได้ทันที วิธีนี้ใช้ได้กับรัฐพันธมิตรที่ไม่ได้แต่งงานกันอีกด้วย
Support rebel ส่งเงินสนับสนุนกบฎในรัฐอื่นๆ
ตามปกติแล้วหลายๆคนอาจจะงงว่าไอตัวนี้ทำไปจะได้อะไร ไม่เห็นจะมีอะไรดีเลย เสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา แต่อันที่จริงแล้วมีประโยชน์มาก หากว่ารัฐเพื่อนบ้านประสบปัญหา Stability ต่ำ เกิด Peasant war หรือ Civil war มีประโยชน์หลักๆดังนี้
- ในกรณีที่รัฐของท่านมีเงินเหลือ การสนับสนุนกบฎในรัฐเพื่อนบ้านจะทำให้รัฐเพื่อนบ้านอ่อนแอลงเพราะการเกิดกบฎบ่อยๆ ทำให้ต้องเอาทหารมาไล่ปราบทำให้ง่ายต่อการจัดการเพราะทหารศัตรูมักไม่ประจำอยู่ตามเมืองยุทธศาสตร์ตามชายแดน
- หากรัฐเป้าหมายเกิด Peasant war หรืออีเวนท์ลดค่าความสงบสุขอย่าง Civil war , Succession crisis และอีเวนท์เปลี่ยนศาสนาทั้ง Protestant หรือ Reform การสนับสนุนกบฎในเวลาแบบนี้ อาจทำให้เกิดรัฐขนาดเล็กใหม่ๆมากมาย(เมื่อกบฎยึดเมืองใดๆได้นานกว่า 2 ปี หรือกบฎสามารถยึดเมืองได้รวมแล้วมากกว่าครึ่งหนึ่งของจังหวัดทั้งหมด) จะง่ายต่อการโจมตีมากกว่าสู้กับรัฐขนาดใหญ่หลายเท่า รวมถึงกบฎที่ท่านสนับสนุนมาอาจกลายเป็นเมืองขึ้นหรือพันธมิตรของท่านเลยก็ได้
- หากท่านกำลังคิดจะประกาศศึกกับรัฐที่มีกบฎเกิดอยู่เยอะๆ การสนับสนุนกบฎใดๆด้วยจำนวนเงินน้อยนิด ก็จะทำให้กบฎนั้นๆกลายมาเป็นมิตรกับท่าน และจะไม่โจมตีทัพท่านเหมือนกบฎโดยทั่วไป
ทั้งนี้ทั้งนั้นกบฎที่สามารถยึดเมืองได้มากๆแล้ว จนไม่ต้องพึ่งคนอื่นก็จะไม่สามารถสนับสนุนได้ และยังรวมถึงกบฎขุนนาง และกบฎผู้อ้างสิทธิ์เหนือบัลลังค์ (Pretender rebel) ที่ไม่สามารถสนับสนุนได้เช่นกัน
Infiltrate Administration สอดแนมการบริหาร
ตามปกติแล้วประเทศอื่นๆทีไม่ได้อยู่ติดชายแดนของท่านหรือมีทัพของพันธมิตรเดินผ่าน ก็จะมองเห็นเป็นหมอกบังอยู่ทั้งหมด จะไม่สามารถมองเห็นได้ว่าทัพของศัตรูนั้นตั้งอยู่ที่ไหนของแผนที่ แต่หากเราส่งฑูตไปทำงานนี้เมื่อไร หมอกเหล่านั้นจะหายไปทันที ทำให้เราสามารถรู้ได้ว่าเกิดอะไรขึ้นในเขตแดนของรัฐนั้นๆ ไม่ว่าจะเป้นที่ตั้งของกองทัพ การเกิดกบฎ การเคลื่อนที่ของกองทัพ ของรัฐนั้นๆ
สำหรับการกระทำในหัวข้อนี้ หากฑูตถูกพบเจอก็จะทำให้ถูกส่งตัวกลับทันทีและหมอกจะกลับมาอีกครั้ง และยังส่งผลกระทบด้านลบในความสัมพันธ์อย่างมากระหว่างท่านและรัฐเป้าหมายที่ท่านกระทำการอีกด้วย
Sow Discontent สร้างความปั่นป่วนภายใน
สำหรับในข้อนี้จะเป็นการส่งฑูตไปยุยงประชาชนในรัฐเป้าหมายให้ก่อกบฎโดยการเพิ่ม Revolt risk ในรัฐเป้าหมาย และทำให้รัฐเป้าหมายต้องใช้ค่า ADM ในการเพิ่มค่า Stability หรือค่าความมั่นคงภายในนั้นมากขึ้น
โดยส่วนตัวยังไม่เคยใช้เจ้าตัวนี้เลย แถมในเว็บก็ไม่บอกข้อมูลไว้ละเอียดเท่าไร แต่เชื่อว่าถึงเวลาเล่นจริงๆคงไม่ค่อยมีคนใช้ เพราะอันที่จริงแค่ Support Rebel เป้าหมายก็เละพออยู่แล้ว ยิ่งกว่าจะได้ปลดล๊อกไอเดียนี้ได้อีกคงก็ปาเข้าไปกลางเกมเพราะคงไม่มีใครเลือกไอเดียนี้สายแลกแน่ๆ ซึ่งตอนกลางเกมทุกๆคนก็คงพอจะมีเงินสนับสนุนกบฎกันมากพอโดยไม่ต้องพึ่งเจ้าการฑูตหัวข้อนี้
Sabotage Reputation สร้างความร้าวฉานทางการฑูต
หลายๆคนพอเริ่มเล่นเกมนี้ไปได้ซักพัก พอลองเช็คการฑูตดูก็พบว่าความสัมพันธ์ของตัวเองกับรัฐอื่นๆลดฮวบๆแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว เมื่อเอาเมาส์วางเพื่อจะดู Factor ต่างๆก็จะสามารถพบกับเจ้า -50 Sow discontent นี่คือผลของเจ้าการกระทำตัวนี้ นั่นคือลดความสัมพันธ์ของท่านกับรัฐเพื่อนบ้าน รัฐที่ตั้งเราเป็นอริ หรือที่เราเองตั้งเป็นอริก็ด้วย ทำให้เราทำการฑูตยากกว่าปกติเยอะมากโดยเฉพาะเรื่องการขอเป็นพันธมิตร ยื่นเมืองขึ้น และยังทำให้ค่า Aggressive Expansion หรือพวกค่าความไม่ไว้ใจทั้งหลายแหล่กลับมาดีกับรัฐอื่นๆช้าลงมากเช่นกัน
สำหรับเจ้าไอเดียตัวนี้ โดยส่วนตัวเห็นว่าไม่มีประโยชน์เอาซะเลยสำหรัับคนเล่นจริงๆ โดยเฉพาะเวลาเล่นคนเดียวที่เราไม่เคยรู้ว่าไอรัฐที่เราส่งฑูตไปทำมันส่งผลอะไรกับมันบ้าง หรือต่อให้เป็นมัลติเพลเยอร์เราก็ไม่รู้อยู่ดีว่าพอทำไปแล้วเขาเสียอะไรมากแค่ไหน แถมยังต้องเสียฑูตที่จะส่งไปภารกิจ 1 อื่นๆได้คนแบบยาวๆ ตราบเท่าที่มันยังไม่ส่งตัวกลับมาและกว่าจะกลับมาบางทีก็ช้าเกินโอกาสเสียแล้ว ดังน้นโดยส่วนตัวไม่ค่อยเห็นประโยชน์ของมันซักเท่าไร นอกจากทำใหู้้เล่นมัลติคนอื่นหัวเสียเล่นเท่านั้นเอง
Access action การขอผ่านดินแดน
ประกอบไปด้วย 4 หัวข้อย่อย อันได้แก่
Ask for military access ขอเดินผ่านแดน
การขอเดินผ่านแดนของรัฐอื่นๆ ซึ่งโดยปกติจะใช้ในยามสงครามที่ต้องเดินผ่านดินแดนของรัฐอื่นๆที่ไม่ได้เข้าร่วมสงคราม ตามปกติหากไม่ใช่อริของกันและกัน และไม่ได้มีความคิดเห็นติดลบกันเยอะๆ ทุกๆรัฐก็จะยอมอยู่แล้วครับ
Ask for fleet basin right ขอจอดเรือในเมืองท่า
ก็แปลตรงตัวเลยครับ สำหรับในหัวข้อนี้ ใช้สำหรับในกรณีที่ท่านอยากจะล่าอาณานิคมในเขตที่ท่านไปไม่ถึง หรือจำเป็นต้องเดินเรือไปในน่านน้ำไกลๆ หรือบางทีก็อาจเป็นการส่งพ่อค้าไปสร้างโครงข่ายในเขตการค้าไกลๆ (Trade steering) โดยจะทำให้เรือท่านได้รับเสบียงในเขตน่านน้ำทำให้ไม่พบ Attrition หรือการสูญเสียกองกำลัง และยังสามารถซ่อมเรือได้โดยการเอาเรือไปจอดของรัฐนั้นๆ โดยปกติแล้วเราจะต้องจ่ายเงินเริ่มต้นให้รัฐที่เราขอจอดเรือ 2 Ducat ในการขอจอดทุกๆเดือน และหากรัฐนั้นๆยึดเมืองได้เพิ่มเราก็จะเสียมากขึ้น
สำหรับการขอจอดเรือนั้นจะต่างกันกับการขอเดินผ่านแดนค่อนข้างมาก เพราะจะต้องใช้ความไว้วางใจสูงกว่าเยอะทีเดียว การส่งฑูตไปกระชับความสัมพันธ์เยอะๆเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นหากท่านคิดว่าอาจจำเป็นต้องใช้ในอนาคต ก็ให้ส่งฑูตไปเสียเนิ่นๆไม่สามารถรอช้าแบบขอเดินผ่านแดนได้ แต่หากเป็นพันธมิตรกันก้มักจะยอมอยู่แล้วโดยปกติ
Offer fleet basin right
ก็ง่ายๆครับ อณุญาตให้รัฐอื่นๆมาจอดเรือในท่าของเราได้ ซึ่งร้อยทั้งร้อยแล้ว AI มันไม่เคยยอมครับ ส่วนในมัลติเพลเยอร์ผมก็ว่าไม่มีประโยชน์เท่าไร มีกรณีเดียวที่คนส่วนใหญ่ขอกัน ก็คือเขาจะมาสร้างอาณานิคมในเขตใกล้บ้านเรา ฉะนั้นอย่าไปยอมครับ ถ้ามีดินแดนที่คุณกำลังบุกเบิก เขาก็จะสามารถบุกเบิกแข่งกับคุณ ถ้าคุณยังไม่บุกเบิกเลยเขาก็จะแย่งเอาไปหมด หรือแม้แต่เนียนๆมาตีเมืองข้างๆท่านก็มีด้วยเช่นกัน ก่อนจะยอมก็ต้องดูเป้าหมายเขาให้ดี
Offer military access
การยื่นข้อเสนอให้รัฐอื่นๆเดินผ่านแดนของเราได้ มักจะใช้ในกรณีที่เรายึดจุดยุทธศาสตร์อย่างล้อมบางเมืองของรัฐนั้นๆไว้ แล้วเมืองนั้นเกิดกบฎ หรือว่ารัฐของเรามีอาณาเขตที่ถ้าเขาเดินผ่านได้จะทำให้เขาเดินทางไปรบศัตรูได้ง่ายขึ้น มีประโยชน์เมื่อรัฐนั้นๆเป็นภัยกับเรา(ทหารเยอะกว่า ทหารดีกว่า บลาๆ) เพราะระหว่างที่ AI ยังเดินผ่านแดนเราอยู่ จะไม่สามารถประกาศศึกใส่เราได้ ทำให้เรามั่นใจได้ว่าระหว่างนั้นจะไม่โดนเขาบุกแน่นอน
3.3 แถบเศรฐกิจ
** ที่เป็นตัวเลขอยู่ในวงเล็บก่อนหน้ารายได้ในแต่ละหัวข้อต่อไปนี้ คือตัวแปล (Modifier )ของแต่ละค่านะครับ
- การเก็บภาษีหรือ Taxation จะมีตัวแปลหลักคือค่า Stability ยิ่งมีสูงมากก็ยิ่งมีส่วนเพิ่มมาก คือถ้าเป็น +3 ก็จะบวกจากรายได้ภาษีปกติถึง 30 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าติดลบก็จะได้น้อยลงกว่าที่ควรจะได้เช่นกัน
- รายได้จากสินค้าหรือ Production มีตัวแปลหลักคือเทคโนโลยีสายบริหาร ยิ่งเทคโนโลยีสูงขึ้นรายได้ก็ยิ่งมีมากขึ้นเช่นเดียวกันจนถึง 100 เปอร์เซ็นต์ที่ขั้น 32
- รายได้จากการค้าหรือ Trade ตัวแปลหลักคือเทคโนโลยีสายการฑูตส่งผลเหมือนกับรายได้จากสินค้าจากเทคโนโลยีการบริหาร
- รายได้จากทองคำหรือ Gold เจ้าตัวนี้จะเป็นรายได้เสริมให้กับรัฐของท่านอย่างดี โดยเมืองที่มีทองคำนั้น 1 เมืองจะสร้างรายได้ทันทีประมาณ 3-4 Ducat แบบไม่ต้องเหนื่อยหาใดๆทั้งสิ้น โดยหากอยากรู้ว่าเมืองใดในโลกมีบ้างแนะนำให้ลองเล่นเกมในช่วง 1820 แล้วเปิดแผนที่ Trade good ครับ
- รายได้จากอาณานิคมหรือ Tariff ในกรณีที่เราไปสร้างอาณานิคมในทวีปอเมริกาจะเกิดเป็นรัฐอาณานิคมขึ้น ยิ่งอาณานิคมใหญ่เท่าไร เงินนี้ก็จะได้กลับมามาก
- บรรณาการจากเมืองขึ้นหรือ Vassal ในกรณีที่เรามีเมืองขึ้นอยู่ ทุกๆเดือนเมืองขึ้นเหล่านั้นจะต้องส่งเงินให้เราเป้น 50 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ทั้งหมดของรัฐนั้นๆ
- ค่าธรรมเนียมการจอดเทียบท่าหรือ Harbor Fees ในกรณีมีรัฐอื่นๆขอจอดเรือในท่าของเราก็จะได้เงินจำนวนนี้
- เงินสนับสนุนหรือ subsidizing คือเงินที่รัฐอื่นๆส่งให้เราเพื่อช่วยเหลือทุกๆเดือน มักจะเกิดในกรณีที่มีประโยชน์ร่วมกัน เช่นต้าหมิงให้เงินสนับสนุนแมนจูเพื่อต่อต้านการขยายอำนาจของมองโกลเป็นต้น
3.3.2 รายจ่ายรวมต่อเดือน (Expense)
ในส่วนนี้จะแสดงรายระเอียดของรายจ่ายของเราทั้งหมดภายในระยะเวลา 1 เดือน โดยมี 4 ตัวด้านล่างที่สามารถปรับได้เป็น รายจ่ายสำหรับทัพบก รายจ่ายสำหรับทัพเรือ รายจ่ายสำหรับการทำงานของนักบวช และรายจ่ายสำหรับการสร้างอาณานิคม โดย 4 ข้อที่กล่าวมาจะสามารถปรับลดได้ตามความเหมาะสม แต่ก็จะลดความสามารถในด้านนั้นๆลงตามสัดส่วนที่ตัดไป แต่สำหรับกองทัพบกไม่ควรลดลงเกิน 75 เปอร์เซ็นต์เพื่อให้สามารถรับมือเหตุไม่คาดคิดทันท่วงทีอยู่เสมอ
3.3.3 ภาวะเงินเฟ้อ (Inflation)
ภาวะเงินเฟ้อนั้นมีสาเหตุหลักๆ 2 อย่างอันได้แก่
- อีเวนท์ Technology Advanced ทั้งหลายแหล่ ที่ถ้าเราเลือก +50 Monarch point ในแต่ละข้อก็จะเพิ่มเงินเฟ้อทันที 0.50 หน่วย
- การมีทรัพยากรทองในหลายๆจังหวัดถึงจะเพิ่มรายได้อย่างดีก็จริงแต่ทว่า ก็จะเพิ่มอัตราการพุ่งขึ้นของเงินเฟ้ออย่างมาก
ภาวะเงินเฟ้อจะทำให้การลงทุนทางการเงินในทุกๆด้านของเรา ไม่ว่าจะเป็นการออกทหารใหม่ การสร้างสิ่งก่อสร้าง หรือแม้แต่ค่าจ้างของที่ปรึกษา สิ่งเหล่านี้จะแพงขึ้นเรื่อยๆยิ่งปล่อยไว้นานก็จะยิ่งแพงหนักกว่าเก่า โดยปกติไม่ควรปล่อยให้เกิน 5-6 ควรจะลดตอนยังเป็น 4 ด้วยซ้ำหากมีค่า ADM เพียงพอ แต่ไม่ควรมากกว่า 6 เด็ดขาดไม่อย่างนั้นอาจทำเป็นปัญหาเรื้อรังเพราะการลด 2 หน่วยก็กินค่า ADM ไป 75 แล้ว หากปล่อยนานๆ อาจจะทำให้การกลับมาลดยุ่งยากและกระทบกับเทคโนโลยีอีกด้วย
**หากเรามีเงินเฟ้อต่ำกว่า 0 เปอร์เซ็นต์ และมีที่ปรึกษาด้านการบริหารคัว Master of mint จะมี National Decision หัวข้อ Implement the gold standard ที่จะลดเงินเฟ้อลงได้อย่างมาก (-0.04 ต่อปี) หากมีเงื่อนไขครบเมื่อไรควรจะออกทันที
3.3.4 ค่าภาษีมาตรฐาน (Basetax) / เก็บภาษีสงคราม (Raise war taxes)
สำหรับหัวข้อเล็กๆที่เป็นตัวเลขในภาพด้านบนคือค่าภาษีมาตรฐานที่เคยพูดถึงเอาไว้ โดยในที่นี้จะสามารถดูค่าภาษีมาตรฐานรวมของรัฐท่านได้โดยไม่ต้องนั่งนับ
**อันนี้เสริมเฉยๆนะครับ ค่าปัจจัยของภาษีมาตรฐาน เป็นปัจจัยสำคญยิ่งในการยื่นข้อเสนอรัฐอื่นๆมาเป็นเมืองขึ้นเรา โดยค่านี้จะบวกหรือลบได้เป็น +30 จนถึง -90 เลยทีเดียว จึงเป็นปัจจัยสำคัญว่ารัฐนั้นๆจะยอมมาอยู่ใต้บังคับเราหรือไม่ สูตรในการคำนวณคือ 60 คูณค่าภาษีมาตรฐานของเรา หารด้วย ภาษีมาตรฐานรัฐนั้นๆยกกำลัง 2 ถ้าผลออกมาแล้วต่ำกว่าศูนย์มากเท่าไรโอกาสจะติดลบมากเท่านั้น แต่หากเป็น 1 จะเท่ากับ 0 หรือไม่ส่งผล หากมากกว่า 1 ก็จะบวกตามลำดับไป
Raise war taxes คือการประกาศขึ้นภาษีสงคราม จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อเราอยู่ในภาวะสงครามกับรัฐใดๆอยู่ ถึงจะเป็นสมาชิกรองๆในสงครามก็สามารถเรียกภาษีตัวนี้ได้ โดยใช้ 50 MIL ในการออกภาษี โดยจะมีผลดังนี้
- ลดค่าใช้จ่ายในการดูแลทหารลง 20 เปอร์เซ็นต์
- ลดค่าใช้จ่ายในการดูแลกองเรือลง 20 เปอร์เซ็นต์
- มีระยะเวลา 2 ปี ต้องพ้น 2 ปีจึงจะสามารถเรียกใหม่ได้
สำหรับการออกภาษีสงครามในช่วงที่รัฐท่านยังมีขนาดเล็ก(Base tax ต่ำกว่า 40)จะค่อนข้างจำเป็นมาก และไม่ค่อยมีผลกระทบเท่าไรเป็นการพยุงเศรฐกิจในระดับหนึ่ง การเสีย 50 MIL ไม่ค่อยมีผลกระทบเท่าไร เพราะเน้นการมีทหารมากกว่าก็เพียงพอ แต่หากเล่นเป็นรัฐที่มีขนาดใหญ่และมีเป้าหมายในการพิชิตรัฐขนาดใหญ่อื่นๆคิดว่าไม่จำเป็นนัก เพราะจะต้องแข่งขันกันในเชิงเทคโนโลยีมากกว่า ข้อแตกต่างของ 50 MIL มีมาก และอาจทำให้โดนรัฐมหาอำนาจอื่นๆรุมยำได้
3.3.5 การกู้เงิน (Loan)
ก็ไม่มีอะไรมากครับสำหรับหัวข้อนี้ ถ้าในกรณีที่ท่านเป็นรัฐขนาดเล็กถึงกลางและทำสงครามกับรัฐขนาดใกล้เคียงกัน อาจจำเป็นต้องใช้ทหารจำนวนมากกว่าศัตรูเพื่อเอาชนะขั้นเด็ดขาด การกู้เงินก็เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำอย่างนั้น แต่แน่นอนเมื่อกู้ก็ต้องมีดอกเบี้ยเป็นปกติ โดยจะอยู่ที่ 3 เปอร์เซ็นต์เป็นเบื้องค้น มีระยะการจ่ายคืน 5 ปี ซึ่งจากประสบการณ์ของผม ไม่ควรกู้เกินกว่า 3-5 ครั้ง เพราะถึงแม้ว่าถ้าไม่มีเงินจ่ายตามกำหนดมันก็เลื่อนให้ แต่นันก็หมายถึงดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน และแน่นอนหากท่านยืมมากไปจนถึง Limit ของรัฐท่านและเงินยังไม่พออีกก็จะทำให้ล้มละลาย (Bankrupt) ซึ่งมีผลดังนี้
- เพิ่มความเสี่ยงการเกิดกบฎ 3 หน่วย
- เพิ่มอัตราดอกเบี้ยของเงินทุกก้อนที่เคยยืมไป 10 เปอร์เซ็นต์
- ลดกำลังใจทหาร 100 เปอร์เซ็นต์
- ลดกำลังใจทัพเรือ 100 เปอร์เซ็นต์
- ระยะเวลาในการส่งทหารกองหนุนไปแนวหน้า (Reinforce speed) เพิ่มขึ้น 25 เปอร์เซ็นต์
- ความเร็วในการฟื้นกองกำลังสำรอง (Manpower recovery speed) ลดลง 100 เปอร์เซ็นต์
- ค่าจ้างที่ปรึกษาเพิ่มขึ้น 100 เปอร์เซ็นต์
ปล.เอาเป็นว่าคิดดีๆก่อนกู้ก็แล้วกันนะครับ โดนล้มละลายนี่ไม่สนุกแน่ๆ -*-
3.4 การค้า (Trade)
ก่อนอื่นก็คงต้องแปลความหมายของศัพท์ 5 คำให้เข้าใจก่อนนะครับ ไม่งั้นขืนอธิบายวิธีเลยคงจะมึนกันเปล่าๆ
- Trade Efficiency ประสิทธิภาพในการค้าขาย จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆยิ่งเทคโนโลยีสายการฑูตสูงขึ้น จนถึง 100 เปอร์เซ็นต์ตอนก่อนจบเกม ตัวนี้จะเป็นหัวหลักในการวัดว่ารายได้ที่เราจะได้จากการค้านั้นจะคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของที่ตอนจบเกมจะได้ (เทค DIP ระดับ 32 )
- Trade Range ระยะทางที่พ่อค้าของเราสามารถไปทำการค้าได้ โดยยึดจากระยะห่างของเขตการค้านั้นๆ กับเมืองท่าที่อยู่ใกล้ที่สุดของเรา หากไกลเกินกว่าระยะก็จะไม่สามารถส่งพ่อค้าไปทำอะไรได้ แต่หากอยากส่งไปจริงๆ ก็ต้องขอรัฐใดๆรัฐหนึ่งที่อยู่ในเขตการค้าหรือใกล้เขตการค้านั้นๆเพื่อ Fleet basin right ( กลับไปดูในข้อ 3.2.2 หัวข้อการกระทำทางการฑูต หัวข้อย่อยใน Access action)
- Trade steering ความสามารถในการสร้างโครงข่ายการค้า ได้มาจาก Navy tradition ล้วนๆ ยิ่งเรือรบของเรารบมากเท่าไร หรือยิ่งเราส่งเรือ Light ship หรือเรือใหญ่อันดับ 2 ไปคุ้มกันทางการค้ามากเท่าไรก็ยิ่งเพิ่มค่านี้ให้มีมากขึ้น และทำให้เราได้เปรียบทางการค้ากว่ารัฐอื่นๆ ซึ่งจะอธิบายต่อไป
- Trade income รายได้จากการค้า ค่านี้จะมีผลเกี่ยวเนื่องมาจาก Trade efficiency แต่ว่าจะมีตัวแปรจำพวกอีเวนท์มาเสริมหรือลดจากที่ Trade efficiency มีอยู่เดิมแล้วในที่นี้อีเวนท์จะบวกเพิ่มไป 10 เปอร์เซ็นต์
- Mercantile ความเป็นพ่อค้าของรัฐของเรา ยิ่งมีมากขึ้น อำนาจทางการค้าที่จะได้จากจังหวัดภาคพื้นดินในเขตการค้านั้นๆ ก็จะเพิ่มขึ้นคูณด้วย 2 จากเจ้าค่านี้ที่เรามี ส่วนมากได้จากอีเวนท์และบางรั้งก็ National Decision บางอย่าง
**ข้อพิเศษ ข้อมูลเชิงลึกทางการค้า
ดังที่ได้เห็นมาแล้วการค้าในเกมนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหลายตัวแปรมาก แต่โดยหลักที่เราจะต้องใส่ใจมากที่สุดก็คือการที่พ่อค้าของเราสามารถสร้างโครงข่ายของการค้าได้ดีแค่ไหน สามารถรวมรายไ้ด้มาเท่าไร โดยจะสามารถแยกย่อยอธิบายเป็นแบบถาม-ตอบได้หลายหัวข้อดังนี้
1.การค้าในเกมนี้คืออะไร ?
การค้าในเกมนี้นััน คือกระแสของเงินที่เกิดจากโครงสร้างการผลิตสินค้าในเขตการค้าต่างๆ โดยเงินที่เกิดจากกระบวนการนี้จะมีการหมุนเวียนไปเรื่อยๆ จากเขตหนึ่งสู่อีกเขตหนึ่ง โดยจะถูกรัฐต่างๆพยายามกันไม่ให้ไหลต่อภายในเขตการค้าที่รัฐตัวเองมีอำนาจ จนส่วนที่เหลือและไม่ถูกเก็บ จะไปหยุดที่ 2 เมืองได้แก่เวนิซ (Venice) และ แอนต์เวิร์ป (Antwerpen) โดยเงินที่เหลือจากการค้าที่ผ่านมาจะไปตกอยู่ที่ 2 เมืองนี้เป็นจุดสุดท้ายเสมอ
2.การค้าทำเงินได้อย่างไร ?
หากรัฐเราเป็นรัฐที่มีอำนาจทางการค้าในเขตไหนๆมาก ก็จะสามารถเพิ่มกระบวนการการผลิตในเขตนั้นๆได้ โดยการสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆ และยังรวมถึงหากมีส่วนแบ่งในหลายโซนการค้า ก็สามารถกำหนดทิศทางการไหลของเงินเข้าสู่เมืองของตนเองได้มากกว่าการมีส่วนแบ่งในเขตเดียว และเมื่อสามารถกำหนดการไหลของเงินได้ก็จะรวมเข้าสู่เขตเมืองสำคัญเพื่อให้พ่อค้าเก็บรวมรวมเงินให้มากที่สุดต่อไป
3.เอเยนต์พ่อค้ามีประโยชน์อะไรล่ะ ?
อย่างที่บอกในคำถามก่อนหน้าว่าเราสามารถ 1. กำหนดทิศทางการไหลของเงิน 2. ใช้พ่อค้าเก็บเงินจากเมืองสำคัญๆ // ดังนั้นพ่อค้าก็มีหน้าที่ในการที่จะใช้เพื่อประโยชน์ 2 อย่างข้างต้นซึ่งมีคำสั่งในเกมดังต่อไปนี้
- Collect from Trade คือการให้พ่อค้าของเราไปเก็บเงินที่อยู่ในเขตการค้านั้นๆและยังไม่ได้ไหลออก นิยมใช้กับเฉพาะเขตการค้าที่เราครอบครองอาณาเขตในนั้นมาก หรือมีส่วนแบ่งทางการค้ามากกว่าครึ่งหนึ่งของทั้งหมด
- Transfer Trade Power (การถ่ายโอนอำนาจทางการค้า) ก็คือการให้พ่อค้าของเรานำเอาเงินจากเขตการค้าอื่นๆที่เราส่วนแบ่งทางการค้าอยู่จะมากหรือน้อยก็ได้ เพื่อนำมาสร้างเป็นโครงข่ายทางการค้าเพื่อให้สามารถเก็บได้ที่ปลายทาง อันเป็นเขตเมืองสำคัญทางการค้าหรือเป็นเมืองหลวงของเรานั่นเอง ปล.จะนิยมมากในกรณีที่เรามีอำนาจทางการค้าเพียงผู้เดียวในเขตนั้นๆ เพราะเงินจะไม่รั่วไหลเลย
4.อำนาจางการค้าคืออะไร ดูได้จากที่ไหน?
อำนาจทางการค้า สามารถดูได้โดยการคลิกที่กล่องข้อมูลประจำเขตการค้าต่างๆ ในแผนที่ทางการค้า โดยยิ่งเรามีส่วนแบ่งมาก ก็จะยิ่งสามารถเก็บเงิน หรือถ่ายโอนอำนาจทางการค้าสู่ศูนย์กลางได้มากขึ้นนั่นเอง สามารถดูได้ในกล่องข้อมูลการค้าของเขตนั้นๆ แล้วดูรายละเอียดในส่วนของแผนภูมิวงกลมอันริมขวาสุดในกล่อง
5.แต่ละเขตการค้ามีรายได้ไม่เท่ากัน แล้วจะรู้ได้อย่างไร?
ให้ดูได้ในกล่องข้อมูลการค้าอันเดียวกับข้อที่แล้วเลยครับ รวมถึงในส่วนนี้จะบอกถึงรายได้รวมที่อยู่ในเขตการค้านั้นๆอีกด้วย
ความหมายของศัพท์ในกล่องข้อมูลการค้า จะมีดังต่อไปนี้ คือ
Incoming - เงินที่ไหลมาจากเขตการค้าอื่่นๆ
Local - เงินที่เกิดจากการผลิตของแต่ละจังหวัด ในเขตการค้านั้นๆ
Outgoing - เงินที่ไหลไปสู่เขตการค้าอื่นๆ ในกรณีที่มีรัฐที่มีอำนาจทางการค้าเลือก Transfer Trade Power หรือว่าไม่มีคน Collect from trade กันเท่าไร คือแถบสีแดงในแผนภูมิอันริมซ้าย
Total - จำนวนเงินรวม ที่สามารถแบ่งให้รัฐต่างๆที่มีส่วนแบ่งทางการค้าตามสัดส่วนไป ยิ่งครองสัดส่วนในแผนภูมิอันขวามาก ก็ยิ่งได้ส่วนแบ่งจากในแถบสีเขียวของแผนภูมิอันขวามากเท่านั้น
** ดังนั้น (Incoming + Local) - Outgoing = Total
6. ส่วนแบ่งทางการค้าเพิ่มได้อย่างไร
โดยหลักก็คือการยึดเมืองในเขตนั้นๆให้มากที่สุด รองลงมาคือการสร้าง Light ship ให้ Protecting Trade ในเขตนั้นๆ หากมีเรืออยู่เยอะๆ บางทีไม่ต้องมีเมืองเลยก็ยังได้ และยังได้จากสิ่งก่อสร้างประเภท + Local Trade power อีกเช่นกัน
**ข้อพิเศษ การสร้างโครงข่ายทางการค้าด้วยการทำ Trade steering
ดังที่ได้กล่าวมาทั้งหมดทั้งมวลเรื่องการค้าข้างต้น เมื่อรวมความแล้วนั้น ก็จะสามารถสรุปได้ว่า การจะทำการค้าให้สำเร็จจะต้องใช้เงื่อนไขหลายๆอย่าง ซึ่งเมื่อนำมาประกอบรวมกันแล้ว ก็จะเท่ากับการสร้างโครงข่ายการค้าของตัวเราเองให้มีขนาดใหญ่ให้ได้มากที่สุด ครอบคลุมในหลายๆพื้นที่และสามารถถ่ายโอนเงินเข้าสู่เมืองหลวงของตน โดยผมจะอธิบายในส่วนนี้ประกอบกับภาพและสถานการณ์ดังนี้รับ
สถานการณ์
- ผมเป็นรัฐ Manchu มีอิทธิพลในเขตการค้าทั้งหมด 4 แห่งดังภาพ
- ในเขตการค้า Beijing ผมควบคุมส่วนแบ่งทางการตลาดทั้งหมด ดังนั้นผมจึงเลือกเมืองหลวงไว้ที่นี่ เพื่อที่เมื่อให้พ่อค้าเก็บเงินที่จะไหลมา จะไม่มีการรั่วไปที่อื่นจากการ Transfer trade power ได้
** ไม่จำเป็นต้องเป็นเขตการค้าที่เรามีอำนาจครองทั้งหมด แต่ขอให้เป็นเขตที่เมืองหลวงของเราตั้งอยู่และถ้าเป็นไปได้ก็ควรที่จะมี Trade power มากที่สุดที่เรามีด้วย หากมีดีกว่าก็ย้ายเมืองหลวงได้
- ในเขตการค้า Hangzhou ผมมีส่วนแบ่งสูงที่สุดในบรรดารัฐทั้งหมด และเส้นทางการไหลเวียนการค้าของเขตการค้านี้มีสายหนึ่งมุ่งตรงไปที่ Beijing จึงเหมาะที่จะเป็นเมืองทางผ่านของเงินสายหลักของรัฐเรา
** หากเป็นเวลาปกติตอนเริ่มเกม เราจะมีพ่อค้า 2 คน การส่งพ่อค้าคนแรกให้ไป Collect from Trade และการให้อีกคนมาา Transfer Trade power ในเขตนี้ ถือเป็นวิธีพื้นฐานที่สุดในสร้างโครงข่ายการค้าในช่วงต้นเกมตามสูตรที่ว่า "โจรคนหนึ่งเตรียมที่เก็บอของยู่บ้าน อีกคนไปขโมยของข้างบ้านมา โจรคนที่สองควรมีข้อมูลของข้างบ้าน(Trade power) อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของทั้งหมด จึงเริ่มขโมย" จึงเป็นวิธีพื้นฐานในการสร้างโครงข่ายการค้า
- ในเขตการค้า Canton ผมมีอิทธิพลค่อนข้างมากและมีการไหลไปสู่ Hangzhou เหมาะแก่การส่งพ่อค้าไป Transfer trade power เพื่อส่งไป Beijing
- ในเขตการค้า Nippon ผมมีอำนาจการค้าประมาณครึ่งหนึ่งของทั้งหมดซึ่งน้อยที่สุดในบรรดาเขตที่ผมมีส่วนแบ่งทางการค้า แต่ก็ถือว่าเพียงพอสำหรับการดึงเม็ดเงินเพื่อให้จะไหลเข้าสู่ Hangzhou เช่นกัน เป็นกรณีเดียวกันกับเขต Canton ที่กล่าวไว้ก่อนหน้า แต่ในกรณีนี้หากว่าเม็ดเงินใน Canton และ Nippon ดันเท่ากัน ในเขต Nippon หรือเขตนี้จะได้เงินจากการดึงน้อยกว่า เพราะผมมีส่วนแบ่งน้อยกว่า
สูตรว่าด้วยการสร้างโครงข่ายการค้า
หัวหน้าโจร = พ่อค้าคนแรกประจำเมืองหลวง
บ้านหลังแรก = เมืองหลวงหรือเขตที่เมืองหลวงตั้งอยู่
ลูกน้องโจรคนแรก , บ้านหลังใหญ่ข้างๆ = พ่อค้าคนที่อยู่ประจำ Transfer trade power ในเขตการค้าที่อยู่ใกล้เมืองหลวงที่สุด
โจรคนอื่นๆ = พ่อค้าคนอื่นที่ส่งไปในเขตการค้าต่อๆจากเขตแรก ควรหาเขตที่เรามีอำนาจทางการค้ามากๆ เพื่อจะได้ถ่ายโอนมาได้เยอะๆ อย่างต่ำควรมีอย่างน้อย 25 เปอร์เซ็นต์
บ้านหลังอื่นๆ = เขตการค้าที่มีเส้นทางไหลการไหลของเงินมาสู่รัฐเรา โดยผ่านเขตการค้าแรกสุดที่พ่อค้าคนที่สองประจำอยู่
ข้อมูลของบ้านถัดๆไป = Trade power ที่เรามีในแต่ละเขตการค้าถัดที่อยู่ไปเรื่อยๆ ตามเส้นทางการไหลที่จะพาไปสู่เมืองหลวงของเรา ในบางจุดที่เรามี Trade power น้อยก็ให้ส่งเรือ Light ship ไป Protecting trade เพิ่มเยอะๆ ตามปกติหากอยากให้ได้ประสิทธิผลมากๆควรมีอย่างน้อยครึ่งหนึ่งในแต่ละเขตการค้า
"หัวหน้าโจรนั่ง collect อยู่บ้านหลังแรก ลูกน้องโจรคนแรกอาศัยข้อมูล (เปรียบกับ Trade power ในแต่ละเขตการค้า)ของบ้านหลังใหญ่ข้างๆ เพื่อไปขโมย (Transfer trade power) ก่อน ส่วนโจรคนอื่นๆก็ไปขโมยจากบ้านถัดๆไป มาให้ขโมยคนแรกเพื่อส่งไปให้หัวหน้าโจรที่บ้าน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นข้อมูลที่ตนเองมี ควรจะต้องให้มากกว่าครึ่งหนึ่งของทั้งหมดในแต่ละบ้านแล้วกัน"
ดังนั้นจากทฤษฎีที่ผมกล่าวมาทั้งหมดจึงเป็นข้อสรุปให้ผมกระทำการดังต่อไปนี้
1. ให้พ่อค้าคนหนึ่งไป Collecting from trade ที่ Beijing อันเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงของผม และเป็นเขตการค้าที่ผมมีอำนาจมากที่สุด
2. ให้พ่อค้าคนที่สอง ไป Transfer Trade Power จาก Hangzhou
3. ให้พ่อค้าคนที่สาม ไป Transfer Trade Power จาก Nippon
4. .ให้พ่อค้าคนที่สี่ ไป Transfer Trade Power จาก Canton
คราวนี้ลองเปรียบเทียบตัวเลขเงินที่เราจะได้จาก Beijing เมื่อทำการส่งพ่อค้าไปจนครบกับภาพเก่านะครับ
1. ก่อนสร้างโครงข่าย รายได้ที่เมืองหลวง = 18.3 ที่เมืองอื่นๆก็โดนรัฐอื่นๆกระจายกันไปหมด
2. หลังสร้างโครงข่าย รายได้ที่เมืองหลวง = 42.8 รายได้มุ่งเข้าสู่ศูนย์กลางง่ายต่อการเก็บ และได้จำนวนเงินมากกว่าเก่า ทั้งยังลดจำนวนเงินในเขตย่อยอื่นๆที่ไม่ใช่เมืองหลวงของเราทั้ง 3 เขต ทำให้รัฐอื่นๆแย่งได้น้อย รวมถึงในกรณีนี้ผมมีอำนาจเพียงรัฐเดียวใน Beijing ทำให้ไม่มีเงินไหลออกไป Yumen (ทางด้านซ้ายสีฟ้าอ่อน) ได้เลย และทำให้รัฐอื่นๆได้รายได้น้อยลงจากอีก 3 เขตทันตาเห็น
ปล. ทั้งนี้ทั้งนั้น ตัวแปรสำคัญของการจะสร้างโครงข่ายการค้าให้มีประสิทธิภาพก็คือ ทัพเรือ โดยเฉพาะเรือ Light ship ที่ใช้ป้องกันเขตการค้า (Protecting trade) เพราะตัวแปรหลักของการจะดึงรายได้เข้ามาสู่จุดที่เราต้องการคือ Trade steering (ย้อนกลับไปดูความหมายในหัวข้อการค้าข้อที่ 3.4 )ซึ่งค่านี้นั้นจะมีค่าเท่ากับ Navy tradition ของเรา และค่า Navy tradition จะได้มาจากการรบทางเรือบ่อยๆ หรือ การใช้เรือ Light ship ในการ Protecting trade เยอะๆ (วิธีทำการ Protecting trade ให้ทำย้อนไปในข้อถาม-ตอบ ข้อที่ 6)โดยยิ่งใช้เรือไปป้องกันเขตการค้าไหนๆมาก ก็ยิ่งดึงรายได้เข้ามาได้มากเท่านั้น และยังเป็นการเพิ่ม Trade power ไปในตัวอีกด้วย
ยอมรับตามตรงเลย ตอนนี้กำลังติดแคมเปญเยอรมนีแบบงอมแงมอยู่ ไว้รวมโรมันอันศักดิ์สิทธิ์เสร็จปุ๊ป ประเดี๋ยวมาทำต่อให้จบครับ ^_^
ขอสัญญาว่าตั้งแต่พรุ่งนี้จะมาทำต่อและจะทำเรื่อยๆให้จบ..
ปล.ค่านี้มีความสัมพันธ์โดยตรงกับการส่งนักบวชไปเปลี่ยนเมืองนอกรีตใต้ปกครอง ค่าห่างกันเพียงแค่ 1 หน่วยสามารถร่นเวลาในการเปลี่ยนศาสนาได้หลายเดือนเลยทีเดียวบางทีก็หลายปีด้วยซ้ำ
2.4 ค่าเกียรติยศ (Prestige) อีกหนึ่งค่าที่มีความสำคัญ ถึงจะไม่ค่อยเท่ากับทุกๆค่าที่ผ่านมาก็เถอะ ค่านี้ส่งผลกระทบหลายอย่างมากและมีค่าเสื่อมมาตรฐานที่ 5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งแปรผันตรงกับเกียรติที่เรามีคือยิ่งมีมากก็ยิ่งเสื่อมเร็ว เป็นค่าที่ส่งผลกระทบกับหลายอย่างอย่างละนิดอย่างละหน่อย การที่ท่านมีค่านี้ไม่มากก็ไม่ได้น่าแปลกใจอะไร แต่ก็ไม่ควรต่ำกว่า 0 ในเวลาปกติควรอยู่ที่ 40-70 แต่หากมีมากกว่านี้ก็ยิ่งมีเปรียบ ค่านี้จะมีผลโดยตรงก็เพียงที่ค่ากำลังใจของทหารที่มีค่านี้มากกว่าจะเยอะกว่าฝ่ายที่ไม่มี(ไม่รวมสารพัด Modifier ที่ปรับแต่งตามในไอเดียปกติและไอเดียพิเศษของแต่ละประเทศ และสารพัดปัจจัยอื่นๆ ที่จะวัดกำลังใจทหารในขณะนั้น) แต่หากพบเจอกับกองทหารที่มากกว่าก็ไม่ค่อยมีผลอะไรนัก สามารถเพิ่มได้ง่ายมากหากรบชนะสงคราม แต่ก็ลดได้ง่ายมากหากแพ้สงครามเช่นกัน
2.5 ค่าความมั่นคงในการครองบัลลังก์ (Legitimacy) เป็นค่าที่ส่งผลกระทบภายใน และทางด้านการฑูต เป็นค่าที่จะเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆทุกปี โดยจะเกี่ยวข้องกับค่าเกียรติยศหรือ prestige นิดหน่อย คือถ้าค่า prestige เป็น 100 จะทำให้ค่านี้เพิ่มขึ้นปีละ 1 และยังรวมถึงการแต่งงานกับรัฐอื่นๆจะทำให้ค่านี้เพิ่มขึ้นตามจำนวนรัฐที่แต่งงานกับเรา รัฐละ 0.05 แต่เมื่อตอนแต่งงานใหม่ๆก็จะลดลงเล็กน้อยหากรัฐนั้นอำนาจน้อยกว่าเรา โดยค่านี้เกี่ยวพันกับค่าความเสี่ยงเกิดกบฎอย่างมาก หากมีค่านี้ 100 จะลดโอกาศได้ 3 หน่วยเลยทีเดียว มีผลพอๆกันกับค่าความมั่นคงระดับสูงสุด
2.6 ค่า Monarch point ทั้ง 3 ประเภท และการใช้งาน
ความสัมพันธ์ของ MP กับเทคโนโลยีและไอเดีย
ค่า MP หรือค่าความสามารถกษัตริย์นั้น เป็นตัวแปรสำคัญที่เราไม่สามารถกำหนดเองได้เลย ความสามารถในทั้ง 3 หมวดเกิดจากการถูกสุ่ม หากโชคดีก็อาจได้ผู้นำที่มีความสามารถ 4 ขึ้นไปในทั้ง 3 ด้านก็จะสามารถตามเทคโนโลยีของรัฐในกลุ่มเทคโนโลยีเดียวกันได้สบายๆ และยังอาจรวมถึงการปลดล๊อกไอเดียได้โดยไม่ต้องล้าหลังใครในตัวระดับเทคโนโลยี (ระดับเทคโนโลยีในเกมทั้ง 3 แบบ และไอเดียทั้ง 3 ด้าน ใช้ค่า MP ในการปลดล๊อกเหมือนกัน หากท่านโฟกัสไปที่อย่างใดอย่างหนึ่งก็จะทำให้อีกอย่าล้าหลังไปได้จึงต้องบริหารให้ดีไม่ใช่ทั้ง 3 ค่าฟุ่มเฟือย) แต่หากท่านได้ผู้นำที่ความสามารถในด้านต่างๆต่ำกว่า 3 ท่านก็อาจต้องจ้างที่ปรึกษาราคาแพงมาเพื่อไม่ให้ล้าหลังในเทคโนโลยี ซึ่งเกมนี้เทคโนโลยีค่อนข้างสำคัญกว่าไอเดียอยู่เสมอเพราะทหารชนิดใหม่ๆจะได้ก็จากเทคโนโลยีใหม่ แต่ไอเดียจะเป็นตัวเสริมเพื่อให้ผู้เล่นใช้สไตล์การเล่นตามแบบฉบับของตนได้ถนัดขึ้น
**สรุป เทคโนโลยีโดยเฉพาะด้านการทหารนั้นจะปล่อยทิ้งให้ล้าหลังไม่ได้เด็ดขาด ส่วนไอเดียเป็นเพียงตัวเสริมในยามที่เทคโนโลยีระดับต่อไปยังปลดลีอกไม่ได้ ในเวลาที่ค่า monarch point นั้นเพิ่มสูงๆ หรือจำเป็นต้องใช้เท่านั้นในยุทธศาสตร์เท่านั้น
2.6.1 ค่า Administrative Power หรือ การบริหาร
- ใช้ในการปลดลีอกเทคโนโลยีในหมวดหมู่ Administrative
- ใช้ในการปลดลีอกไอเดียในสาย Administrative ทั้ง 5 หมวด
- ใช้ในการเพิ่มค่าความมั่นคงในประเทศหรือ Stabiity
- **สำคัญมาก ใช้ในการเปลี่ยนเมืองศัตรูให่กลายเป็นเมืองของเราโดยชอบบธรรมหรือเปลี่ยนเป็นเมือง Core เมื่อเรายึดเมืองมาใหม่เราต้องทำเป็น core ในทันที ปกติจะใช้เวลา 5 ปี และเราควรจะนำทหารไปเฝ้าเมืองไว้อย่างน้อยเมืองละ 8 กอง เพราะในระหว่างที่เมืองยังไม่เป็น core นั้นจะเกิดกบฎง่ายมาก และการเอาทหารเฝ้าเมืองก็ดีกว่าการต้องเสียค่า MIL เพื่อรักษาความสงบซึ่งจะทำให้เทคโนโลยีการทหารเราล้าหลังหรือที่เรียก Harsh -Treatment
- ใช้ในการลดภาวะเงินเฟ้อ (Inflation)
- ใช้ในการเพิ่มภาษีอาณานิคม
- ใช้ในการออกกฎหมายบางอย่าง (National decision) เช่น ปฏิรูปรัฐบาล (Reform government) ในรัฐกลุ่ม Steppe Horde หรือ Sub-African
**หมายเหตุ เทคโนโลยีในกลุ่มนี้ไม่จำเป็นต้องตามคนอื่นเขาทันก็ได้ อย่างตัวผู้เขียนเองเคยเค่นโหมด Ironman จบ โดยที่เทคโนโลยีด้านนี้คนอื่นเขาอยู่ปี 1820 ผมยังย่ำอยู่ที่ปี 1700 หรือขั้นที่ 20 แต่คนอื่นเขาไป 32 หมดแล้ว อยู่เลยทั้งๆที่เป็นเทคโนโลยีกลุ่มตะวันตกเหมือนกัน ดังนั้นหากท่านต้องการปลดไอเดียเยอะๆ เพื่อปลด National Ideas การทิ้งดิ่งลงเหวเทคโนโลยีกลุ่มนี้ก็ไม่เลวเท่าไรนักเพราะไม่ส่งผลกระทบกับการสู้กับใครแม้แต่นิดเดียว
2.6.2 ค่า Diplomatic Power หรือ การฑูต
ในส่วนของค่า MP ในหัวข้อของการฑูตหรือที่เรียกกันง่ายๆว่า DIP นั้นจะมีประโยชน์ที่ใช้หลักๆกันดังนี้
- ใช้ในการปลดล๊อกเทคโนโลยีในหมวดหมู่ Diplomatic
- ใช้ในการปลดล๊อกไอเดียในสาย Diplomatic ทั้ง 5 สาย
- ใช้ในการลดความอ่อนล้าจากสงคราม (War exhaustion) ซึ่งถ้ามีมากเกินไปจะทำให้เกิดกบฎได้ง่าย
- ** สำคัญมาก ใช้ในการเรียกร้องสิ่งปฏิกรรมสงคราม ที่นอกเหนือจากสาเหตุที่ประกาศศึก เช่น เราทำศึกกับรัฐ A และรัฐ B เรารบชนะรัฐ A ซึ่งเราประกาศสงครามเพื่อชิงเมือง Z แต่เมื่อเรารบชนะแล้วแบบเด็ดขาด เราต้องการเอาเมือง X เมือง Y และเมือง Z ที่เรายึดได้จากรัฐ A รวมถึงให้รัฐ A ยกเลิกความสัมพันธ์กับรัฐ C และจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามให้เรา 100 Ducat รัฐ A ซึ่งไม่มีทางสู้จะต้องยอมเรา โดยข้อเรียกร้องนอกเหนือจากการขอเมือง Z จะทำให้เราต้องใช้ค่า DIP ในการเรียกร้องประมาณหัวข้อละ 50 (ค่านี้แปรผันกับ Modifier ต่างๆ แต่จะอยู่ประมาณ 35-50 เสมอ)ดังนั้นก่อนประกาศสงครามต้องตุนค่านี้ไว้เยอะซักหน่อย
- ใช้ในการเปลี่ยนวัฒนธรรมของเมืองที่อยู่ใต้การปกครองเรามาเป็นแบบของเรา (Change culture) ซึ่งไม่จำเป็นอย่างรุนแรงและเราก็ไม่ต้องไปสนมันหรอก
2.6.3 ค่า Military Power หรือการทหาร
ในส่วนของค่า MP ในหัวข้อของการฑูตหรือที่เรียกกันง่ายๆว่า DIP นั้นจะมีประโยชน์ที่ใช้หลักๆกันดังนี้
- **สำคัญมาก ใช้ในการปลดล๊อกเทคโนโลยีในหมวดหมู่ Military เทคโนโลยีอันนี้เราจะล้าหลังไม่ได้เป็นอันขาด การล้าหลังเพื่อนบ้านเพียงแค่2-3 เดือน ท่านอาจจะเละไปเลย โดยเฉพาะในกลุ่มเทคโนโลยีตะวันตกหรือ western ที่จะมีการแข่งขันสูงเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ในหมู่มหาอำนาจด้วยกันเอง จะต้องล่วงหน้าวิจัยเทคโนโลยีก่อนเวลา (ค่า Ahead of time) ให้ได้ 11-10 ปีทุกครั้งช่วงหลัง 1550
- ใช้ในการปลดล๊อกไอเดียในสาย Military ทั้ง 5 สาย
- ใช้ในการเก็บภาษีสงครามลดค่าเลี้ยงดุทหารและทัพเรือลง 20 เปอร์เซ็นต์ จะมีประโยชน์มากช่วงต้นเกม แต่ช่วงหลังการใช้ 50 MIL power นับว่าได้ไม่คุ้มเสียถ้าท่านตกอยู่กลางวงล้อมของหลายๆมหาอำนาจ ควรเก็บไว้วิจัยเทคโนโลยีดีกว่า
- ใช้ในการรักษาความสงบชั่วคราวในเมืองที่เราไปยึดมาหรือไม่สงบ (Harsh treatment) โดยค่าที่จะใช้ในแต่ละเมืองจะแปรผันตรงกับภาษีตั้งต้นของเมืองคือเมืองที่มีภาษีเริ่มต้น (Base tax) 2 จะใช้ค่า Harsh treatment น้อยกว่าเมืองที่มีภาษีเริ่มต้น 4 เป็นต้น ซึ่งอันที่จริงหากเป็นการยึดเมืองมาไม่กี่เมืองและกำลังทำ core ก็ไม่จำเป็นต้องทำ เพียงส่งทหารไปประจำเมื่อกบฎเกิดขึ้นก็มักแพ้ไปเอง โดยมากใช้ทหารเมืองละ 8-12 กอง
- ใช้ในการปลดล๊อกเทคโนโลยีในหมวดหมู่ Diplomatic
- ใช้ในการปลดล๊อกไอเดียในสาย Diplomatic ทั้ง 5 สาย
- ใช้ในการลดความอ่อนล้าจากสงคราม (War exhaustion) ซึ่งถ้ามีมากเกินไปจะทำให้เกิดกบฎได้ง่าย
- ** สำคัญมาก ใช้ในการเรียกร้องสิ่งปฏิกรรมสงคราม ที่นอกเหนือจากสาเหตุที่ประกาศศึก เช่น เราทำศึกกับรัฐ A และรัฐ B เรารบชนะรัฐ A ซึ่งเราประกาศสงครามเพื่อชิงเมือง Z แต่เมื่อเรารบชนะแล้วแบบเด็ดขาด เราต้องการเอาเมือง X เมือง Y และเมือง Z ที่เรายึดได้จากรัฐ A รวมถึงให้รัฐ A ยกเลิกความสัมพันธ์กับรัฐ C และจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามให้เรา 100 Ducat รัฐ A ซึ่งไม่มีทางสู้จะต้องยอมเรา โดยข้อเรียกร้องนอกเหนือจากการขอเมือง Z จะทำให้เราต้องใช้ค่า DIP ในการเรียกร้องประมาณหัวข้อละ 50 (ค่านี้แปรผันกับ Modifier ต่างๆ แต่จะอยู่ประมาณ 35-50 เสมอ)ดังนั้นก่อนประกาศสงครามต้องตุนค่านี้ไว้เยอะซักหน่อย
- ใช้ในการเปลี่ยนวัฒนธรรมของเมืองที่อยู่ใต้การปกครองเรามาเป็นแบบของเรา (Change culture) ซึ่งไม่จำเป็นอย่างรุนแรงและเราก็ไม่ต้องไปสนมันหรอก
2.6.3 ค่า Military Power หรือการทหาร
ในส่วนของค่า MP ในหัวข้อของการฑูตหรือที่เรียกกันง่ายๆว่า DIP นั้นจะมีประโยชน์ที่ใช้หลักๆกันดังนี้
- **สำคัญมาก ใช้ในการปลดล๊อกเทคโนโลยีในหมวดหมู่ Military เทคโนโลยีอันนี้เราจะล้าหลังไม่ได้เป็นอันขาด การล้าหลังเพื่อนบ้านเพียงแค่2-3 เดือน ท่านอาจจะเละไปเลย โดยเฉพาะในกลุ่มเทคโนโลยีตะวันตกหรือ western ที่จะมีการแข่งขันสูงเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ในหมู่มหาอำนาจด้วยกันเอง จะต้องล่วงหน้าวิจัยเทคโนโลยีก่อนเวลา (ค่า Ahead of time) ให้ได้ 11-10 ปีทุกครั้งช่วงหลัง 1550
- ใช้ในการปลดล๊อกไอเดียในสาย Military ทั้ง 5 สาย
- ใช้ในการเก็บภาษีสงครามลดค่าเลี้ยงดุทหารและทัพเรือลง 20 เปอร์เซ็นต์ จะมีประโยชน์มากช่วงต้นเกม แต่ช่วงหลังการใช้ 50 MIL power นับว่าได้ไม่คุ้มเสียถ้าท่านตกอยู่กลางวงล้อมของหลายๆมหาอำนาจ ควรเก็บไว้วิจัยเทคโนโลยีดีกว่า
- ใช้ในการรักษาความสงบชั่วคราวในเมืองที่เราไปยึดมาหรือไม่สงบ (Harsh treatment) โดยค่าที่จะใช้ในแต่ละเมืองจะแปรผันตรงกับภาษีตั้งต้นของเมืองคือเมืองที่มีภาษีเริ่มต้น (Base tax) 2 จะใช้ค่า Harsh treatment น้อยกว่าเมืองที่มีภาษีเริ่มต้น 4 เป็นต้น ซึ่งอันที่จริงหากเป็นการยึดเมืองมาไม่กี่เมืองและกำลังทำ core ก็ไม่จำเป็นต้องทำ เพียงส่งทหารไปประจำเมื่อกบฎเกิดขึ้นก็มักแพ้ไปเอง โดยมากใช้ทหารเมืองละ 8-12 กอง
2.6.4 หัวข้อพิเศษ กลุ่มของเทคโนโลยีในโลก
เนื่องมาจากผมไม่รู้จะเอาไอหัวข้อนี้ไปไว้ตรงไหน (ต้องขอสารภาพว่าตอนนี้มันเยอะกว่าที่วางแผนทำแค่เริ่มต้นไปไกลมากแล้ว ฮา) จึงขอนำเอาเรื่องของเทคโนโลยีมาแทรกไว้ตรงนี้นะครับ
**หมายเหตุ ถึงแม้ท่านจะดวงดีมากพอที่เป็นกลุ่มเทคโนโลยีช้ากว่าเขา แต่มีเทคโนโลยีระดับเดียวเขาที่เป็นกลุ่มเทคโนโลยีที่ไวกว่า เช่นท่านเป็นตะวันออก เขาเป็นตะวันตก แต่ถึงกระนั้นทหารของท่านก็จะไม่สามารถสู้ทหารของกลุ่มนั้นได้ เพราะแต่ละกลุ่มเทคโนโลยีจะมีประเภททหารแตกต่างกัน และการที่ท่านจะปกป้องตนเองจากการล่าอาณานิคมให้ได้ ก็คือต้องเปลี่ยนเป็นเทคโนโลยีกลุ่มตะวันตกเหมือนพวกเขาเท่านั้น มิเช่นนั้นยังไงหากไม่ถึงกับเละ ก็ต้องใช้ทหารเกือบ 2:1 เพื่อชนะสงครามเพื่อบุกแต่ละครั้ง แค่เพียงการเล่นเป็นกลุ่มตะวันออกเพื่อสู้ตะวันตกในช่วงเทคโนโลยีช่วง 20 ขึ้นไปก็ต้องใช้ทหารขนาดนีแล้ว และไม่ต้องพูดถึงเทคโนโลยีกลุ่มอื่นที่มีทหารแย่กว่า ก็ต้องทำการ Westernize เพื่อให้สามารถใช้ทหารแบบตะวันตก ซึ่งรายละเอียดจะกล่าวเสริมภายหลัง
****สรุป ทหารในกลุ่มเทคโนโลยีช้ากว่าจะมีประสิทธิภาพด้อยกว่ากลุ่มที่เร็วกว่าเสมอหลังปี 1550 เป็นต้นไป โดยกลุ่มที่จะนำหน้าตะวันตกช่วงต้นได้แก่ ออตโตมัน และมุสลิมครับ
เทคโนโลยีกลุ่มต่างๆ เรียงตามลำดับง่ายไปยาก
จากเทคโนโลยีทั้งหมดในเกมจะแบ่งได้เป็น 8 กลุ่มใหญ่ๆ โดยในที่นี้จะเรียงลำดับจากระดับง่ายสุดไปถึงยากที่สุด โดยเทคโนโลยีที่เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นได้แก่กลุ่มที่ 1-4 สำหรับผู้ที่พอจะมีประสบการณ์มาบ้างแล้วคือกลุ่มที่ 5ถึง 7 ส่วนกลุ่มที่ 8 และ 9 นั้นคือกลุ่มที่เหมาะกับผู้เล่นที่มีประสบการณ์มากถึงมากที่สุด เข้าใจเกมได้จนเรียกได้ว่าแตกฉานเท่านั้นจึงจะเหมาะเล่นกลุ่มที่ 8 และ 9
1. Western - ค่าวิจัยพื้นฐาน 100 เปอร์เซ็นต์ คือเทคละ 600 ทุกกลุ่มหากไม่วิจัยได้ก่อนเวลา - ค่า MP ต่อเดือนมาตรฐาน +3 คือต่อให้กษัตริย์ท่านความสามารถ 0/0/0 ก็จะเพิ่มทุกหมวดๆละ 3 ตลอด // กลุ่มเทคโนโลยีตะวันตกพบได้ในยุโรปตะวันตก ยุโรปกลาง และทางตะวันตกของคาบสมุทรบอลติก เป็นกลุ่มเทคโนโลยีที่ในช่วงต้นเกมจนถึงช่วงเทคโนโลยี 11 จะยังไม่สามารถไปสู้กับใครได้เท่าไร แต่เมื่อย่างเข้าเทคโนโลยีขั้น 12 เป็นต้นไปจะมีการทหารล้ำหน้าทุกกลุ่มเทคโนโลยีโดยเฉพาะด้านทหารราบ
2. Eastern - ค่าวิจัยมาตรฐาน 120 เปอร์เซ็นต์ - ค่า MP ต่อเดือนมาตรฐาน +3 // พบได้ในยุโรปตะวันออกทั้งหมด คาบสมุทรบอลข่าน และทางใต้ของทะเลขาว จรดถึงเอเชียกลาง เป็นกลุ่มเทคโนโลยีที่จะไล่หลังกลุ่มตะวันตก รวมไปถึงจะโกงมาก ถ้าท่านเล่นจนตั้งรัสเซียได้แล้วบุกเอเชียได้โดยไม่ต้องข้ามน้ำข้ามทะเล แต่ถึงกระนั้นทหารในกลุ่มนี้ก็ยังเป็นรองกลุ่มตะวันตกอยู่เสมอ
3. Ottoman - ค่าวิจัยมาตรฐาน 125 เปอร์เซ็นต์ - ค่า MP ต่อเดือนมาตรฐาน +3 // กลุ่มเทคโนโลยีออตโตมันนับว่าเป็นกลุ่มที่ได้เปรียบที่สุดในช่วงต้นเกมจนถึงประมาณกลางคริสตศตวรรษที่ 16 มีทหารที่สามารถเอาชนะทุกกลุ่มเทคโนโลยีในช่วงนี้ และวิจัยเทคโนโลยีได้ไว เพราะสุลต่านในช่วงระยะแรกมักมีความสามารถมากตามประวัติศาสตร์เสมอ แต่พอถึงช่วงหลังเทคโนโลยีขั้น 12 จะเพียงได้เปรียบกลุ่มมุสลิมนิดหน่อย แต่ก็สามารถเอาชนะกลุ่มที่ต่ำลงไปได้สบายๆ จึงสามารถขยายเข้าเอเชียหรือแอฟริกาได้ทั้งสองทาง
4. Muslim - ค่าวิจัยมาตรฐาน 140 เปอร์เซ็นต์ - ค่า MP ต่อเดือนมาตรฐาน +3 // กลุ่มเทคโนโลยีมุสลิมเริ่มต้นมาด้วยทหารม้าที่สามารถรบในเขตที่่เปิดเช่น ทะเลทราย หรือทุ่งหญ้าสเตปป์โดยได้เปรียบอย่างมากในช่วงต้นถึงกลางเกม ทำให้สมมารถทำการรบป้องกันอาณาเขตของตนเองกับกลุ่มเทคโนโลยีอื่นได้สบายๆ และสามารถขยายอาณาเขตได้แบบเดียวกับเทคโนโลยีออตโตมัน แต่ก็ต้องคอยระวังพวกออตโตมันเอาไว้มิเช่นนั้นทหารราบทีเหนือกว่าของพวกออตโตมันสามารถเอาชนะเทคโนโลยีมุสลิมในช่วงที่เราอ่อนแอได้ ปกติกลุ่มเทคโนโลยีมุสลิมจะต้องทำการ westernization มิเช่นนั้นอาจต้องเสียดินแดนให้พวกตะวันตกไปจำนวนมากได้หลังช่วง 1650
5. Nomad - ค่าวิจัยมาตรฐาน 175 เปอร์เซ็นต์ - ค่า MP ต่อเดือนมาตรฐาน +3 // กลุ่มเทคโนโลยีล้าหลังแห่งพวกมองโกล ต้องใช้ทัพทหารม้าตีทุกๆเมืองที่ขวางหน้าอยู่ตลอด มิเช่นนั้นมันจะอยู่ไม่ได้ -*- มีทหารม้าที่เก่งที่สุดในเกมตอนช่วงก่อนปี 1500 ดังนั้นท่านจะต้องขยายอาณาเขตให้มากเท่าที่จะมากได้ แล้วพยายามทำ Reform government ให้เร็วที่สุด เพราะกลุ่มเทคโนโลยีนี้มีการชิงบัลลังค์กันตลอดเวลา (อันนี้เรื่องจริงเพราะข่านคนอื่นจะหาว่าเราอ่อนแอตลอด แค่ไม่ทำสงครามซักปีแค่นั้นก็โดน -*-) และท่านจึงต้องมีทหารขนาดใหญ่มากเพื่อปราบกบฎที่จะเกิดได้ทุกๆปี ซึ่งการปล่อยให้ตนเองมีการปกครองแบบนี้จะทำให้บริหารอาณาจักรขนาดใหญ่ได้ยากมาก ดังนั้นเมื่อการขยายอำนาจเข้าที่แล้วก็ให้ทำการปฏิรูปประเทศซึ่งเงื่อนไขต่างๆจะอยู่ใน National Decision ซึ่งจะอธิบายในหัวข้อ ...
6. India - ค่าวิจัยมาตรฐาน 150 เปอร์เซ็นต์ - ค่า MP ต่อเดือนมาตรฐาน +2 // พบได้ในรัฐทั้งหมดบนอนุทวีปอินเดีย เป็นเทคโนโลยีที่ไปได้ไวที่สุดสำหรับกลุ่มเทคโนโลยีที่ค่า MP มาตรฐานเพิ่มแค่ 2 หรือต่ำกว่า 2 จะสามารถอัพเทคโนโลยีได้ไวกว่ากลุ่มจีนนิดหน่อย และมีทหารดีกว่ากลุ่มจีนที่อยู่ติดกันนิดหน่อยเช่นเดียวกัน การจะอยู่รอดด้วยเทคโนโลยีกลุ่มนี้มีเป้าหมายก็คือรวมอนุทวีปอินเดียให้ได้มากที่สุดเพื่อป้องกันจากการบุกรุกจากกลุ่มเทคโนโลยีอิสลามตั้งแต่ช่วงต้นเกม และช่วงหลัง 1650 เป็นต้นไปที่ยุโรปจะเริ่มเข้ามา และอนุทวีปอินเดียจะเป็นเป้าหมายหลักของยุโรปทันที
**เทคนิคของการเล่นกลุ่มอินเดีย คือการยอมประกาศศึกใส่รัฐเล็กๆแถวโซมาเลียหรือแถบแอฟริกาตะวันออกรัฐใดก็ได้โดยไม่ต้องมีเหตุแห่งสงคราม (Casus belli หรือที่เรียกย่อๆว่า CB) แล้วขยายลงไปทางใต้ จนได้พบกับอาณานิคมของโปรตุเกสหรือสเปนแถบแหลมกู๊ดโฮป จะทำให้ท่านสามารถเปลี่ยนเทคโนโลยีตามตะวันตกได้ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 16 เลย ไม่ต้องแข่งกับเวลาเหมือนกลุ่มอื่นๆ
7. Chinese - ค่าวิจัยมาตรฐาน 160 เปอร์เซ็นต์ - ค่า MP มาตรฐานต่อเดือน +2 // กลุ่มเทคโนโลยีจีนในช่วงแรกก็ไม่มีอะไรมากใช้พวกมากของตนเองเข้าถล่มรัฐที่มีพวกน้อยในกลุ่มเทคโนโลยีเดียวกัน จนกระทั่งถึงกลางคริสตศตวรรษที่ 17 เมื่อพวกเทคโนโลยีตะวันตกเข้ามา และแบ่งสันปันส่วนอินเดียกับหัวเมืองทางเกาะอินโดนีเซีย และฟิลลิปปินส์กันเรียบร้อยแล้ว คราวนี้มันก็จะเบนเป้ามาหาเรา แล้วถล่มเราแบบไม่ได้ผุดได้เกิดกันทันที
**เทคนิคการเล่นกลุ่มจีน เมื่อเริ่มต้นมาหากท่านเล่นเป็นญี่ปุ่นหรือหมิงที่อยู่ทางด้านเหนือให้ท่านพยายามปลดล๊อกไอเดียสาย Diplomatic 2 อันคือ Exploration (อันนี้สำคัญต้องปลดกลุ่มนี้อย่างน้อย 2 อันแรกเพื่อให้จ้างนักสำรวจไปบุกเบิกสถานที่ก่อนส่งนักสร้างอาณานิคมลงไปได้) และ Expansion ซึ่งอันที่จริงแค่อันแรกก็น่าจะอยู่ๆแล้ว พยายามสร้างอาณานิคมในไซบีเรียให้ได้มากที่สุด ถ้าเป็นไปได้ก็ให้ตีพวกมองโกล เช่น แมนจู จากาไต ให้หมด แล้วส่งเรือไปค้นหาอเมริกาผ่านทางการเดินเรือจากช่องแคบแบริง แล้วจึงสร้างอาณานิคมในเขตตอนเหนือของเม็กซิโกไว้ 2-3 เมืองเท่านั้น(เพื่อไม่ให้กลายเกิดเมืองอาณานิคมที่มีรัฐบาลแยกปกครอง) แล้วรอจนสเปนเข้ามาแล้ว Westernize เป็นอันสำเร็จ หากเล่นเป็นแถบอาเซียนก็ให้พยายามยึดอาเซียนให้หมด ส่งนักเดินทางไปยึดอินโดนีเซียไปเรื่อยๆ จนเข้าสู่ออสเตรเลีย จากนั้นยึดเกาะต่างๆในโอเชียเนีย แล้วค่อยเข้าไปในอเมริกาใต้ จนพบสเปนหรือโปรตุเกสแล้ว Westernize ที่ต้องจำคือช่วงหลัง 1700 อย่าปล่อยให้เป็นเทคโนโลยียังเป็นจีนเด็ดขาด!!
8. Sub-Saharan - ค่าวิจัยมาตรฐาน 200 เปอร์เซ็นต์ - ค่า MP มาตรฐานต่อเดือน +1 // กลุ่มเทคโนโลยีที่พบได้ในทวีปแอฟริกาเกือบทั้งหมดยกเว้นทางด้านตอนเหนือ สำหรับกลุ่มนี้ผมคงไม่สามารถแนะนำอะไรมากนัก เพราะผมเองยังไม่เคยเล่นกลุ่มนี้มาก่อน แต่ก็พอรู้ว่าคนที่จะเล่นกลุ่มเทคโนโลยีนี้ได้หรือกลุ่มต่อไปจะต้องเป็นผู้เล่นที่ผ่านประสบการณ์มาโชกโชนมาก เพราะว่าเทคโนโลยีล้าหลังสุดๆ เทคนิคการเล่นก็ต้องพลิกแพลงกันตามสถานการณ์แทบทั้งสิ้น
9. New world (Mesoamerican-North American-South American ) - ค่าวิจัยมาตรฐาน 250 เปอร์เซ็นต์ - ค่า MP มาตรฐานต่อเดือน +1 // กลุ่มเทคโนโลยีนี้จะมีลักษณะคล้ายๆกันทั้ง 3 กลุ่ม พบได้ในทวีปอเมริกาทั้งหมด และแน่นอน กลุ่มนี้ถ้าคุณไม่เทพจริงอย่าแตะครับไม่งั้นท่านจะต้องเจอความอัปยศอย่างสูงเมื่อต้องเจอกับพวกยุโรปแน่นอน
![]() |
แผนที่กลุ่มเทคโนโลยีในปี 1444 หรือเริ่มเกม |
จากหัวข้อด้านบนจะเห็นได้ว่ากลุ่มเทคโนโลยีตั้งแต่มุสลิมลงไปนั้นแทบจะเรียกได้ว่าต้องเปลี่ยนกลุ่มเทคโนโลยีให้เป็นไปตามแบบของตะวันตกเมื่อเริ่มผ่าน 1550 ไปแล้วโดยเฉพาะช่วงหลัง 1650 ที่ไอตัว Lucky nation มันจะเริ่มทำงาน จะต้องเพื่อใช้ต่อกรกับทหารที่ดีกว่าที่จะมาล่าอาณานิคมได้ ดังนั้นในหัวข้อนี้จะอธิบายถึงขั้นตอนการ Westernize ควบไปเลยนะครับ
เงื่อนไขจำเป็น
- ต้องมีเมืองที่เป็น core ของเรา ติดอยู่กับเมืองที่เป็น core ของกลุ่มเทคโนโลยีตะวันตก หรือแชร์เขตทางทะเลกันก็ได้เช่นเดียวกัน
- ทุกๆเมืองของเราที่ติดกับเทคโนโลยีตะวันตกจะต้องเป็น core ทั้งหมด
![]() |
การทำ core ให้คลิกทำในช่องสี่เหลี่ยมใช้ค่า ADM เมื่อทำเสร็จแล้วจะขึ้นสัญลักษณ์แบบในวงกลม |
- ค่า Overextension หรือเมืองที่เรายึดมาโดยยังไม่เป็นของเราโดยสมบูรณ์ พูดง่ายๆก็คือยังไม่ได้ทำ core หรือยังทำไม่เสร็จนั่นเอง โดยเราต้องมีค่านี้เป็น 0 เสมอก่อน westernize ได้
![]() |
การดู overextension จะอยู่ในแผงควบคุมหลักอันที่ 8 ซึ่งจะอธิบายอยู่ในหัวข้อย่อยของ 3.8 นะครับ |
ข้อแนะนำก่อนเริ่ม Westernize
- ควรจะตุนค่า Monarch point เอาไว้ให้เท่ากับค่าที่ต้องเสียเลยถ้าเป็นไปได้ คือการ Westernize จะกินค่า Monarch point รวมทั้ง 3 หมวดเท่ากับ 2800 หรือประมาณ 900 ต่อประเภท โดยค่า ADM ควรจะตุนไว้อย่างน้อยที่สุด 1200 เพราะเป็นตัวบวกความมั่นคงภายในเพราะแค่เริ่มก็ติดลบทันที 3 หน่วยแล้ว ส่วนค่าการฑูตและการทหารตุนไว้ประมาณอย่างละพันเผื่อเหตุฉุกเฉินเช่นมีอีเวนท์ให้เสียค่าพวกนี้ขึ้นมา
- ทุกๆอาณาเขต 20-25 เมืองที่ท่านมี จะต้องมีทหารคุมแต่ละจุดนั้นๆไว้อย่างน้อย 15 กอง เพื่อป้องกันการเกิดกบฎจากอีเวนท์แย่ๆ และต้องมีทหารน้อยกว่า force limit อย่างต่ำ 10 กอง เผื่อเกิดกบฎขนาดใหญ่ จะได้จ้างทหารรับจ้างได้ทันท่วงที หากมีดินแดนที่อยู่แยกออกไป(Overseas province) เช่นอยู่อีกทวีปหรือไม่เชื่อมกับดินแดนที่อยู่ออกมาจากเมืองหลวง ก็ต้องมีทหารเฝ้าตลอดเช่นกันเพราะจ้างทหารรับจ้างไม่ได้ ก็ยิ่งต้องมีทหารเฝ้ามาก
![]() |
การดู force limit ของตัวเอง |
- เงินควรตุนไว้อย่างต่ำที่สุดคือ 400 เผื่อจ้างหทารรับจ้างมาปราบกบฎขนาดใหญ่
- ถ้าเป็นไปได้ ควรทำในขณะที่กษัริย์มีความสามารถ 4/4/4 ขึ้นไป เพราะจะลดค่า Monarch point น้อยลง เช่น ค่าทุกค่าปกติกิน 10 ต่อเดือน หากเราเป็นมุสลิมที่มีกษัตริย์ 6/6/6 บวกค่ามาตรฐาน +3 และที่ปรึกษา +2 ทุกหมวดก็จะเป็นเพิ่มเดือนละ 1 แทนที่จะติดลบ
- ควรจ้างที่ปรึกษาที่ดีที่สุดเอาไว้ตามกำลังทรัพย์เสมอ โดยเฉพาะ Theologian ที่ลดโอกาสเกิดกบฎ 3 หน่วยควรจะจ้างไว้อย่างมาก
ผลกระทบทันทีเมื่อกด Westernize
**การ Westernize จะกินเวลาโดยปกติประมาณ 9-10 ปี โดยทุกๆปีจะมีอีเวนท์ไม่ดีๆที่เกิดจากบุคคลกลุ่มต่างๆในรัฐของเราต่อต้านการปฏิรูปประเทศ หากเรายอมรับขอเสนอของพวกนี้ก็จะยืดเวลาการ Westernize ไปทันที 4 เดือน เพราะจะสูญเสียขั้นตอนการดำเนินงานย้อนไป 4 เดือน แต่หากไม่ยอมก็จะลดค่าต่างๆตามแต่ว่าพวกไหนที่ต่อต้านเรา โดยปกติจะผมจะยอมเฉพาะกรณีขุนนาง (Noble) ต่อต้านเท่านั้น เพราะถ้าไม่ยอมจะลด Stability โดยตอนที่เราพร้อมกด Westernize ไปแล้วจะส่งผลกระทบดังนี้ตลอดระยะเวลา 9-10 ปีน้นทันที
- เพิ่มโอกาสการเกิดกบฎทันทีทั้งประเทศ 5 หน่วย
- ลดค่าความมั่นคงภายในหรือ Stability 3 หน่วย ซึ่งควรจะเอากลับมาเป็น 3 ทันที
![]() |
ช่องแสดงรายละเอียด Stability และการเพิ่มค่าก็จะเพิ่มได้จากตรงนี้ใช้ค่า ADM |
- สามารถวิจัยเทคโนโลยีแบบเดียวกับตะวันตกได้ทันที และแน่นอนช่องความจุของ Monarch point จะลดลงเหลือแค่ 999 เท่านั้น ผมจึงให้ตุนแต่ละหมวดไว้ 1000 ยกเว้น ADM ที่พอกด Westernize ปุ๊ป ให้รีบเอาไปเพิ่ม Stability ทันที ก่อนที่มันจะลดลงเหลือ 999 (ให้ Pause เกมไว้ก่อนแล้วรีบเพิ่มค่าทันที)
2.7 แถบข้อมูลรวมหรือ Outliner
แถบข้อมูลรวมจะแสดงข้อมูลของอาณาจักรเราในแทบทุกๆเรื่องว่าเกิดอะไรขึ้นในประเทศของเราบ้าง จะบอกรายละเอียดในหลายเรื่องตลอดเวลา เช่น
- บอกว่าฑูตของเราไปประจำอยู่ที่เมืองอะไร รัฐอะไร และหากเราเรียกกลับจะกลับมาถึงภายในกี่วัน
- บอกว่าพ่อค้าของเราไปประจำในเขตการค้าไหนบ้าง และหากเราเรียกกลับจะกลับมาพร้อมส่งไปที่อื่นในกี่วัน
- บอกได้ว่านักสร้างอาณานิคมหรือ Colonist ของเราจะเดินทางไปถึงเมืองที่เราต้องการในกี่วัน และการสร้างดำเนินไปถึงขั้นไหนแล้ว (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่องสร้างอาณานิคมในข้อ ...)
- บอกว่าได้นักบวชที่เราส่งไปเปลี่ยนศาสนาในเมืองต่างๆดำเนินงานไปได้แล้วถึงไหน
- บอกว่าเรามีทหารอยู่กี่กอง ดูได้ว่าประจำอยู่เมืองอะไรบ้างโดยการคลิกที่ชื่อแต่ละกอง และประสบการสูญเสียต่อเนื่องจาก Attrition หรือไม่ (จากสัญลักษณ์หัวกระโหลดด้านหลังชื่อกองทหาร)
- บอกว่าเรามีเรืออยู่กี่กอง ดูได้ว่าประจำอยู่น่านน้ำอะไรบ้างโดยการคลิกที่ชื่อแต่ละกอง และประสบการสูญเสียต่อเนื่องจาก Attrition หรือไม่ (จากสัญลักษณ์หัวกระโหลดด้านหลังชื่อกองเรือ)
- ในยามสงคราม จะบอกว่าทหารของเรากำลังตีเมืองใดอยู่ และมีทหารพอจะเข้าตีหรือไม่ รวมถึงมีโอกาศชนะเท่าไรแล้ว ซึ่งรวมถึงหากทหารศัตรูมาตีเมืองเราด้วย
- อื่นๆอีกมากมาย เพราะผมนึกไม่ออกแล้ว ฮา
2.8 แถบกิจกรรมระหว่างรัฐ
แถบกิจกรรมระหว่างรัฐจะคอยนำเสนอความเป็นไปของรัฐต่างๆ โดยจะแสดงผลตามที่เรากำหนด เราสามารถจะเห็น 4 ช่องเล็กๆทางด้านล่างของแถบกิจกรรม ในส่วนนั้นจะเป็นตัวเลือกที่ใช้ปรับว่าข่าวจากรัฐไหนบ้างจะเข้ามาปรากฎในนี้ หรือเลือกเจาะจงประเทศใดประเทศหนึ่งเป็นพิเศษชนิดเกาะติดทุกสถานการณ์ โดยปกติผู้เล่นจะต้องคอยจับตาดูช่องนี้เสมอแบบไม่ให้คลาดสายตา เพราะมันเปรียบเสมือนหูตาของเรา บางครั้งการคลาดสายตาจากแถบนี้ไปนิดเดียว ท่านก็อาจพลาดโอกาสสำคัญในการขยายอาณาเขตไปได้อย่างน่าเสียดาย
หากเราคลิกเข้าไปในข่าวที่ปรากฎในแถบกิจกรรมระหว่างรัฐ จะปรากฎหน้าจอสี่เหลี่ยมพร้อมข้อความแบบทางการ พร้อมปรากฎปุ่ม 2 ปุ่ม คือ OK และ Go to โดยการกด OK ก็คือประมาณว่ารู้แล้ว ขอตัวไปบริหารประเทศต่อ แต่หากกด Go to ก็จะเป็นการไปดูรัฐนั้นๆ มักใช้ในกรณีที่เราไม่รู้จักรัฐนั้น แต่หากรู้จักกันดี ก็แค่โอเคไป
2.9 แถบกำหนดความเร่งเวลา
หน้าต่างแถบนี้จะแสดงถึงวันเวลาที่เราเล่นอยู่ในปัจจุบัน คะแนนรวมจากการเล่นทั้งหมด อันดับที่รวมของเราทั้ง 3 ด้านรวมกันคือด้านการบริหาร การฑูต การทหาร ซึ่งในที่นี้คือเลข 0 และแถบนี้ยังเป็นตัวกำหนดความเร็วของเกม โดยที่ปุ่มสีแดงขนาดใหญ่ที่ด้านมุมบนขวา จะเป็นการ Pause หรือ Unpause เกม เครื่องหมาย + และ - เป็นการเร่งหรือผ่อนความเร็วในเกมลง ซึ่งปกติจะใช้กันดังนี้
- ความเร็ว +5 เซ็งจัด ใช้ในขณะที่เราแน่ใจว่าไม่มีใครบุกเราแน่ๆ อาจเพราะรัฐเราแข็งแกร่งมากอยู่แล้ว หรือมีสัญญาสงบศึกอยู่กับทุกๆแคว้นใกล้บ้าน หรืออีกแบบก็คือว่างจัดกำลังรออะไรซักอย่างอยู่เช่น Westernize อันที่จริงแล้วความเร็วระดับนี้ไม่แนะนำให้ใช้เท่าไร เพราะหากเกิดเหตุสุดวิสัยเช่น โดนประกาศศึกใส่แบบกะทันหัน ก็จะทำให้เสียเวลาในการควบคุมทัพไปมาก และกลายเป็นฝ่ายเสียเปรียบไปในทันที
- ความเร็ว +4 สงบสุข เป็นความเร็วมาตรฐานในการเล่นเกมนี้ที่เหมาะสมที่สุด ไม่เร็วและไม่ช้าเกินไป ในยามสงบสุขแนะนำให้ใช้ความเร็วระดับนี้เอาไว้ก่อน
- ความเร็ว +3 บุก! จะใช้ในเวลาที่เราทำสงครามกับรัฐที่เรากำลังค่อนข้างมีเปรียบด้านการทหาร หรือเสียเปรียบนิดหน่อยแต่เป็นฝ่ายป้องกัน จะทำให้มีความละเอียดรอบคอบในการวางแผนเดินทัพ ตาม AI ได้ค่อนข้างดี แต่หากเป็นเวลาสงบสุขอาจจะช้าและเสียเวลามากจนเกินไปหากเล่นความเร็วนี้
- ความเร็ว +2 เครียด เมื่อทัพ 2 ฝ่ายที่มีกำลังทหารประสิทธิภาพใกล้ๆกันต้องต่อสู้กัน ชิงไหวชิงพริบในการเคลื่อนพลแบบวันต่อวัน (เกมนี้ความละเอียดระดับวันต่อวันแทบหมายถึงหากพลาดแล้วหายนะมาเยือน) หรือต้องต่อสู้กับรัฐที่มีกำลังพลเหนือกว่าและต้องพยายามรีบทำคะแนนสงครามหรือ Warscore เพื่อสงบศึกโดยเร็ว
- ความเร็ว +1 ชิล(จนเกินเหตุ) ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะต้องใช้ความเร็วนี้ นอกจากท่านสบายใจจนถึงขนาดมองดูทัพของท่านกับศัตรูสู้กันเท่านั้น
3. แผงควบคุมหลัก
หน้าต่างภายในแผงควบคุมหลักนั้นจะเป็นที่ๆสามารถดูรายละเอียดทั้งหมดภายในรัฐของเรา โดยจะแยกย่อยออกเป้น 11 หน้าต่างคือ รัฐบาล การฑูต เศรฐกิจ การค้า เทคโนโลยี ไอเดีย ภารกิจและการตัดสินใจ ความมั่นคงและการขยายอำนาจ ศาสนา การทหาร และรัฐใต้ปกครอง โดยจะแยกอธิบายเป็นส่วนๆดังนี้
3.1 แผงรัฐบาล
แผงควบคุมหลักในหัวข้อของรัฐบาลนั้นจะบ่งบอกถึงองค์ประกอบและข้อมูลสำคัญๆในเกมดังนี้
3.1.1 ระบอบการปกครอง จะแสดงรูปแบบการปกครองบ้านเมืองของเราว่าเป็นแบบไหนในปัจจุบัน และสามารถที่จะเปลี่ยนเป็นแบบไหนได้บ้าง ซึ่งการจะปลดล๊อกระบอบการปกครองแบบใหม่ๆจะต้องมีเทคโนโลยีการบริหารถึงขั้นที่กำหนดเท่านั้น โดยเราสามารถกดเปลี่ยนโดยการคลิกที่รูปมงกุฎในวงกลมที่ล้อมรอบด้วยสีแดงในภาพ แล้วเลือกรูปแบบที่เราต้องการ โดยจะลดค่าความชอบธรรมในการสืบราชบัลลังค์ลงประมาณ 50 ในระบอบประมุข หรือลดค่าความนิยมในระบอบมหาชนรัฐลงประมาณ 50 ในระบอบมหาชนรัฐเช่นเดียวกัน
![]() |
หน้าตาของแผงระบอบการปกครอง |
![]() |
หน้าต่างเวลาต้องการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง |
ซึ่งในที่นี้จะขออธิบายเกี่ยวกับค่า Claim กันตรงนี้เลย ซึ่งค่านี้จะอยู่ต่อจากอายุของรัชทายาทของเรา โดยเจ้าค่า Claim ตัวนี้นั้น จะเป็นตัวที่จะส่งผลโดยตรงเมื่อกษัตริย์เราขึ้นครองราชย์ (ก็คือไอรัชทายาทในรัชกาลก่อนคนนั้นน่ะแหละ งงไหม?) โดยจะส่งผลกระทบโดยตรงกับค่าความชอบธรรมในการครองบัลลังค์ หรือ Legitimacy เป็นค่าที่จะรีเซ็ตใหม่ทุกครั้งเมื่อเปลี่ยนบัลลังค์ ซึ่งแต่ละระดับจะส่งผลดังนี้
![]() |
ค่า Legitimacy |
2. ค่า Claim เป็น Average เมื่อขึ้นเป็นกษัตริย์จะมีค่าความชอบธรรมเป็น 51 ซึ่งผลคือ - ลดความเสี่ยงในการเกิดกบฎ 0.06 หน่วย - เพิ่มค่าความยอมรับในศาสนานอกรีตหรือศาสนาอื่นๆ 0.02 หน่วย - ชื่อเสียงในด้านการฑูตเพิ่มขึ้น 0.06 หน่วย // คือทำให้โบนัสจากการที่เรามีค่าความชอบธรรมมากกว่าครึ่งหายไปทั้งหมด และใช้เวลาในการฟื้นค่านี้นานมาก เพราะปกติเกมนี้จะเพิ่มแค่ประมาณปีละ 1 เท่านั้น
3. ค่า Claim เป็น Low เมื่อขึ้นเป็นกษัตริย์จะมีค่าความชอบธรรมเป็น 1 ซึ่งผลคือ - เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดกบฎ 3 หน่วย - ลดค่าความยอมรับในศาสนานอกรีตหรือศาสนาอื่นๆ 0 หน่วย - ชื่อเสียงในด้านการฑูตลดเป็น 0 หน่วย // ถ้าค่านี้ลดลงไปขนาดนี้แล้วท่านโชคดีได้รัชทายาทที่ทั้งเก่งกว่าและ Claim เป็น Strong ก็แนะนำให้เอากษัตริย์นี่ไปรบให้ตายๆไปเลยครับ กรณี Claim เป้น low แล้ว Legitimacy ต่ำกว่า 10 บางครั้งหากกษัตริย์คนนี้ตายไปตั้งแต่ค่า Legitimacy ยังไม่ฟื้น อาจโดนควบรวมดินแดนทันทีเลยก็ได้ ดังนั้นก็อย่างว่า เอามันตายๆไปก็ดี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นท่านก็ต้องลองดุในหน้าต่างการฑูตของตัวเอง แล้วเอาเมาส์ไปวางเหนือชื่อกษัตริย์ดูว่าหากคนี้ตายไปจะเกิดอะไรขึ้นเสียก่อนด้วย (หน้าต่างในข้อ 3.2.1 ที่เป็นชื่อ king Felipe IV Rurikovich )
นอกจากนี้หากท่านมีรัชทายาทที่มีค่า Claim เป็น Low ก็ยังเสี่ยงกับการที่รัฐที่ท่านมีการแต่งงานข้ามราชวงศ์ด้วย จะทำการ Claim throne ซึ่งเมื่อไรก็ตามที่เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น รัฐนั้นๆจะสามารถประกาศศึกกับเราเพื่อแย่งชิงตำแหน่งกษัตริย์ไปได้ (อธิบายรวมในหัวข้อ 3.2 เรื่องการฑูต)
**ในกรณีที่ท่านไม่มีรัชทายาทอ่านเพิ่มเติมในหัวข้อ 3.2.2.4 ข้อย่อย Royal Marriage
3.1.3 วัฒนธรรม **ข้อนี้สำหรับผู้เล่นใหม่ข้ามได้เลยครับ
ในส่วนแถบนี้จะแสดงถึงกลุ่มของวัฒนธรรมที่เป็นที่ยอมรับภายในอาณาจักรของเรา โดยจะอธิบายแยกย่อยได้ โดยเมื่อเราเอาเมาส์ไปวางเหนือตัวอักษรในช่องของหัวข้อวัฒนธรรม จะเห็นเป็นรายละเอียดเพิ่มเติมดังภาพใหญ่ด้านบน ซึ่งในที่นี้ข้อย่อยแรกนั้นเขียนว่า "Their primary culture is Turkish, Turkish is in the Turko-Semitic group" แปลว่ากลุ่มวัฒนธรรมของเรายอมรับวัฒนธรรมในสายตุรกีหรือ Turkish เป็นหลัก แต่เราก็เป็นส่วนหนึ่งในกลุ่มใหญ่ซึ่งก็คือ Turko-Semitic ทำให้เราสามารถยอมรับวัฒนธรรมย่อยๆเหล่านั้นได้บ้างเช่นกัน
![]() |
กลุ่มที่วงกลมคือวัฒนธรรมรองที่เรา(พอจะ)ยอมรับได้ |
![]() |
กลุ่มวัฒนธรรมหลักแบบไม่ถาวร |
1. กลุ่มวัฒนธรรม Bulgaria มีค่าภาษีมาตรฐาน 17 กลุ่มวัฒนธรรม Greek มีค่าภาษีมาตรฐาน 27
2. กลุ่มวัฒนธรรมหลักของออตโตมันซึ่งคือ Turkish มีค่าภาษีมาตรฐาน 51
3. เมื่อเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์แล้วกลุ่ม Bulgaria ต่อ Turkish จะเป็น 33 เปอร์เซ็นต์ ส่วนกลุ่ม Greek ต่อ Turkish จะเป็น 53 เปอร์เซ็นต์
4. ดังนั้นกลุ่มวัฒนธรรม Bulgaria จะเลิกเป็นที่ยอมรับเมื่อออตโตมันมีค่าภาษีมาตรฐานรวมเป็น 171 ส่วน Greek จะเลิกเป็นที่ยอมรับเมื่อออตโตมันมีค่าภาษีมาตรฐานรวมเป็น 271 หรือคิดง่ายๆก็คือเมื่อค่าภาษีมาตรฐานรวมของรัฐนั้นๆมากกว่า 10 เท่าของค่าภาษีมาตรฐานรวมของที่ได้จากเมืองในวัฒนธรรมนั้นๆนั่นเอง
* ข้อควรจำ ปกติข้อมูลในส่วนนี้ไม่จำเป็นเลย แต่รู้ไว้ก็ไม่เสียหายอะไรนัก ส่วนเรื่องที่จำเป็นเกี่ยวกับหัวข้อวัฒนธรรมนี้จะพูดเมื่อถึงหัวข้อเกี่ยวกับการรบขยายดินแดนนะครับ
** เสริม วิธีดูค่าภาษีมาตรฐาน หรือ Base tax ของแต่ละเมืองดูภาพด้านล่างประกอบ
![]() |
ให้คลิกไปที่เมืองไหนก็ได้ แล้วดูที่ตำแหน่งในภาพนั่นคือ Base tax ของเมืองนั้นๆ |
![]() |
ให้คลิกไปที่เมืองใดๆก็ได้ แล้วคลิกไปที่ปุ่มนี้ จะกินเวลาในการเปลี่ยน 2 ปีเสมอ |
จากที่กล่าวมาข้างต้น คงจะต้องอธิบายเพิ่มเติมสำหรับผลกระทบจากการมีเมืองที่มีวัฒนธรรมต่างกันทั้ง 3 แบบด้วย อันมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ครับ
- กลุ่มวัฒนธรรมหลักจะถาวรหรือชั่วคราวก็แล้วแต่ ในที่นี้ได้แก่ Turkish , Greek และ Bulgaria จะไม่ส่งผลเสียเลยภายในรัฐของเรา การถือครองเมืองที่มีวัฒนธรรมหลักจะให้ทรัพยากรจากเมืองนั้นๆเต็มที่ เช่น เมืองนี้มีทหารกองกำลังสำรองมาตรฐาน 50 คน ก็จะได้ทั้ง 50 มีค่าภาษีมาตรฐาน 8 ก็จะได้ 8 และยังรวมถึงเมืองพวกนี้จะก่อกบฎยากมากอีกด้วย
![]() |
วัฒนธรรมหลัก |
- กลุ่มวัฒนธรรมที่เราพอจะรับได้ ในที่นี้ก็คือวัฒนธรรมในกลุ่ม Turko-Semitic ทั้งหมดนอกจาก Turkish ได้แก่ Maghrebi , Egyptian , Syrian , Mashriqi , Bedouin และ berber จะส่งผลหากเรามีเมืองที่มีวัฒนธรรมเหล่านี้ 2 ประการ คือ - ภาษีที่เก็บได้จากเมืองนั้นลดลง 15 เปอร์เซ็นต์ - กองกำลังสำรองที่จะเกณฑ์ได้จากเมืองนั้นลดลง 15 เปอร์เซ็นต์ โอกาศเกิดกบฎยากเท่าๆกันกับกลุ่มวัฒนธรรมหลัก
![]() |
วัฒนธรรมในกลุ่มชาติพันธ์เดียวกับเรา |
- กลุ่มวัฒนธรรมที่ไม่เป็นที่ยอมรับ เช่นเราไปยึดดินแดนในแถบยุโรป หรือดินแดนอื่นๆ ที่ไม่ได้มีชาติพันธ์เดียวกับเรา จะส่งผลเสียดังนี้ - เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกบฎในเมืองนั้น 2 หน่วย - ภาษีที่ได้จากเมืองนั้นลดลง 33 เปอร์เซ็นต์ - ความสามารถในการเปลี่ยนศาสนาของนักบวชเราในเมืองนั้น -2 หน่วย - กองกำลังสำรองที่เกณฑ์ได้จากเมืองนั้นลดลง 33 เปอร์เซ็นต์ // แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การเปลี่ยนกลุ่มวัฒนธรรมในเมืองเหล่านี้ เมื่อคำนวณดูจะได้ไม่คุ้มเสีย เพราะเทียบกับค่าภาษีมาตรฐานเป็น 1 ในเมืองใดๆ จะกินค่า MP ในข้อ DIP มากถึง 25 หน่วย หากเมืองนั้นมีค่าภาษีมาตรฐานเป็น 6 ก็จะกินมากถึง 150 ซึ่งทำให้เรานำไปวิจัยเทคโนโลยี หรือไอเดียช้ากว่าเดิมมาก ดังนั้น **ไม่ต้องจำเป็นเปลี่ยนกลุ่มวัฒนธรรมในเกมนีเลยนอกจากท่านมีค่า DIP มากเกินต้องการเท่านั้น
![]() |
วัฒนธรรมที่ไม่เป็นที่ยอมรับของเรา |
แถบนี้จะแสดงถึงปัจจัยหรือเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อด้านต่างๆของรัฐเราทั้งหมด ซึ่งตัว Modifier ต่างๆนั้น จะได้มาจาก 4 ปัจจัยหลัก คือ การสุ่มอีเวนท์ในเกม การออกกฎหมาย ซึ่งจะกล่าวในหัวข้อ... การทำภารกิจ triggered modifier และการถือครองส่วนแบ่งมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ในตลาดของสินค้าแต่ละชนิด
ค่า Modifier นั้นมีทั้งดีและไม่ดี ตามปกติเวลาเล่นๆอยู่แล้วไม่มีอะไรทำ ก็ควรจะแวะมาดูค่านี้เอาไว้บ้าง เพื่อจะได้รู้ว่าตอนนี้รัฐของเรากำลังมี Modifier ที่ได้เปรียบในด้านไหน หรือเสียเปรียบในด้านไหนอยู่ โดยการเอาเมาส์ไปวางเหนือ Modifier แต่ละตัว ซึ่งผมจะไม่ขออธิบายนะครับ เพราะมันเยอะมากจริงๆ หากไม่เข้าใจในข้อไหนก็แนะนำให้ใช้ดิกชันนารี่ หรือกูเกิลแปลภาษาแปลดู
**เสริม วิธีการดู Triggered modifier หรือค่า Modifier ที่สามารถปลดล๊อกได้โดยการทำเงื่อนไขให้ครบ
![]() |
หน้าต่าง Triggered Modifier |
จะเห็นได้จากภาพด้านบน เมื่อเราคลิกที่กล่องสี่เหลี่ยมเล็กที่มุมขวาล่างของจอ (ที่ลูกศรภาพด้านบนชี้ไป) จะปรากฎหน้าต่างบอกถึง Modifier ที่ปลดล๊อกได้ทั้งหมด หากเราเอาเมาส์ไปไว้หลังตัวเลขที่มีรูปแบบเป็น ?/? ก็จะขึ้นเงื่อนไขเหมือนกับที่อยู่ในกล่องสี่เหลี่ยมด้านบน
3.1.5 แถบที่ปรึกษาและค่า Monarch point รวม
**หมายเหตุ ที่ปรึกษาที่เป็นตัวเอียงและขีดเส้นใต้คือที่ปรึกษาที่ส่งผลกระทบแบบเห็นได้ชัดเจนทันทีเมื่อจ้างมา
3.1.5.1 ที่ปรึกษาด้านการบริหาร หรือ ADM adviser
- Artist ศิลปิน // ลดค่า ADM ที่ต้องใช้เพิ่มค่าความมั่นคงภายในหรือ Stability ลง 10 เปอร์เซ็นต์
- Inquisitor เจ้าหน้าที่สอบสวนพวกนอกรีต // เพิ่มค่าความสามารถของนักบวชในการเปลี่ยนศาสนาเมืองต่างๆ 2 เปอร์เซ็นต์
- Master of mint เจ้าหน้าที่การเงิน // ลดภาวะเงินเฟ้อหรือ Inflation ลง 0.10 ต่อปี ควรใช้ก็ต่อเมื่อเรามีค่าเงินเฟ้อมากกว่าหรือเท่ากับ 6 เพราะจะทำให้การจ้างท่ปรึกษาแพงกว่าเดิมหลายเท่าหากเงินเฟ้อขนาดนี้
- Natural scientist นักวิทยาศาสตร์ // เพิ่มอัตราการผลิตสินค้าภายใน 10 เปอร์เซ็นต์
- Philosopher นักปรัชญา // เพิ่มค่าเกียรติยศต่อปี 1 หน่วย
- Theologian นักศาสนศาสตร์ // ลดโอกาสเกิดกบฎ 3 หน่วยทั่วอาณาจักร
- Treasurer นักการคลัง // เพิ่มอัตราภาษีที่เก็บได้ 5 เปอร์เซ็นต์
3.1.5.2 ที่ปรึกษาด้านการฑูต หรือ DIP adviser
- Colonial governer เจ้าหน้าที่บริหารอาณานิคม // เพิ่มภาษีศุลกากรในอาณานิคม 10 เปอร์เซ็นต์ อันนี้ใช้เฉพาะประเทศที่มีอาณานิคมในอเมริกาเยอะๆเท่านั้น ไม่อย่างนั้นก็ไม่มีประโยชน์อะไรเลย)
- Diplomat นักการฑูต // ความสัมพันธ์ของเรากับรัฐเพื่อบ้านจะดีกันเร็วขึ้น 30 เปอร์เซ็นต์ ใช้เมื่อประเทศต่างๆเกลียดเรา จะทำให้คืนดีกันเร็วขึ้น 30 เปอร์เซ็นต์ แต่หากดีกันอยู่แล้วก็ไม่จำเป็นเลย
- Naval reformer นักปฏิรูปทัพเรือ // เพิ่มกำลังใจสำหรับกองเรือ 10 เปอร์เซ็นต์
- Navigator นักเดินเรือ // เพิ่มระยะการสร้างอาณานิคม 20 เปอร์เซ็นต์ ควรใช้เฉพาะรัฐที่มีการล่าอาณานิคมเป็นภารกิจหลักเท่านั้น หากล่าเล็กๆน้อยๆก็ไม่ำเป็น
- Spy Master หัวหน้าสายลับ // เพิ่มโอกาสตรวจพบแผนร้ายจากรัฐอื่นๆ 10 เปอร์เซ็ต์ อันนี้ไร้ค่ามากไม่จำเป็นไม่ต้องไปจ้างครับ
- Statesman นักการเมือง // เพิ่มชื่อเสียงในด้านการฑูต (Diplomatic reputation) ขึ้น 5 หน่วย ทำให้โอกาสในการดำเนินงานทางการฑูตเพิ่มขึ้นอย่างมาก หรืออาจทำให้เมืองอื่นๆยอมมาอยู่เป็นเมืองขึ้นเราได้เลยหากประกอบกับค่าอื่นๆไว้เยอะ
- Trader พ่อค้า // เพิ่มความสามารถในการค้าองค์รวม 10 เปอร์เซ็นต์
3.1.5.3 ที่ปรึกษาด้านการทหาร หรือ MIL adviser
- Army organiser นักจัดการระบบกองทัพ // เลี้ยงดูทหารเกินจาก Limit ได้ 10 เปอร์เซ็นต์ (วิธีดู limit หัวข้อ ...)
- Army reformer นักปฏิรูปกองทัพ // เพิ่มกำลังใจทหาร 10 เปอร์เซ็นต์
- Commandant ผู้บัญชาการกองทัพ // เพิ่มระเบียบวินัยในกองทัพ 5 เปอร์เซ็นต์ มีประโยชน์มาก เวลาจำเป็นต้องสู้กับกองทหารของรัฐที่มีความสามารถด้านการทหารใกล้ๆกัน ค่าระเบียบวินัยส่งผลแบบเดียวกับ Combat skill หรือฝีมือการรบ ที่จะได้จากเทคโนโลยีและไอเดีย
- Grand captain แปลไม่ถูก -*- // ลดค่าเลี้ยงดูทหารลง 10 เปอร์เซ็นต์
- Master recruiter ผู้ชำนาญการเกณฑ์พล // เพิ่มทหารกองกำลังสำรอง 10 เปอร์เซ็นต์
- Military engineer วิศวกรทหาร // เพิ่มการป้องกันเมือง 10 เปอร์เซ็นต์
- Quartermaster ผู้ชำนาญการประสานงานทหาร // ส่งกองกำลังสำรองไปแนวหน้าเร้วขึ้น 33 เปอร์เซ็นต์
3.2 แผงการฑูต
3.2.1 แผงข้อมูลการฑูตของรัฐเรา
![]() |
อันนี้คือแผงข้อมูลการฑูตของรัฐเราอย่างเดียว |
สำหรับหน้าต่างนี้เมื่อเราเข้ามาแล้วจะเป็นข้อมูลทางการระหว่างรัฐของเรากับรัฐที่เรามีความสัมพันธ์ด้วยทั้งหมด โดยจะแยกอธิบายเป็นส่วนๆดังนี้
3.2.1.1 ค่าความสัมพันธ์จำกัดและชื่อเสียงทางการฑูต (Diplomatic relation and Diplomatic reputation)
- Diplomatic Relation หรือในภาพที่อยู่ด้านบนเป็นรูปมือจับกันอยู่ จะแสดงถึงความสัมพันธ์ของท่านกับรัฐอื่นๆว่าสามารถมีได้เท่าไร ซึ่งกรณีที่จะกินค่านี้ได้แก่ การแต่งงาน การเป็นพันธมิตร การมีเมืองขึ้น การขอเดินผ่านแดนรัฐอื่น การมีรัฐในอารักขา การขอใช้ท่าเรือ และการรับรองอิสระภาพของรัฐต่างๆ การกระทำทั้งหลายนี้กับรัฐหนึ่งรัฐใดก็ตาม จะกินค่าความสัมพันธ์ 1 หน่วย หากเกินจาก limit เมื่อไรแล้ว ก็จะกินค่า Dip ที่จะเพิ่มต่อเดือนลงตามจำนวนที่เกิน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหากเราทำการฑูตกับรัฐๆหนึ่งไปแล้ว เราก็สามารถทำการฑูตแบบอื่นๆ (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมในหัวข้อต่อไป)กับรัฐนั้นๆเพิ่มได้โดยกินค่าแค่ 1 งงไหม? มีตัวอย่างให้แล้วกัน
**ตัวอย่างความสัมพันธ์ทางการฑูต ผมเล่นเป็นรัฐ A มีเพื่อนบ้านคือ รัฐ B , C และ D ผมมี Diplomatic limit คือ 2 ซึ่งผม เป็นพันธมิตร และ แต่งงาน กับรัฐ B แล้วผมก็ รับรองอิสระภาพ ให้รัฐ C ส่วนรัฐ D นั้นผมให้มัน เดินผ่านแดนเรา ได้ ซึ่งในกรณีนี้จะกินค่าความสัมพันธ์ 2 เท่านั้น เพราะในกรณีรัฐ B จะกินค่านี้ 1 ก็ตามหลักที่ว่า "รัฐใดๆ เมื่อมีความสัมพันธ์ทางการฑูตที่กินค่าความสัมพันธ์กันและกันแล้ว จะทำการใดๆที่เกี่ยวข้องกับการฑูตกับรัฐคู้่กรณีเพิ่มได้เสมอ" ส่วนกรณีรัฐ C ก็เป็นหนึ่งในการกระทำที่กินความสัมพันธ์ทางการฑูตอยู่แล้ว ส่วนรัฐ D ไม่ใช่ ความสัมพันธ์ที่กินค่านี้ ดังนั้นจึงไม่เสียช่องการฑูตไป
- Diplomatic reputation หรือที่ในภาพจะเห็นเป็นรูปหัวใจสีแดงอยู่หน้านก ถ้าเป็นผมเรียก ก็จะเรียกว่าค่าชื่อเสียงด้านการฑูต เป็นค่าที่ยิ่งมีมากก็ยิ่งจะส่งผลให้การดำเนินการทางการฑูตโดยเฉพาะ การขอเป็นพันธมิตร และการขอให้เมืองที่เล็กกว่ามาเป็นเมืองขึ้น สามารถดำเนินการได้ง่ายขึ้นอย่างยิ่ง เพราะทั้งสองอย่างนี้บางทีทำไม่ได้เพราะติดเงื่อนไขเพียงนิดเดียวเท่านั้นเช่นยังขาดอีกความสัมพันธ์อีก -2 ถึงจะขอให้แคว้น A ซึ่งเป็นเมืองเล็กๆใกล้เรามาเป็นเมืองขึ้นได้ หากมีค่านนี้ก็สามารถสำเร็จได้ง่ายๆ
จากภาพด้านบนผม (เป็นสเปน) จะพยายามขอให้รัฐบริแตนนี่มาเป็นเมืองขึ้น ซึ่งตามปกติก็คงจะไม่ได้ แต่ในที่นี้ผมที่ค่า Diplomatic reputation 11 ทำให้ผมสามารถขอรัฐนี้ซึ่งมีเมืองถึง 4 เมืองมาเป็นเมืองขึ้นได้โดยไม่ต้องยึดด้วยกำลัง
มาถึงตอนนี้หลายท่านอาจจะเริ่มคิดว่า เอ๊ะ! แล้วจะไปเอาไอค่านี่มาได้ยังไง ซึ่งผมจะขออธิบายต่อไปเลยครับ มี 5 วิธี ได้แก่
- การเป็นเจ้าตลาดในสินค้างาช้างหรือ Ivory ซึ่งการจะเป็นเจ้าตลาดสินค้าในชนิดนี้ก็ไม่ได้ยากมาก เพียงแค่บุกเบิกแอฟริกาให้ได้เยอะๆ เพราะงาช้างจะกระจายอยู่มากเต็มแอฟริกา โดยเน้นไปที่แถบชายฝั่งแอฟริกาตะวันออก เพราะจะมีมากที่สุดเกือบตลอดแนวชายฝั่ง หากทำได้จะบวกค่านี้ 5
- การจ้างที่ปรึกษาการฑูตตัว Statesman จะเพิ่มแบบไม่ต้องลงทุนลงแรงทีเดียว 5 ซึ่งหากมีเจ้าที่ปรึกษาตัวนี้แบบสกิล 1 หรือ 2 มา ผมจ้างไม่เว้นประโยชน์คุ้มมาก
- การมีค่า Legitimacy มากกว่า 50 ซึ่งถ้าหากมีครบ 100 เต็ม ก็จะได้ค่านี้ไปเลย 2.5 ไล่ลงไปตามค่าความมั่นคงในการสืบบัลลังค์ของเรา (หากต่ำกว่า 50 ค่านี้ก็จะต่ำลงเช่นกัน หากเป็น 0 ก็ไปถึง -2.5)
- อีเวนท์สุ่ม Enhanced Reputation จะสุ่มเมื่อเรามีค่า Legitimacy สูงๆ หากเกิดอีเวนท์นี้จะเพิ่มค่านี้ 5 ทันทีไป 5 ปี นับจากวันที่ได้
- ไอเดียกลุ่มการฑูต ในหัวข้อ Diplomatic idea ในระดับ 7 เพิ่มค่านี้ทันที 5 (อธิบายเรื่องไอเดียในหัวข้อ...)
3.2.1.2 ศัตรูและอริ (Enemy and rival)
ศัตรู (Enemy) ในภาพด้านบนคือรัฐที่มีสัญลักษณ์ประจำแคว้นอยู่บนแถวบน ในที่นี้มีอยู่ 5 รัฐ รัฐใดๆก็ตามที่มาปรากฎบนนี้ ให้ท่านตระหนักเลยว่ารัฐเหล่านี้มองท่านเป็นศัตรู และถ้ามีโอกาสมันก็จะถล่มเราทันที เช่น เวลาที่เรารบจนกำลังสำรองเหลือน้อยมากๆ หรือรบกับรัฐอื่นติดพันโดยไม่มีทหารเฝ้าอยู่ในพื้นที่ของตนเอง การทำการฑูตกับรัฐเหล่านี้ ไม่สามารถร้องขออะไรได้เลย ไม่ว่าจะการขอแต่งงาน ขอเป็นพันธมิตร หรือแม้แต่เดินทัพผ่าน
อริ (Rival) จะอยู่ถัดลงมาด้านล่างของสัญลักษณ์ศัตรู โดยในที่นี้เราสามารถกำหนดอริของเราเองได้ โดยเมื่อกำหนดแล้ว ก็จะได้โบนัสดังนี้
- ศัตรูของรัฐนั้นๆ หรือรัฐที่ตั้งรัฐนั้นๆเป็น Rival ด้วย จะเพิ่มค่าความสัมพันธ์ของเรากับรัฐนั้นๆ 20 เมื่อผ่านไปหลายๆเดือน
- หากเรารบชนะรัฐนั้นๆ จะเพิ่มค่าเกียรติยศที่จะได้จากการรบ 25 เปอร์เซ็นต์ เช่น ปกติรบได้ค่าเกียรติยศ 10 ก็จะได้เป็น 12.5 แทน
- หากตั้งแล้ว เมื่อไรก็ตามที่เราคว่ำบาตรทางการค้าใส่รัฐนั้นๆ (Embargo ซึ่งจะอธิบายในหัวข้อ...) เราจะไม่สูญเสียรายได้ของตนเอง แต่อีกฝ่ายเสียเท่าเดิม
- ลดโอกาศที่อีกฝ่ายจะทำการฑูตที่ไม่ดีกับเราได้ 20 เปอร์เซ็นต์ เช่น อ้างสิทธิ์เหนือดินแดนเา สนับสนุนกบฎ หรือทำลายความสัมพันธ์ของเรากับรัฐอื่นๆ
- ลดค่า DIP เมื่อเรียกร้องดินแดนจากรัฐนั้นๆ 33 เปอร์เซ็นต์
**ตามปกติแล้วเราไม่จำเป็นต้องตั้ง Rival เพราะจะเป็นการสร้างศัตรูโดยใช่เหตุ ในกรณีของผู้เขียนนี้ เคยตั้ง Netherlands เพียงครั้งเดียวเท่านั้นจากการเล่น 600 ชั่วโมง เพราะมันเป็นภารกิจ (อธิบายเรื่องภารกิจในหัวข้อ...)
3.2.1.3 ความสัมพันธ์ทางการฑูตของเรากับรัฐอื่นๆ
สำหรับหน้าต่างตรงส่วนนี้จะแสดงความสัมพันธ์ของเรากับรัฐอื่นๆทั้งหมดที่เรามีการทำการกระทำทางการฑูตด้วย สามารถย้อนกลับไปอ่านความสัมพันธ์ต่างๆได้ที่ข้อ 1.3.5 ครับ วิธีดูก็แค่เอาเมาส์ไปวางไว้ตรงรูปภาพหน้าแถวของสัญลักษณ์แทนรัฐที่จะเรียงกันอยู่ครับ
3.2.1.4 สร้างเมืองขึ้นปกครองตนเอง หรือ Create vassals
สำหรับในส่วนนี้โดยส่วนตัวแล้วผมไม่เคยใช้เลย มันก็คือการปล่อยเมืองที่คุณยึดมาเป็นของคุณแล้ว ให้มีอิสระในการปกครองตนเองอีกครั้ง จะใหญ่หรือจะเล็กก็ตามแต่ขนาดของเมืองก่อนจะยึดมา และก็แล้วแต่ว่ายังเหลือ Core อยู่กี่เมืองด้วย ซึ่งจะทำให้รัฐใกล้เคียงรู้สึกไว้ใจคุณมากยิ่งขึ้นว่าคุณไม่ใช่พวกบ้าอำนาจ หรือที่เรียกว่ามี Aggressive expansion เยอะๆ (อธิบายในหัวข้อพิเศษ...)
3.2.2 แผงการฑูตของรัฐอื่นๆ หรือเรียกว่าหน้าต่างการฑูต
![]() |
คลิกขวาที่เมืองใดก็ได้ของรัฐอื่นๆจะขึ้นหน้าต่างนี้มาให้ทำการฑูตกับรัฐนั้นๆได้ |
จากภาพด้านบน ในวงกลมสีแดงนั้นคือสัญลักษณ์แสดงถึงตัวฑูตของเรา โดยจะมีตัวเลขกำกับอยู่เช่น 1/3 ในกรณีด้านบน แปลว่าผมมีฑูตที่สามารถส่งไปในดินแดนอื่น 1 คน ส่วนอีก 2 คนยังอยู่ต่างประเทศหรือกำลังเดินทางกลับประเทศอยู่แต่ยังมาไม่ถึง สามารถดูรายละเอียดได้ในแถบข้อมูลรวมหรือ Outliner ที่ผมทำกรอบสีแดงในภาพไว้ โดยดูได้ว่าฑูตของเราประจำอยู่ที่ไหน หรือกำลังเดินทางกลับมาประเทศหรือเปล่า ซึ่งในที่นี้ฑูตของผมคนหนึ่งที่ชื่อ Sinan Gircu กำลังเดินทางกลับ และจะใช้งานได้อีกครั้งเมื่อถึงเวลาอีก 61 วัน
ปล. เมื่อเราส่งฑูตไปรัฐใดๆก็ตาม หากเราต้องการจะส่งฑูตอีกคนไปดำเนินการอย่างอื่นจ ะต้องรออีก 1 เดือนเสมอ ตัวอย่างเช่น ผมส่งฑูตไปทำสัมพันธไมตรีวันที่ 2 มกรา ก็จะส่งอีกคนหรือคนเดิมไปได้อีกทีในวันที่ 2 กุมภา เป็นต้น
**สำคัญอีกเช่นกัน หลักการดูจำนวนพ่อค้า นักสร้างอาณานิคม ฑูต และนักบวชจะมีวิธีการดูเหมือนๆกัน คือสัญลักษณ์ด้านบนแสดงจำนวนคนที่ว่างงานอยู่มีแบบคือ X/Y เมื่อ X เป็นจำนวนเต็มบวกใดๆที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ Y เสมอ และแถบ Outliner จะแสดงถึงที่ๆพวกเขาไปอยู่ วันที่เดินทางกลับถึงรัฐเรา และหากเอาเมาส์ไปวางบนชื่อเขาเหล่านั้น ก็จะบ่งบอกเมืองที่ไปอยู่และอัตราการดำเนินงานว่าทำงานไปถึงไหนแล้ว
สำหรับหน้าจอนี้นับได้ว่ามีความสำคัญมากถึงมากที่สุดในเกมเลยก็ว่าได้ การจะประกาศสงคราม การหาพันธมิตร ขอเดินผ่านแดน และการกระทำแทบทุกๆอย่างที่เกี่ยวข้องกับรัฐอื่นๆแทบไม่สามารถกระทำได้หากไม่ผ่านหน้าต่างการฑูตนี้เสียก่อน ดังนั้นการกระทำทางการฑูตทั้งหมดจะต้องขออธิบายโดยละเอียดถึงละเอียดที่สุด ในทุกๆการกระทำดังนี้
หัวข้อการฑูตต่างๆ **ข้อย่อยทำเป็นสีเขีบวนะครับ
3.2.2.1 การประกาศสงคราม (Declare war) การจะประกาศสงครามกับรัฐใดรัฐหนึ่งนั้น จำเป็นจะต้องมีเหตุแห่งสงครามหรือ Casus belli มิเช่นนั้นจะต้องเสียค่าความมั่นคงภายในทันที 2 หน่วย ซึ่งถือว่าเยอะมากทีเดียว โดยผมจะขอพูดถึง Casus belli หรือเหตุแห่งสงครามสำคัญอันที่สำคัญๆ และใช้กันบ่อยๆต่อไปเลยนะครับ
หัวข้อย่อย Casus Belli สำคัญๆ
- Conquest // สำหรับเหตุแห่งสงครามอันแรกนี้เป็นอันที่ใช้กันมากที่สุด การจะขยายอาณาจักรก็จะใช้ข้อนี้เป็นสำคัญ เพราะทำได้ง่ายและใช้ได้กับทุกรัฐที่มีชายแดนติดกับเรา เป็นการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนนั้น เงื่อนไขในการได้เหตุแห่งสงครรามนี้ได้แก่
1. มีเมือง Core ของเราติดกับเมือง Core ฝ่ายตรงข้าม ติดในที่นี้ยังรวมถึงอยู่ในเขตทะเลเดียวกันเช่น เมืองลิกอร์หรือประจวบในปัจจุบัน อยู่ไม่ได้ติดกับเมืองระยองเพราะมีอยุธยากั้นอยู่ แต่แชร์แบ่งเขตอ่าวไทยด้วยกันก็ สามารถทำได้
2. เมื่อมีเงื่อนไขในข้อ 1 แล้ว ก็ให้เปิดหน้าต่างการฑูตกับรัฐนั้นๆ แล้วไปที่ Covert action แล้วจึงเลือก Fabricate Claim
3. รอเวลาจนครบ 1 ปีก็จะได้เหตุแห่งสงครามอันนี้มา และสามารถประกาศสงครามได้
สำหรับ Conquest casus belli เป้าหมายหลักของผู้ประกาศสงครามหรือฝ่ายรุกก็คือยึดเมืองที่ตัวเองอ้างสิทธิ์ให้ได้ไวที่สุด และทำ Warscore โดยการยึดเมืองของฝ่ายรับให้เยอะที่สุด ส่วนฝ่ายป้องกันก็เพียงแค่ป้องกันเมืองนั้นเอาไว้เป็นสำคัญ และหากเป็นไปได้ก็ปกป้องเมืองอื่นๆให้ถูกยึดช้าที่สุด เพียงป้องกันให้สภาพกลายเป็นทำอะไรกันไม่ได้ จะทำให้คะแนนสงครามหรือ Warscore ของฝ่ายป้องกันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และฝ่ายรุกจะแพ้ไปเอง
- Reconquest // จะเกิดขึ้นในกรณีที่เมืองของเราถูกอีกฝ่ายยึดไป บางทีก็อาจเป็นผลพวงติดมาตั้งแต่เพิ่งเริ่มเกม เช่นในรัฐ Timurid และ Ottoman แปลว่าเรามีเมืองที่ชอบธรรมหรือ Core ของเราแล้วถูกคนอื่นยึดไปโดยไม่สามารถเอาคืนได้ สำหรับการประกาศศึกโดยใช้ตัวนี้เป็นข้ออ้างจะมีลักษณะเดียวกับ Conquest casus belli ทุกประการ
- Holy war // หรือสงครามศักดิ์สิทธิ์ จะทำได้เฉพาะเมืองต่างศาสนากับเราหรือเมืองนอกรีตเท่านั้น มีเงื่อนไขในการได้ดังนี้
1. มีเมือง Core ติดกับรัฐต่างศาสนาหรือนอกรีตของศัตรู
2. ปลดล๊อกไอเดียสาย Administration ในหัวข้อ Religious idea อันแรกที่ชื่อ "Deus Vult" หรือหากเป็นคาทอลิก เมื่อรัฐที่ควบคุมสันตะปาปาสั่งเรียกครูเสดใส่อิสลามรัฐใดๆแล้วรัฐอิสลามนั้นๆมีดินแดนติดกับเรา ก็จะได้ Holy war casus belli เช่นกัน
สงคราม Holy war จะได้ Warscore ง่ายมากหากท่านสามารถรบชนะทัพของอีกฝ่ายได้เรื่อยๆ ส่วนการยึดเมืองนั้นไม่ค่อยจำเป็นเท่าไรยกเว้นท่านอยากได้เมืองนั้นๆ แต่หากต้องการเงิน หรือบีบบังคับทำสัญญาก็เพียงแค่รบชนะทัพศัตรูบ่อยๆก็พอโดยจะได้คะแนนเพิ่มเรื่อยๆหากฝ่ายใดชนะสงครามมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของสงครามที่ได้รบไปแล้วทั้งหมด ทั้งทัพบกและทัพเรือ
- Colonialism // สงครามแย่งชิงอาณานิคม จะเกิดขึ้นได้เมื่อเรามีเมืองที่เป็นอาณานิคมของเราติดต่อกันกับอาณานิคมของชาติล่าอาณานิคมอื่นๆเงื่อนไขมีข้อเดียวคือ
1. มีเมืองอาณานิคมติดกันในภูมิภาคแอฟริกา(ยกเว้นภาคเหนือ) อเมริกา และออสเตรเลีย
การทำคะแนนในสงครามแบบนี้จะทำได้ไวมากเพียงแค่ยึดเมืองอาณานิคมอีกฝ่ายไว้ให้ได้เยอะๆ ไม่จำเป็นต้องรบกันในแผ่นดินแม่ก็สามารถทำ Warscore เยอะๆ จนอีกฝ่ายเสียอาณานิคมจนหมดเลยก็ยังได้เช่นกันหากทหารของเรากับรัฐบาลอาณานิคมยึดเมืองอาณานิคมอีกฝ่ายได้จนหมด
**ในกรณีที่เรารบสงครามแบบนี้ในทวีปอเมริกา แล้วแย่งอาณานิคมอีกฝ่ายมา เราก็จะต้องทำ Core เหมือนกับการยึดเมืองในทวีปอื่นๆ จะไม่ได้โอนไปอยู่กับรัฐอาณานิคมทันทีเหมือนพวกเมืองชนเผ่า
** การล่าอาณานิคมจะอธิบายแยกออกไปอีกครั้งหนึ่ง
- Coalition // สงครามชนิดนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีรัฐๆใดก็ตามขยายอำนาจเร็วจนเกินไป รัฐอื่นๆไม่ไว้ใจหรือมี Attitude ต่อรัฐนั้นเป็น Outrage จะพร้อมใจกันรวมตัวต่อต้านรัฐนั้นๆ โดยมีเงื่อนไขดังนี้
1. รัฐที่จะเป็นเป้าหมายขยายอำนาจเร็วมากๆหรือขยายแดนทีเดียวมากจนเกินไป
2. ค่าติดลบ Aggressive Expansion (ดูได้โดยเอาเมาส์ไปดูช่องความสัมพันธ์ในช่องการฑูตระหว่างรัฐนั้นๆกับรัฐอื่นๆ) กับรัฐอื่นๆที่เป็น AI ติดลบมากกว่า 40 โดยประมาณ
3. รัฐที่เข้าเป็นสมาชิกเข้าร่วมมีมากกว่า 4 รัฐ หรือ รวมกันแล้วมีกำลังมากพอจะโค่นรัฐเป้าหมายลงได้
สำหรับสงครามชนิดนี้มีเป้าหมายของฝ่ายบุกคือต้องยึดเมืองหลวงของฝ่ายเป้าหมายให้ได้ ซึ่งอันที่จริงแล้วสงครามแบบนี้ warscore จะได้มากทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการยึดเมืองหรือการรบชนะก็ตาม ส่วนฝ่ายป้องกันจะต้องพยายามรบให้ชนะทัพเล็กทัพน้อยของศัตรูให้เร็วที่สุด หากศัตรูมีกำลังมากก็ควรรีบสงบศึกไว้ สงครามชนิดนี้ฝ่ายป้องกันต้องตกลงสงบศึกกับหัวหน้าอีกฝ่ายหรือ Warleader เท่านั้น ซึ่งจะเป็นรัฐที่แข็งแรงที่สุดในหมู่ศัตรูเสมอ ทำให้ควรรีบทำ Warscore แล้วยอมเสียอะไรก็ได้ที่ไม่ใช่ดินแดนไป หากอีกฝ่ายมีกำลังมาก ซึ่งปกติสงครามแบบนี้ต้องระวังอย่างมากเพราะมักจะรวมรัฐเพื่อนบ้านทุกๆทิศมาเป็นศัตรูเราหมด
- Overseas Conquest // สงครามล่าอาณานิคมของกลุ่มเทคโนโลยีตะวันตก ตะวันออก และออตโตมัน ประกาศสงครามใส่กลุ่มจีน อินเดีย และมองโกลในเอเชีย เงื่อนไขข้อเดียวคือ
1. ปลดล๊อกไอเดียสายการฑูต ในหัวข้อ Expansion idea จนหมด จะได้เหตุแห่งสงครามอันนี้ใส่ประเทศที่มีกลุ่มเทคโนโลยีล้าหลังในเอเชียทันที
เหตุแห่งสงครามนี้นิยมใช้สำหรับพวกตะวันตกในการล่าอาณานิคมมากที่สุด เพราะใช้ได้ง่ายที่สุด เพราะถึงอย่างไรประเทศที่ประกาศศึกด้วยมันก็มีทหารสู้ไม่ได้ชัวร์เพราะแปลว่ามันยังไม่ได้ Westernize เลยด้วยซ้ำ และการจะได้คะแนนก็เพียงแค่รบชนะ 2-3 ครั้งในสงครามขนาดกำลังทัพ 10000 ขึ้นไปก็ได้คะแนนมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์เข้าไปแล้วสำหรับการบุกรัฐใหญ่ๆอย่างหมิง ไม่ต้องพูดถึงพวกรัฐเล็กๆเลยด้วยซ้ำ
- Tribal Feud // หากเราเริ่มเล่นเป็นรัฐใดๆก็ตามที่มีกลุ่มเทคโนโลยีเป็น steppe horde หรือพวกมองโกลนั่นเอง เราก็จะได้เหตุแห่งสงครามนี้มามีเงื่อนไขดังนี้
1. เป็นรัฐ Steppe horde ที่ยังมีระดับเทคโนโลยีเป็น 175 เปอร์เซ็นต์หรือเทียบเท่าเริ่มต้นเท่านั้น การปฏิรูปรัฐบาล หรือการ Westernize จะทำให้เหตุแห่งสงครามตัวนี้หายไปทันที
2. เหตุแห่งสงครามนี้จะทำให้สามารถประกาศศึกกับรัฐข้างเคียงใดๆก็ได้ แต่ก็ยังได้รับผลกระทบหากประกาศสงครามใส่รัฐใดๆที่ยังมีสนธิสัญญาสงบศึกหรือ Truce ตามปกติ
สำหรับเจ้าเหตุแห่งสงครามตัวนี้เป็นของที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการเล่นเป็นบรรดารัฐมองโกลทั้งหลายเนื่องจากว่าในช่วงเริ่มเกมนั้น เราจะต้องตีเมืองของข้าศึกให้ได้มากที่สุด ในขณะที่เรายังมีทหารที่ดีกว่าศัตรู (ช่วงก่อนปี 1550 เท่านั้น โดยจะต้องใช้ทหารม้าเกือบ 80 เปอร์เซ็นต์ในกองทัพมองโกลเนื่องจากทหารมองโกลมีทหารม้าเก่งกาจกว่าทหารราบตั้งแต่ต้นเกม) และเราจะต้องประกาศศึกทุกๆระยะเวลา 5 ปี ไม่อย่างนั้นกบฎจะเกิดทุก 2 เดือนกันเลย -*- ดังนั้นสำหรับมองโกลที่ท่านจะต้องรบตลอด เจ้า Casus belli ตัวนี้จึงสำคัญมาก ถ้าไม่อยากให้กบฎเอาอาณาจักรท่านไปงาบฟรีๆ
หัวข้อ Alliance
หัวข้อนี้จะใช้ในการกระทำการฑูตใดๆ อันเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างรัฐต่างๆ มี 3 หัวข้อดังนี้
Offer alliance การยื่นพันธมิตร
สำหรับในหัวข้อนี้ก็จะแปลความหมายได้ตรงตัวเลยนั่นก็คือ "การขอเป็นพันธมิตร" ซึ่งการขอเป็นพันธมิตรควรจะใช้กับรัฐที่มีคุณสมบัติดังนี้
- รัฐที่อยู่ติดกับชายแดนของรัฐรอบๆตัวเราที่ได้ตั้งเราเป็นอริ การทำอย่างนี้จะเป็นการคานอำนาจของศัตรูไม่ให้สามารถลงมือจัดการเราแบบผลีผลามได้ เพราะจะโดนตลบหลัง
- รัฐที่มีกองทหารและกองเรือขนาดใหญ่ จะทำให้ศัตรูที่มีขนาดเล็กกว่ารัฐขนาดใหญ่นั้นๆ ไม่กล้าโจมตีเราเลย เพราะรัฐใหญ่จะกลายเป็น Warleader ในสงครามทันทีหากเรามีทหารน้อยเป็นทุนเดิม หรือน้อยกว่าประมาณ 1/4 ของทหารรัฐนั้นๆ
- ในกรณีที่เล่นเป็นกลุ่มเทคโนโลยีล้าหลัง ก็ให้หาเพื่อนที่เป็นอันดับต้นๆในกลุ่มเทคโนโลยีที่เป็นภัยเอาไว้เช่นเราเล่นอินเดียก็ต้องคอยระวังกลุ่มมุสลิม ก็ควรเป็นพันธมิตรกับรัฐขนาดใหญ่ของกลุ่มมุสลิมนั้นไว้
การยื่นเป็นพันธมิตรเมื่อฝ่ายที่ถูกร้องขอยอมรับแล้วจะมีข้อผูกมัดดังนี้
- ในกรณีที่มีรัฐหนึ่งรัฐใดประกาศสงครามกับรัฐอื่นๆ จะสามารถร้องขอความช่วยเหลือจากรัฐพันธมิตรของตนได้ โดยหากพันธมิตรไม่ยอมเข้าร่วม จะเสียค่า Prestige ไป 25 และเป็นการยกเลิกพันธมิตรทันที
- หากรัฐหนึ่งรัฐใดถูกโจมตีโดยรัฐอื่นๆ พันธมิตรของรัฐนั้นๆทั้งหมดจะถูกเรียกเข้าร่วมสงครามทันที หากปฎิเสธก็เสียค่า Prestige ไป 25 หน่วยเช่นเดียวกัน
- รัฐพันธมิตรใดๆที่เป็นพันธมิตรกันอยู่ จะไม่สามารถประกาศศึกต่อกันได้เด็ดขาด ยกเว้นยกเลิกพันธมิตรโดยฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเท่านั้น
Form Coalition Against หรือ Join Coalition Against ก่อตั้งพันธมิตรเฉพาะกิจเพื่อต่อต้านรัฐ ...
การก่อตั้งพันธมิตรเฉพาะกิจเพื่อต่อต้านรัฐใดๆหรือเข้าร่วมพันธมิตรนั้นๆ มักใช้ในกรณีดังนี้
- รัฐนั้นๆขยายดินแดนรวดเร็วเกินไป
- รัฐนั้นๆเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐรอบๆจำนวนมาก
สำหรับหัวข้อทางการฑูตนี้ จะทำให้หากรัฐหนึ่งรัฐใดที่อยู่ในรัฐพันธมิตรเฉพาะกิจถูกประกาศศึกจากรัฐเป้าหมายไม่ว่าจะมีเหตุแห่งสงครามเป็นอะไรหรือประกาศศึกใส่รัฐเป้าหมายโดยใช้หัวข้อ Coalition เป็น Casus belli จะทำให้ทุกๆรัฐเข้าร่วมสงครามกับรัฐเป้าหมายนั้นๆทันที โดยรัฐที่เป็น Warleader หรือรัฐที่มีกำลังทางทหารสูงสุดของกลุ่มพันธมิตรเท่านั้นที่สามารถเจรจาสงบศึกได้ ทำให้สงครามแบบนี้หากยังไม่ทำสนธิสัญญาสงบศึก ก็ยังไม่สามารถสงบศึกเอง
**เป้าหมายหลักของสงครามแบบนี้คือการบังคับให้รัฐเป้าหมายต้องปล่อยเมืองต่างๆที่ยึดไปเป็นอิสระ และจ่ายค่าปฎิกรรมสงครามที่แพงลิบลิ่วจนหมดตัว ดังนั้นหากท่านไม่ใช่สมาชิกที่แข็งแรงที่สุดที่จะเป็น Warleader แล้ว ในเกมเล่นคนเดียวก็ไม่จำเป็นต้องเข้าร่วมก็ได้ เพราะจะไม่ได้อะไรตอบแทนนอกจากลดกำลังรัฐใหญ่นั้นๆไป ซึ่งปกติก็ไม่ค่อยเกิดขึ้นอยู่แล้ว เพราะคอมจะไม่ตีเมืองแบบแหลกกลาญเหมือนคนคุมเอง
3.2.2.2 หัวข้อ Influence action
Enforce Peace บีบบังคับให้สงบศึก
สำหรับการบีบบังคับรัฐใดๆที่เป็นฝ่ายรุกรานรัฐอื่นๆก่อน ให้ยุติสงครามลงเสีย โดยหากรัฐนั้นๆยอมก็จะทำให้เกิด White peace และทั้ง 2 ฝ่ายคู่สงครามจะไม่เสียอะไรเลย แต่หากรัฐนั้นๆไม่ยอม รัฐที่ทำการบีบบังคับนั้นๆหรือตัวเราเองก็จะเข้าร่วมสงครามกับฝ่ายป้องกัน มีเงื่อนไขดังต่อไปนี้
- รัฐฝ่ายป้องกันมีความคิดเห็นต่อเราเป็นเชิงบวกมากกว่า 100
- รัฐที่เราจะทำการบีบบังคับนั้นต้องเป็นฝ่ายรุกรานเท่านั้น
- เราจะสามารถประกาศศึกกับรัฐนั้นๆได้ คือ ต้องไม่เป็นพันธมิตร หรือมี Truce สัญญาสงบศึกกันอยู่
การบีบบังคับให้สงบสงครามจะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อรัฐนั้นๆ หากขยายอำนาจแล้วในอนาคตอาจเป็นภัยต่อเรา และในตอนนั้นเรามีทหารมากพอที่จะสามารถถล่มรัฐนั้นๆได้ จะมีประโยชน์ที่สุดเมื่อเราไม่มี CB (Casus belli) แต่อยากจะประกาศศึกเพื่อหาเกียรติยศหรืออยากได้เมืองเป็นทุนเดิมอยู่เสมอ เพราะโดยมากแล้วคอมจะปฏิเสธและเปิดโอกาศให้เราทำสงคราม
Offer vassalization ยื่นข้อเสนอมาเป็นเมืองขึ้น
ในหัวข้อนี้จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อรัฐของท่านมีขนาดใหญ่และต้องการให้รัฐเพื่อนบ้านที่มีขนาดเล็ก มาเป็นเมืองขึ้นเพื่อที่จะสามารถกินเมืองได้โดยไม่ต้องใช้กำลังทหาร แต่จะเสียเวลาในการควบรวมดินแดนมากกว่าการบุกด้วยกำลังทหาร มีเงื่อนไขดังนี้
- อีกฝ่ายมีความคิดเห็นต่อเราเป็นบวกมากกว่า 190
- รัฐนั้นๆมีค่า Base tax (วิธีดูอยู่ในข้อ 3.1.3 ตรงกลางๆนะครับ) เท่ากับหรือน้อยกว่า 40 โดยเทียบกับรัฐของเราด้วยว่ามากกว่ากันมากหรือไม่
- มีการแต่งงานข้ามราชวงศ์หรือ Royal marriage
- เป็นพันธมิตรกัน
- ค่าความแตกต่างของการวิจัยเทคโนโลยีน้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ คือจะทำได้กับกลุ่มเทคโนโลยีช้ากว่าเรา 50 เปอร์เซ็นต์ลงมาเท่านั้น หากมากกว่านั้นจะอยู่ในหัวข้อต่อไป Protectorate แทน
- ต้องมีชายแดนไม่อยู่ห่างกันมากเกินไป
สำหรับการทำให้อีกฝ่ายมาเป็นเมืองขึ้นนั้นจะทำให้เราไม่ต้องเสียค่า ADM ในการทำ Core แต่ทว่าก็จะเสียเวลามากกว่า 10 ปีขึ้นไปในการรวมรัฐนั้นๆเข้ามาเป็นของเรา โดยจะมีปัจจัยอีกหลายๆอย่างที่จะเกี่ยวพันว่ารัฐนั้นๆจะยอมเป็นเมืองขึ้นของเราหรือไม่ ซึ่งสามารถจะไปดูได้ที่ลิ๊งค์นี้ www.eu4wiki.com/Offer_vassalization#Offer_vassalization_.28diplomatic.29
ซึ่งเงื่อนไขทั้งหมดนั้นมักจะติดปัญหาที่ความสัมพันธ์ในบางครั้งที่ทำเป็นบวกได้ไม่ถึง 190 โดยปัจจัยต่างๆที่จะเพิ่มความสัมพันธ์ของเรากับรัฐนั้นๆจะมีปกติดังต่อไปนี้
- เป็นพันธมิตร +50
- แต่งงาน +25
- รับรองเอกราช +10
- ให้ของขวัญ(เงิน) +25
- ให้เดินผ่านแดนของเราได้ +10 ข้อนี้ใช้ได้เฉพาะกับรัฐที่มีดินแดนติดกันเท่านั้น
- ให้ฑูตไปเจริญสัมพันธไมตรี +100
ข้อที่ได้กล่าวมานั้นหากสามารถทำได้ทั้งหมดจะบวกความสัมพันธ์ของเรากับรัฐเป้าหมายได้ทั้งหมด 220 หน่วย ถ้าหากว่าอีกฝ่ายมีความคิดเห็นต่อเราตอนเราเริ่มสนใจให้รัฐนั้นๆต่ำกว่าหรือเท่ากับ -29 ก็ถล่มมันจะง่ายกว่านะครับ
หลังจากที่รัฐนั้นๆได้เข้ามาเป็นเมืองขึ้นเราแล้วเป็นเวลา 10 ปีขึ้นไป เราสามารถส่งฑูตของเราไปรวมรัฐนั้นๆเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในอาณาจักรเราได้ โดยให้ไปที่เดิมในเมนู Offer vassalization มันจะเปลี่ยนเป็น Annex vassal ซึ่งจะกินเวลาแตกต่างกันตามปัจจัยของขนาดและระยะเวลาที่เป็นเมืองขึ้นของเราว่าเป็นมานานแค่ไหน โดยจะมีที่ปรึกษา Statesman และ Modifier ต่างๆที่เพิ่มค่าชื่อเสียงทางการฑูต จะร่นระยะเวลาในการควบรวมดินแดนได้มาก
Establish Protectorate ทำให้อีกฝ่ายเป็นรัฐในอารักขา
หัวข้อนี้จะทำให้รัฐในกลุ่มเทคโนโลยีที่ล้าหลังกว่าเรามากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ (กลับไปอ่านเพิ่มเติมได้ในหัวข้อ 2.6.4) มาเป็นรัฐอารักขาในการคุ้มครองของเรา โดยจะส่งผลดังนี้
- รัฐนั้นๆจะต้องแบ่งอำนาจทางการค้า หรือพูดง่ายๆก็คือรายได้จากการค้าให้เราครึ่งหนึ่ง
- รัฐนั้นๆจะไม่สามารถมีพันธมิตรอื่นๆได้ หากมีอยู่ก่อนก็จะยกเลิกไปทันทีที่ตกลงกับเรา
- หากรัฐในการคุ้มครองของเราถูกโจมตีเราจะต้องเข้าร่วมสงครามปกป้องรัฐนั้นๆด้วย
- รัฐในการคุ้มครองจะสามารถวิจัยเทคโนโลยีได้เร็วกว่าเดิม 20 เปอร์เซ็นต์
- รัฐเหล่านี้ไม่สามารถควบรวมทางการฑูตได้เหมือนเมืองขึ้นใสข้อก่อนหน้านี้
สำหรับการทำให้รัฐอื่นๆมาเป็นรัฐในอารักขานั้น มักจะใช้กันในกรณีที่เรายังไม่ว่างมาจัดการยึดดินแดนนั้นๆ อาจเพราะติดพันอยู่ที่อื่นๆหรือด้วยเหตุใดก็ตามที หากเราต้องการจะได้เมืองเหล่านี้ในอนาคต เราก็สามารถที่จะทำให้มีความสัมพันธ์ดีๆกันก่อน แล้วยื่นข้อเสนอให้มาเป็นรัฐใต้อารักขาของเราเพราะจะไม่สามารถหาพันธมิตรได้ แล้วจึงค่อยทำการโจมตียึดเมืองทีหลัง
นอกจากรัฐเหล่านี้จะส่งส่วนแบ่งการค้าให้เราแล้วนั้น หากในกรณีที่เรารบแพ้กับรัฐใดก็ตาม รัฐที่รบชนะส่วนใหญ่จะต้องการให้เราปล่อยรัฐใต้คุ้มครองเป็นอิสระ ซึ่งหากว่ารัฐใต้คุ้มครองของเรามีขนาดใหญ่ บางครั้งก็แทน Warscore ได้เยอะเสียจนไม่ต้องเสียอย่างอื่นเลย อย่างในกรณีของผู้เขียนมีรัฐใต้คุ้มครองที่มีขนาด 9 เมือง เมื่อรบแพ้ หากเลือกปล่อยรัฐนี้เป็นอิสระหรือ Annual Treaties ก็จะแทน Warscore ได้มากถึง 100 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว
Proclaim Guarantee รับรองอิสระภาพ
การรับรองอิสระภาพแก่รัฐใดๆนั้น จะทำให้เมื่อรัฐนั้นถูกโจมตีเมื่อไร เราจะถูกเรียกเข้าร่วมในสงครามกับรัฐอื่นๆที่เข้ามารุกรานทันที ใช้ประโยชน์หลักๆคล้ายกับ Protectorate ก็คือการันตีไว้ก่อน แล้วค่อยเอาไว้กินเองทีหลัง เพราะรัฐอื่นๆก็จะต้องเกรงว่าหากประกาศศึกกับรัฐนั้นแล้ว ก็จะต้องสู้ศึกกับเราด้วย นิยมใช้วิธีนี้เมื่อรัฐนั้นๆ และรัฐที่อยู่รอบๆรัฐนั้นมีอำนาจทางการทหารด้อยกว่าเรา รวมถึงเป็นการช่วยเพิ่มความคิดเห็นเชิงบวกของรัฐนั้นๆต่อเราด้วย 10 หน่วย
Send warning ข่มขู่
สำหรับในหัวข้อนี้ จะเป็นการบังคับให้รัฐนั้นๆไม่สามารถที่จะประกาศสงครามกับรัฐอื่นๆได้ นิยมใช้เพื่อป้องกันการขยายตัวของรัฐเพื่อนบ้านที่มีกำลังทางทหารด้อยกว่าเรา แต่แข็งแกร่งกว่ารัฐข้างเคียงอื่นๆ แต่ก็ทว่าการใช้การฑูตหัวข้อนี้ก็มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน หากว่ารัฐนั้นๆสามารถหาพันธมิตรขนาดใหญ่ได้ และลากรัฐใหญ่นั้นเข้าสู่สงครามด้วย ก็จะทำให้เราต้องเจอศึกหนักโดยไม่จำเป็น และหากปฏิเสธเข้าร่วมสงครามก็จะทำลายความไว้ใจระหว่างเรากับรัฐที่เรารับรองอิสระภาพอย่างมาก รวมถึงเสียค่าเกียรติยศ (Prestige) 25 เทียบเท่ากับการหักหลังพันธมิตร ดังนั้นต้องคิดดีๆก่อนใช้ด้วย
3.2.2.3 หัวข้อ Relation action
Improve Relation เจริญสัมพันธไมตรี
นับเป็นหัวข้อที่ใช้บ่อยที่สุดเลยก็ว่าได้ สำหรับการเจริญสัมพันธไมตรีกับรัฐอื่นๆนั้น จำเป็นอย่างยิ่งเพื่อต่อยอดสู่การทำการฑูตข้ออื่นๆไม่ว่าจะเป็น การขอเป็นพันธมิตร การขอเดินผ่านดินแดน การขอเข้าร่วมรบ ทุกๆอย่างที่จำเป็นต้องใช้ความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกันจำเป้นจะต้องพึ่งข้อนี้ทั้งหมด
หากว่าเมื่อใดก็ตามที่ท่านมีฑูตเหลืออยู่ก็ควรจะส่งไปรัฐต่างๆที่ท่านสนใจ ไม่ว่าจะเป็นรัฐคู่แข่ง รัฐพันธมิตร หรือแม้แต่รัฐศัตรูก็ตาม จะเป็นพื้นฐานสำหรับการดำเนินการทางการฑูตอื่นๆในอนาคตได้
Send insult หาเรื่อง -*-
แปลตรงตามตัวเลยนะครับ ก็คงประมาณว่าส่งฑูตไปพูดจาเละเทะต่อหน้ากษัตริย์ของอีกฝ่ายน่ะแหละ -*- เป็นการกระทำที่แทบไม่มีประโยชน์เอาเสียเลย นอกจากบางครั้งที่เรากับรัฐศัตรูดันมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมากจนเกินไป ทำให้เมื่อประกาศศึกจะเสียค่าความมั่นคงภายในได้ ก็ส่งฑูตไปทำลายสัมพันธ์ซะ ง่ายซะไม่มีเลย ฮา
3.2.2.4 Dynasties Action การกระทำที่เกี่ยวข้องกับราชวงศ์
Royal Marriage การแต่งงานข้ามราชวงศ์
การแต่งงานข้ามราชวงศ์นั้นเป็นระบบที่จะมีเฉพาะการปกครองแบบมีกษัตริย์เป็นประมุขเท่านั้น ไม่สามารถใช้กับระบบมหาชนรัฐได้ ยกเว้นแต่ Noble Republic ที่สามารถแต่งงานกับรัฐอื่นๆได้ มีผลดังต่อไปนี้
- เพิ่มความสัมพันธ์ที่มีต่อกันทั้ง 2 ฝ่ายทันที 25
- หากอีกฝ่ายเป็นคอมหรือ AI จะมีโอกาศน้อยมากที่จะโจมตีเราเพราะค่า Stability จะติดลบ
- ในกรณีที่ท่านโชคดีอาจจะทำให้ท่านได้เป็นกษัตริย์ของรัฐนั้นๆไปด้วย เมื่อวงศ์กษัตริย์ของรัฐที่ท่านแต่งงานด้วยสิ้นเชื้อสายลงไป (ซึ่งโอกาสเกิดยากมากแต่ถ้าได้ก็สุดยอด) จะทำให้เกิด Personal Union คือกษัตริย์ท่านจะปกครองอาณาจักรนั้นด้วย
- หากกษัตริย์ของท่านยังไม่มีผู้สืบทอดโดยชอบธรรม ก็จะมีโอกาสเสี่ยงจะถูก Personal Union กับรัฐอื่นๆ การรีบแต่งงานกับรัฐอื่นๆหลายๆรัฐจะช่วยเพิ่มโอกาศที่จะได้รัชทายาทต่อปีรัฐละ 5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งการแต่งงานนั้นจะส่งผลกระทบกับค่าโอกาสการได้รัชทายาทเพียง 5 รัฐแรก เท่านั้น ถึงเราจะมีการแต่งงานมากกว่า 5 รัฐ แต่ Modifier ที่เราจะได้รัชทายาทต่อปีก็จะยังเป็น 25 เปอร์เซ็นต์อยู่ดี
- เพิ่มค่าความมั่นคงในการครองบัลลังค์ต่อปี 0.05 ต่อการแต่งงานกับ 1 รัฐ
ถึงการแต่งงานข้ามราชวงศ์ดูเหมือนจะมีแต่ได้กับได้ แต่ทว่าอันที่จริงแล้วก็มีข้อเสียอยู่เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น หากเรากดยอมรับการแต่งงานกับรัฐขนาดเล็กๆใกล้บ้านไป แล้ววันหนึ่งเรารบกับศัตรูทุกๆคนจนหมดแล้ว แต่ไอ้เจ้ารัฐเล็กๆนี่เราก็จะไม่สามารถประกาศศึกใส่ได้ง่ายๆ สบายๆ เหมือนเช่นรัฐธรรมดาอื่นๆ เพราะการประกาศศึกกับรัฐเหล่านี้จะทำให้เราติดลบค่า Stability หรือไอ้เจ้าค่าความมั่นคงภายในทันที 1 หน่วย ซึ่งนั่นทำให้เราต้องมาเสียเวลา Boost ค่านี้ขึ้นมาใหม่ เปลืองค่า ADM ไปเสียเปล่าโดยไม่จำเป็นเลย นอกจากทุกๆรัฐที่เรายอมแต่งงานด้วยก็จะกินช่องการฑูต (ย้อนไปดูเรื่องช่องการฑูตได้ที่ข้อ 3.2.1.1 ครับ) 1 ช่องทันที และหากรัฐของเรามีขนาดใหญ่กว่ารัฐที่เราจะแต่งงานมากๆก็จะเสียค่าความมั่นคงในบัลลังค์ได้ถึง 5 หน่วยทีเดียว ดังนั้นการจะยอมรับการแต่งงานก็ต้องคิดให้ดีเสียก่อน
Claim Throne ชิงราชบัลลังค์
เป็นปุ่มสุดยอดอภิมหาเข้าใจยากที่สุดเท่าที่มีในเกมนี้ ไม่สามารถคาดเดาอะไรได้ทั้งสิ้นชัวร์ทั้งสิ้น แต่ที่ผมสรุปมาโดยคร่าวๆ ก็คงจะได้ประมาณนี้
รายละเอียดของระบบ Personal Union
การ Personal Union คือการที่กษัตริย์ 1 คน สามารถครองบัลลังค์ได้มากกว่า 1 อาณาจักร และหากกษัตริย์ในวงศ์นั้นๆ สามารถดำรงอยู่ซึ่ง Union ได้มากกว่า 50 ปี จะสามารถควบรวมอาณาจักรแบบเดียวกับ Vassal ได้
การจะได้ Union นั้นต้องแปลว่าตอนที่กษัตริย์คนสุดท้ายของวงศ์นั้นๆตายลงต้องไม่มีรัชทายาทโดยชอบธรรมหรือ Legal heir นั่นจะทำให้รัฐอื่นที่เกี่ยวพันกันทั้งทางด้านเขตแดน ราชวงศ์ หรือบางทีก็รัฐพันธมิตรของรัฐตัวเองก็ได้เข้าแทรกแซง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
สถานการณ์ตัวอย่าง 1 (Succession war แบบปกติ)
- รัฐ A มีค่า Prestige เป็น 20 รัฐ B และรัฐ C มีค่า Prestige 50 และ 60 ตามลำดับ อยู่ในกลุ่มศาสนาเดียวกัน
- กษัตริย์รัฐ A เสียชีวิตในขณะที่ไม่มีรัชทายาทโดยชอบธรรมหรือ No legal heir
- โดยปกติหากกษัตริย์ของรัฐ A ตายไปโดยไม่มีรัชทายาท ขุนนางของรัฐ A จะขึ้นเป็นกษัตริย์แบบสุ่มขึ้นมา แต่ในบางกรณี เช่น หาก รัฐ B กับ รัฐ C เป็นมหาอำนาจและมีรัฐ A ซึ่งเป็นรัฐขนาดกลางหรือบางทีก็มีขนาดไล่เลี่ยกัน(ขนาดไม่ค่อยสำคัญในระบบนี้เน้นสุ่มมากกว่า)เป็นเสมือนรัฐกันชนอยู่ หรือเป็นรัฐเพื่อนบ้านธรรมดา ตรงนี้นั้นมักจะสุ่มเอา
-จะเกิดเป็นสงครามแย่งชิงบัลลังค์กันระหว่างรัฐ B และรัฐ C โดยฝ่ายที่มีค่า Prestige มากกว่าจะได้ Union กับรัฐ A ไปก่อน เท่ากับหากรัฐ C มีค่า Prestige มากกว่ารัฐ B ในขณะที่กษัตริย์รัฐ A ตายไป รัฐ C จะได้ Union กับรัฐ A ไปก่อน ซึ่งในกรณีนี้หากรัฐ B ซึ่งก็มีสิทธิ์ในบัลลังค์เหมือนกัน หวังจะได้ Union กับรัฐ A ก็จะต้องต่อสู้กับรัฐ A และ C ทั้งสองรัฐ โดยจะต้องพยายามยึดเมืองหลวงของรัฐ A อันเป็นเป้าหายหลักของสงคราม รวมถึงจะต้องทำ Warscore ให้ได้มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นหากทหาร(รัฐ B)ไม่เข้มแข็งพอจะสู้กับทหารรวมสองรัฐในกรณีที่ท่านเล่นเป้นรัฐนั้น หรือแมนพาวเวอร์ต่ำกว่าห้าหมื่น ก็ไม่ควรที่จะรบ เพราะมันจะมีตัวเลือกถามรัฐ B ก่อนว่าจะรบหรือไม่
สถานการณ์ตัวอย่าง 2 (Succession war ประกอบกับปุ่ม Claim throne)
- รัฐ A มีค่า Prestige 50 และกษัตริย์มีอายุ 65 หรือมากกว่า แต่งงานกับรัฐ B , C , D และ E โดยมีค่า Prestige 50 , 60 , 70 และ 80 ตามลำดับ สมมติเราเป็นรัฐ C
- ในกรณีที่ทุกๆรัฐนั้นต่างถูกรัฐ A ซึ่งไม่มีทายาทแถมกษัตริย์ยังแก่หง่อมซะแบบนี้ แน่นอนแทบทุกรัฐจะยอมรับการแต่งงานทันที และก็หวังว่าคนจากตระกูลตนเองจะขึ้นเป็นกษัตริย์ของรัฐนั้นๆ
**ในกรณีที่เป็นศาสนาอิสลามนิกายซุนนี่ จะทำ Union ได้ยาก เพราะมี Modifier ที่เพิ่มโอกาสได้รัชทายาท 100 เปอร์เซ็นต์ต่อปี หมายความว่าใน 12 เดือนจะต้องเกิดอีเวนท์ให้รัฐนั้นๆ สามารถได้รัชทายาทที่มีค่า Claim เป็น weak ขึ้นมา 1 ครั้งหรืือมากกว่าเล็กน้อยเสมอ ซึ่งนั่นก็แล้วแต่ว่าผู้เล่นหรือ AI ที่คุมจะยอมรับรัชทายาทนั้นๆหรือไม่
- หากเรานำเอาเมาส์ไปวางเหนือชื่อกษัตริย์ในหน้าต่างการฑูตของรัฐนั้นๆ
ตามปกติจะขึ้นว่า "A noble form houses E succeed to the throne" เพราะเป็นรัฐที่มีค่า Prestige
มากที่สุด หรือบางทีอาจเป็น
"A noble form houses A succeed to the throne" ในกรณีที่คอมมันอยากให้เป็น
-*- โดยหากเป็นกรณีแรก หากรัฐ C หรือรัฐ D กด Claim throne ก็สามารถเปลี่ยนเป็น "Succession
war between E and C(D)" ได้ แต่แน่นอนยังไงเสียรัฐที่ปรากฎชื่อด้านหน้าจะเป็นฝ่ายได้ Union
ไปก่อนเสมอ
ทำให้ต้องสู้ศึกแย่งบัลลังค์อยู่ดี ซึ่งอันนี้จะแล้วแต่รัฐ C หรือ D ว่าจะเลือกรบหรือไม่
- รัฐ B ซึ่งมีค่า Prestige
เท่ากับรัฐ A และน้อยกว่า C ,
D และ E ก็ไม่มีประโยชน์ที่จะ Claim
throne เพื่อหวัง Succession
war นอกจากจะเสี่ยงเสียค่า Prestige
20 แถมได้โอกาสลุ้นแค่หากกษัตริย์รัฐ
A ตายโดยไม่มีรัชทายาทเท่านั้นอ่านเพิ่มเติมในข้อต่อไปเลยครับ
ในกรณีนี้ ถ้าท่านพร้อมเสี่ยงก็เชิญ
สถานการณ์ตัวอย่าง 3 (การได้ Union
ทันทีประกอบปุ่ม
Claim throne อันนี้โชคล้วนๆ)
- รัฐ A มีกษัตริย์อายุ 60 ปีขึ้นไป ไม่มีรัชทายาท รัฐ B , C แต่งอยู่เช่นเดียวกัน
- รัฐท่านแต่งงานกับรัฐ A อยู่
- หากตอนนั้นท่านมีค่า Prestige
มากกว่า 20 และพร้อมเสี่ยงที่จะได้ Union
แลกกับการที่ต้องเสียค่า Prestige
20 ทันที
และลดความสัมพันธ์กับรัฐทุกรัฐที่ท่านแต่งงานด้วยอย่างรุนแรง แถมไม่แน่ว่าจะได้ Union
หรือเปล่าด้วย ก็ให้กด Claim
Throne ไป
- หากท่านโชคดี เน้นว่าโชคดีมากๆ การกด Claim throne แล้วกษัตริย์อีกฝ่ายดันไม่มีทายาท และดันไม่เกิด Succession war (อันนี้เดาไม่ได้เลย ดังนั้นวิธีนี้จะใช้เมื่อท่านไม่มีอะไรจะเสียเท่านั้น )ท่านก็จะได้ Union ไปทันที แซงหน้ารัฐอื่นๆทั้งหมด แต่หากมีรัฐอื่น Claim throne เช่นกันก็จะต้องสู้กันเหมือนเดิม
**อันที่จริงวิธีนี้หากอีกฝ่ายแต่งงานกับเราอยู่แล้วเพียงรัฐเดียว และเรามี Prestige สูงกว่า ก็มีสิทธิ์จะได้ Union ไปเลยเหมือนกัน ยังรวมไปถึงหากเรามี Prestige สูงสุดในบรรดารัฐที่แต่งงานกันทั้งหมด ก็มีสิทธิ์เช่นกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นในแพทล่าสุด 1.5.1.0 มักเจอ Succession war มากกว่า
**อันที่จริงวิธีนี้หากอีกฝ่ายแต่งงานกับเราอยู่แล้วเพียงรัฐเดียว และเรามี Prestige สูงกว่า ก็มีสิทธิ์จะได้ Union ไปเลยเหมือนกัน ยังรวมไปถึงหากเรามี Prestige สูงสุดในบรรดารัฐที่แต่งงานกันทั้งหมด ก็มีสิทธิ์เช่นกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นในแพทล่าสุด 1.5.1.0 มักเจอ Succession war มากกว่า
สถานการณ์ตัวอย่างที่ 4 (กษัตริย์วงศ์เดียวกันชิงบัลลังค์กันเอง)
- รัฐ A และ รัฐ B มีกษัตริย์ในราชวงศ์เดียวกัน
- รัฐ A ไม่มีรัชทายาทหรือมีทายาทที่มี Claim เป็น Weak
- รัฐ B ต้องการจะได้ Union กับ A จึงกด Claim throne ซึ่งจะมีผลคือหากกษัตริย์รัฐ A ตายในกรณีที่ไม่มีทายาท ก็จะได้ Union ทันที แต่ยังมีอีกอย่างหนึ่งที่จะได้ไม่ว่ารัฐ A จะมีทายาทที่มี Claim เป็น Weak หรือไม่มีทายาทก็ตาม นั่นคือ ได้ Casus belli หัวข้อ Claim throne มา ทำให้สามารถประกาศศึกแล้วรบเพื่อทำ Warscore ให้มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์กับรัฐ A เพื่อบังคับให้เกิด Union ได้
- Casus belli ที่รัฐ B ได้มานี้ จะมีอายุตลอดไปตราบเท่าที่กษัตริย์ของรัฐ A คนที่เรา Claim throne ไว้ยังมีชีวิตอยู่ ไม่ว่าจะได้รัชทายาทคนอื่นที่มี Claim ดีกว่ามาหรือไม่ก็ตาม
สถานการณ์ตัวอย่างที่ 5 (กินเมืองเขาไปเลย -*-)
- รัฐ A เป็นรัฐที่พบกับการชิงอำนาจบ่อยกันภายในครั้งมาก เปลี่ยนกษัตริย์บ่อยจนมี Legitimacy ต่ำสุดๆ
- หากค่า Legitimacy ยังต่ำเรี่ยดินอยู่ คือไม่เกิน 10 นั่นแหละ และกษัตริย์คนนั้นดันเสียชีวิตลงโดยไม่มีทายาทและค่า Legitimacy ยังไม่ฟื้น รัฐที่แต่งงานด้วยมีสิทธิ์ควบรวบดินแดนไปในทันทีแบบงงๆได้
- เกิดได้ง่ายในกรณีที่อีกฝ่ายเป็น Horde หรือกลุ่มเทคโนโลยีมองโกล เพราะเปลี่ยนกษัตริย์บ่อยที่สุดแต่ก็พบในกลุ่มเทคโนโลยีอื่นได้เช่นกันแต่น้อยมาก
Covert action การกระทำอย่างลับๆด้านการฑูต
สำหรับในหัวข้อ Covert action ทั้งหมดนั้นจะปลดล๊อกได้ในไอเดียสายบริหาร (ADM) หัวข้อ Espionage Idea นะครับ สำหรับใครที่ชอบเล่นแนวส่งสปายไปก่อกวนชาวบ้านรัฐอื่นๆ แล้วปลดไอเดียกลุ่มนี้ถึงจะมีให้ใช้กันครบ นอกเหนือจากสองอันที่ได้จากเทคโนโลยี ADM เอง คือ Fabricate Claim และ Support Rebel
**หมายเหตุ ในหัวข้อนี้นอกจาก Support Rebel และ Fabricate Claim จะไม่มีไอเดียไหนที่จะได้มาจากเทคโนโลยี แต่จะได้จากการปลดล๊อกไอเดียสาย Espionage ในหัวข้อไอเดีย (ในหัวข้อ...) โดยส่วนัวแล้วเห็นว่าไม่จำเป็นเลย แต่หากใครชอบเล่นแนวชอบทำอะไรลับๆก็ลองศึกษาดูครับ
Fabricate Claim อ้างสิทธิ์เหนือดินแดน
เป็นหัวข้อทางการฑูตหลักที่ทำให้สามารถขยายดินแดนได้ โดยมีรายละเอียดทำให้ได้ Casus belli หรือเหตุแห่งสงครามสำหรับประกาศศึกใส่รัฐข้างเคียงที่มีดินแดนต่อกันมีรายละเอียดดังนี้
Conquest // สำหรับเหตุแห่งสงครามอันแรกนี้เป็นอันที่ใช้กันมากที่สุด การจะขยายอาณาจักรก็จะใช้ข้อนี้เป็นสำคัญ เพราะทำได้ง่ายและใช้ได้กับทุกรัฐที่มีชายแดนติดกับเรา เป็นการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนนั้น เงื่อนไขในการได้เหตุแห่งสงครรามนี้ได้แก่
1. มีเมือง Core ของเราติดกับเมือง Core ฝ่ายตรงข้าม ติดในที่นี้ยังรวมถึงอยู่ในเขตทะเลเดียวกันเช่น เมืองลิกอร์หรือประจวบในปัจจุบัน อยู่ไม่ได้ติดกับเมืองระยองเพราะมีอยุธยากั้นอยู่ แต่แชร์แบ่งเขตอ่าวไทยด้วยกันก็ สามารถทำได้
2. เมื่อมีเงื่อนไขในข้อ 1 แล้ว ก็ให้เปิดหน้าต่างการฑูตกับรัฐนั้นๆ แล้วไปที่ Covert action แล้วจึงเลือก Fabricate Claim
3. รอเวลาจนครบ 1 ปีก็จะได้เหตุแห่งสงครามอันนี้มา และสามารถประกาศสงครามได้
สำหรับ Conquest casus belli เป้าหมายหลักของผู้ประกาศสงครามหรือฝ่ายรุกก็คือยึดเมืองที่ตัวเองอ้างสิทธิ์ให้ได้ไวที่สุด และทำ Warscore โดยการยึดเมืองของฝ่ายรับให้เยอะที่สุด ส่วนฝ่ายป้องกันก็เพียงแค่ป้องกันเมืองนั้นเอาไว้เป็นสำคัญ และหากเป็นไปได้ก็ปกป้องเมืองอื่นๆให้ถูกยึดช้าที่สุด เพียงป้องกันให้สภาพกลายเป็นทำอะไรกันไม่ได้ จะทำให้คะแนนสงครามหรือ Warscore ของฝ่ายป้องกันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และฝ่ายรุกจะแพ้ไปเอง
แน่นอนว่าหากฑูตของท่านเมื่อส่งไปแล้วถูกจับได้ ก็จะทำให้ความสัมพันธ์ของรัฐใกล้เคียงจะติดลบเล็กน้อย (-10 Aggressive expansion) ซึ่งไม่มีผลอะไรนักเพราะจะติดลบไม่มาก แปปๆก็ดีกันได้ ตามปกติหากฑูตท่านว่างๆ ก็ส่งไป Claim รัฐรอบๆให้หมดเป็นวิธีที่มีประโยชน์มาก เพราะหากรัฐเพื่อนบ้านเราอ่อนแอลงเมื่อไรเราจะสามารถประกาศศึกได้ทันที วิธีนี้ใช้ได้กับรัฐพันธมิตรที่ไม่ได้แต่งงานกันอีกด้วย
Support rebel ส่งเงินสนับสนุนกบฎในรัฐอื่นๆ
ตามปกติแล้วหลายๆคนอาจจะงงว่าไอตัวนี้ทำไปจะได้อะไร ไม่เห็นจะมีอะไรดีเลย เสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา แต่อันที่จริงแล้วมีประโยชน์มาก หากว่ารัฐเพื่อนบ้านประสบปัญหา Stability ต่ำ เกิด Peasant war หรือ Civil war มีประโยชน์หลักๆดังนี้
- ในกรณีที่รัฐของท่านมีเงินเหลือ การสนับสนุนกบฎในรัฐเพื่อนบ้านจะทำให้รัฐเพื่อนบ้านอ่อนแอลงเพราะการเกิดกบฎบ่อยๆ ทำให้ต้องเอาทหารมาไล่ปราบทำให้ง่ายต่อการจัดการเพราะทหารศัตรูมักไม่ประจำอยู่ตามเมืองยุทธศาสตร์ตามชายแดน
- หากรัฐเป้าหมายเกิด Peasant war หรืออีเวนท์ลดค่าความสงบสุขอย่าง Civil war , Succession crisis และอีเวนท์เปลี่ยนศาสนาทั้ง Protestant หรือ Reform การสนับสนุนกบฎในเวลาแบบนี้ อาจทำให้เกิดรัฐขนาดเล็กใหม่ๆมากมาย(เมื่อกบฎยึดเมืองใดๆได้นานกว่า 2 ปี หรือกบฎสามารถยึดเมืองได้รวมแล้วมากกว่าครึ่งหนึ่งของจังหวัดทั้งหมด) จะง่ายต่อการโจมตีมากกว่าสู้กับรัฐขนาดใหญ่หลายเท่า รวมถึงกบฎที่ท่านสนับสนุนมาอาจกลายเป็นเมืองขึ้นหรือพันธมิตรของท่านเลยก็ได้
- หากท่านกำลังคิดจะประกาศศึกกับรัฐที่มีกบฎเกิดอยู่เยอะๆ การสนับสนุนกบฎใดๆด้วยจำนวนเงินน้อยนิด ก็จะทำให้กบฎนั้นๆกลายมาเป็นมิตรกับท่าน และจะไม่โจมตีทัพท่านเหมือนกบฎโดยทั่วไป
ทั้งนี้ทั้งนั้นกบฎที่สามารถยึดเมืองได้มากๆแล้ว จนไม่ต้องพึ่งคนอื่นก็จะไม่สามารถสนับสนุนได้ และยังรวมถึงกบฎขุนนาง และกบฎผู้อ้างสิทธิ์เหนือบัลลังค์ (Pretender rebel) ที่ไม่สามารถสนับสนุนได้เช่นกัน
Infiltrate Administration สอดแนมการบริหาร
ตามปกติแล้วประเทศอื่นๆทีไม่ได้อยู่ติดชายแดนของท่านหรือมีทัพของพันธมิตรเดินผ่าน ก็จะมองเห็นเป็นหมอกบังอยู่ทั้งหมด จะไม่สามารถมองเห็นได้ว่าทัพของศัตรูนั้นตั้งอยู่ที่ไหนของแผนที่ แต่หากเราส่งฑูตไปทำงานนี้เมื่อไร หมอกเหล่านั้นจะหายไปทันที ทำให้เราสามารถรู้ได้ว่าเกิดอะไรขึ้นในเขตแดนของรัฐนั้นๆ ไม่ว่าจะเป้นที่ตั้งของกองทัพ การเกิดกบฎ การเคลื่อนที่ของกองทัพ ของรัฐนั้นๆ
สำหรับการกระทำในหัวข้อนี้ หากฑูตถูกพบเจอก็จะทำให้ถูกส่งตัวกลับทันทีและหมอกจะกลับมาอีกครั้ง และยังส่งผลกระทบด้านลบในความสัมพันธ์อย่างมากระหว่างท่านและรัฐเป้าหมายที่ท่านกระทำการอีกด้วย
Sow Discontent สร้างความปั่นป่วนภายใน
สำหรับในข้อนี้จะเป็นการส่งฑูตไปยุยงประชาชนในรัฐเป้าหมายให้ก่อกบฎโดยการเพิ่ม Revolt risk ในรัฐเป้าหมาย และทำให้รัฐเป้าหมายต้องใช้ค่า ADM ในการเพิ่มค่า Stability หรือค่าความมั่นคงภายในนั้นมากขึ้น
โดยส่วนตัวยังไม่เคยใช้เจ้าตัวนี้เลย แถมในเว็บก็ไม่บอกข้อมูลไว้ละเอียดเท่าไร แต่เชื่อว่าถึงเวลาเล่นจริงๆคงไม่ค่อยมีคนใช้ เพราะอันที่จริงแค่ Support Rebel เป้าหมายก็เละพออยู่แล้ว ยิ่งกว่าจะได้ปลดล๊อกไอเดียนี้ได้อีกคงก็ปาเข้าไปกลางเกมเพราะคงไม่มีใครเลือกไอเดียนี้สายแลกแน่ๆ ซึ่งตอนกลางเกมทุกๆคนก็คงพอจะมีเงินสนับสนุนกบฎกันมากพอโดยไม่ต้องพึ่งเจ้าการฑูตหัวข้อนี้
Sabotage Reputation สร้างความร้าวฉานทางการฑูต
หลายๆคนพอเริ่มเล่นเกมนี้ไปได้ซักพัก พอลองเช็คการฑูตดูก็พบว่าความสัมพันธ์ของตัวเองกับรัฐอื่นๆลดฮวบๆแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว เมื่อเอาเมาส์วางเพื่อจะดู Factor ต่างๆก็จะสามารถพบกับเจ้า -50 Sow discontent นี่คือผลของเจ้าการกระทำตัวนี้ นั่นคือลดความสัมพันธ์ของท่านกับรัฐเพื่อนบ้าน รัฐที่ตั้งเราเป็นอริ หรือที่เราเองตั้งเป็นอริก็ด้วย ทำให้เราทำการฑูตยากกว่าปกติเยอะมากโดยเฉพาะเรื่องการขอเป็นพันธมิตร ยื่นเมืองขึ้น และยังทำให้ค่า Aggressive Expansion หรือพวกค่าความไม่ไว้ใจทั้งหลายแหล่กลับมาดีกับรัฐอื่นๆช้าลงมากเช่นกัน
สำหรับเจ้าไอเดียตัวนี้ โดยส่วนตัวเห็นว่าไม่มีประโยชน์เอาซะเลยสำหรัับคนเล่นจริงๆ โดยเฉพาะเวลาเล่นคนเดียวที่เราไม่เคยรู้ว่าไอรัฐที่เราส่งฑูตไปทำมันส่งผลอะไรกับมันบ้าง หรือต่อให้เป็นมัลติเพลเยอร์เราก็ไม่รู้อยู่ดีว่าพอทำไปแล้วเขาเสียอะไรมากแค่ไหน แถมยังต้องเสียฑูตที่จะส่งไปภารกิจ 1 อื่นๆได้คนแบบยาวๆ ตราบเท่าที่มันยังไม่ส่งตัวกลับมาและกว่าจะกลับมาบางทีก็ช้าเกินโอกาสเสียแล้ว ดังน้นโดยส่วนตัวไม่ค่อยเห็นประโยชน์ของมันซักเท่าไร นอกจากทำใหู้้เล่นมัลติคนอื่นหัวเสียเล่นเท่านั้นเอง
Access action การขอผ่านดินแดน
ประกอบไปด้วย 4 หัวข้อย่อย อันได้แก่
Ask for military access ขอเดินผ่านแดน
การขอเดินผ่านแดนของรัฐอื่นๆ ซึ่งโดยปกติจะใช้ในยามสงครามที่ต้องเดินผ่านดินแดนของรัฐอื่นๆที่ไม่ได้เข้าร่วมสงคราม ตามปกติหากไม่ใช่อริของกันและกัน และไม่ได้มีความคิดเห็นติดลบกันเยอะๆ ทุกๆรัฐก็จะยอมอยู่แล้วครับ
Ask for fleet basin right ขอจอดเรือในเมืองท่า
ก็แปลตรงตัวเลยครับ สำหรับในหัวข้อนี้ ใช้สำหรับในกรณีที่ท่านอยากจะล่าอาณานิคมในเขตที่ท่านไปไม่ถึง หรือจำเป็นต้องเดินเรือไปในน่านน้ำไกลๆ หรือบางทีก็อาจเป็นการส่งพ่อค้าไปสร้างโครงข่ายในเขตการค้าไกลๆ (Trade steering) โดยจะทำให้เรือท่านได้รับเสบียงในเขตน่านน้ำทำให้ไม่พบ Attrition หรือการสูญเสียกองกำลัง และยังสามารถซ่อมเรือได้โดยการเอาเรือไปจอดของรัฐนั้นๆ โดยปกติแล้วเราจะต้องจ่ายเงินเริ่มต้นให้รัฐที่เราขอจอดเรือ 2 Ducat ในการขอจอดทุกๆเดือน และหากรัฐนั้นๆยึดเมืองได้เพิ่มเราก็จะเสียมากขึ้น
สำหรับการขอจอดเรือนั้นจะต่างกันกับการขอเดินผ่านแดนค่อนข้างมาก เพราะจะต้องใช้ความไว้วางใจสูงกว่าเยอะทีเดียว การส่งฑูตไปกระชับความสัมพันธ์เยอะๆเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นหากท่านคิดว่าอาจจำเป็นต้องใช้ในอนาคต ก็ให้ส่งฑูตไปเสียเนิ่นๆไม่สามารถรอช้าแบบขอเดินผ่านแดนได้ แต่หากเป็นพันธมิตรกันก้มักจะยอมอยู่แล้วโดยปกติ
Offer fleet basin right
ก็ง่ายๆครับ อณุญาตให้รัฐอื่นๆมาจอดเรือในท่าของเราได้ ซึ่งร้อยทั้งร้อยแล้ว AI มันไม่เคยยอมครับ ส่วนในมัลติเพลเยอร์ผมก็ว่าไม่มีประโยชน์เท่าไร มีกรณีเดียวที่คนส่วนใหญ่ขอกัน ก็คือเขาจะมาสร้างอาณานิคมในเขตใกล้บ้านเรา ฉะนั้นอย่าไปยอมครับ ถ้ามีดินแดนที่คุณกำลังบุกเบิก เขาก็จะสามารถบุกเบิกแข่งกับคุณ ถ้าคุณยังไม่บุกเบิกเลยเขาก็จะแย่งเอาไปหมด หรือแม้แต่เนียนๆมาตีเมืองข้างๆท่านก็มีด้วยเช่นกัน ก่อนจะยอมก็ต้องดูเป้าหมายเขาให้ดี
Offer military access
การยื่นข้อเสนอให้รัฐอื่นๆเดินผ่านแดนของเราได้ มักจะใช้ในกรณีที่เรายึดจุดยุทธศาสตร์อย่างล้อมบางเมืองของรัฐนั้นๆไว้ แล้วเมืองนั้นเกิดกบฎ หรือว่ารัฐของเรามีอาณาเขตที่ถ้าเขาเดินผ่านได้จะทำให้เขาเดินทางไปรบศัตรูได้ง่ายขึ้น มีประโยชน์เมื่อรัฐนั้นๆเป็นภัยกับเรา(ทหารเยอะกว่า ทหารดีกว่า บลาๆ) เพราะระหว่างที่ AI ยังเดินผ่านแดนเราอยู่ จะไม่สามารถประกาศศึกใส่เราได้ ทำให้เรามั่นใจได้ว่าระหว่างนั้นจะไม่โดนเขาบุกแน่นอน
3.3 แถบเศรฐกิจ
สำหรับในหน้าจอส่วนนี้จะแสดงถึงข้อมูลด้านเศรฐกิจทั้งหมดภายในรัฐเรา รวมถึงตัวแปรที่ควบคุมเองได้ต่างๆในด้านการเงินทั้งหมดก็จะอยู่ในนี้ด้วยเช่นกัน โดยจะอธิบายเป็นส่วนๆดังนี้
3.3.1 รายได้รวมต่อเดือน (Income)
ในส่วนนี้ทั้งหมดจะแสดงถึงรายได้ของรัฐท่านที่ได้ต่อเดือนทั้งหมด โดยจะแยกย่อยได้ 8 อย่างอันได้แก่3.3.1 รายได้รวมต่อเดือน (Income)
** ที่เป็นตัวเลขอยู่ในวงเล็บก่อนหน้ารายได้ในแต่ละหัวข้อต่อไปนี้ คือตัวแปล (Modifier )ของแต่ละค่านะครับ
- การเก็บภาษีหรือ Taxation จะมีตัวแปลหลักคือค่า Stability ยิ่งมีสูงมากก็ยิ่งมีส่วนเพิ่มมาก คือถ้าเป็น +3 ก็จะบวกจากรายได้ภาษีปกติถึง 30 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าติดลบก็จะได้น้อยลงกว่าที่ควรจะได้เช่นกัน
- รายได้จากสินค้าหรือ Production มีตัวแปลหลักคือเทคโนโลยีสายบริหาร ยิ่งเทคโนโลยีสูงขึ้นรายได้ก็ยิ่งมีมากขึ้นเช่นเดียวกันจนถึง 100 เปอร์เซ็นต์ที่ขั้น 32
- รายได้จากการค้าหรือ Trade ตัวแปลหลักคือเทคโนโลยีสายการฑูตส่งผลเหมือนกับรายได้จากสินค้าจากเทคโนโลยีการบริหาร
- รายได้จากทองคำหรือ Gold เจ้าตัวนี้จะเป็นรายได้เสริมให้กับรัฐของท่านอย่างดี โดยเมืองที่มีทองคำนั้น 1 เมืองจะสร้างรายได้ทันทีประมาณ 3-4 Ducat แบบไม่ต้องเหนื่อยหาใดๆทั้งสิ้น โดยหากอยากรู้ว่าเมืองใดในโลกมีบ้างแนะนำให้ลองเล่นเกมในช่วง 1820 แล้วเปิดแผนที่ Trade good ครับ
![]() |
เมืองที่มีสีต่างกันจะมีสินค้าแตกต่างกัน หากซูมเข้าไปจะเห็นได้ว่ามีสินค้าอะไรได้ |
- บรรณาการจากเมืองขึ้นหรือ Vassal ในกรณีที่เรามีเมืองขึ้นอยู่ ทุกๆเดือนเมืองขึ้นเหล่านั้นจะต้องส่งเงินให้เราเป้น 50 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ทั้งหมดของรัฐนั้นๆ
- ค่าธรรมเนียมการจอดเทียบท่าหรือ Harbor Fees ในกรณีมีรัฐอื่นๆขอจอดเรือในท่าของเราก็จะได้เงินจำนวนนี้
- เงินสนับสนุนหรือ subsidizing คือเงินที่รัฐอื่นๆส่งให้เราเพื่อช่วยเหลือทุกๆเดือน มักจะเกิดในกรณีที่มีประโยชน์ร่วมกัน เช่นต้าหมิงให้เงินสนับสนุนแมนจูเพื่อต่อต้านการขยายอำนาจของมองโกลเป็นต้น
3.3.2 รายจ่ายรวมต่อเดือน (Expense)
ในส่วนนี้จะแสดงรายระเอียดของรายจ่ายของเราทั้งหมดภายในระยะเวลา 1 เดือน โดยมี 4 ตัวด้านล่างที่สามารถปรับได้เป็น รายจ่ายสำหรับทัพบก รายจ่ายสำหรับทัพเรือ รายจ่ายสำหรับการทำงานของนักบวช และรายจ่ายสำหรับการสร้างอาณานิคม โดย 4 ข้อที่กล่าวมาจะสามารถปรับลดได้ตามความเหมาะสม แต่ก็จะลดความสามารถในด้านนั้นๆลงตามสัดส่วนที่ตัดไป แต่สำหรับกองทัพบกไม่ควรลดลงเกิน 75 เปอร์เซ็นต์เพื่อให้สามารถรับมือเหตุไม่คาดคิดทันท่วงทีอยู่เสมอ
3.3.3 ภาวะเงินเฟ้อ (Inflation)
ภาวะเงินเฟ้อนั้นมีสาเหตุหลักๆ 2 อย่างอันได้แก่
- อีเวนท์ Technology Advanced ทั้งหลายแหล่ ที่ถ้าเราเลือก +50 Monarch point ในแต่ละข้อก็จะเพิ่มเงินเฟ้อทันที 0.50 หน่วย
- การมีทรัพยากรทองในหลายๆจังหวัดถึงจะเพิ่มรายได้อย่างดีก็จริงแต่ทว่า ก็จะเพิ่มอัตราการพุ่งขึ้นของเงินเฟ้ออย่างมาก
ภาวะเงินเฟ้อจะทำให้การลงทุนทางการเงินในทุกๆด้านของเรา ไม่ว่าจะเป็นการออกทหารใหม่ การสร้างสิ่งก่อสร้าง หรือแม้แต่ค่าจ้างของที่ปรึกษา สิ่งเหล่านี้จะแพงขึ้นเรื่อยๆยิ่งปล่อยไว้นานก็จะยิ่งแพงหนักกว่าเก่า โดยปกติไม่ควรปล่อยให้เกิน 5-6 ควรจะลดตอนยังเป็น 4 ด้วยซ้ำหากมีค่า ADM เพียงพอ แต่ไม่ควรมากกว่า 6 เด็ดขาดไม่อย่างนั้นอาจทำเป็นปัญหาเรื้อรังเพราะการลด 2 หน่วยก็กินค่า ADM ไป 75 แล้ว หากปล่อยนานๆ อาจจะทำให้การกลับมาลดยุ่งยากและกระทบกับเทคโนโลยีอีกด้วย
**หากเรามีเงินเฟ้อต่ำกว่า 0 เปอร์เซ็นต์ และมีที่ปรึกษาด้านการบริหารคัว Master of mint จะมี National Decision หัวข้อ Implement the gold standard ที่จะลดเงินเฟ้อลงได้อย่างมาก (-0.04 ต่อปี) หากมีเงื่อนไขครบเมื่อไรควรจะออกทันที
3.3.4 ค่าภาษีมาตรฐาน (Basetax) / เก็บภาษีสงคราม (Raise war taxes)
สำหรับหัวข้อเล็กๆที่เป็นตัวเลขในภาพด้านบนคือค่าภาษีมาตรฐานที่เคยพูดถึงเอาไว้ โดยในที่นี้จะสามารถดูค่าภาษีมาตรฐานรวมของรัฐท่านได้โดยไม่ต้องนั่งนับ
**อันนี้เสริมเฉยๆนะครับ ค่าปัจจัยของภาษีมาตรฐาน เป็นปัจจัยสำคญยิ่งในการยื่นข้อเสนอรัฐอื่นๆมาเป็นเมืองขึ้นเรา โดยค่านี้จะบวกหรือลบได้เป็น +30 จนถึง -90 เลยทีเดียว จึงเป็นปัจจัยสำคัญว่ารัฐนั้นๆจะยอมมาอยู่ใต้บังคับเราหรือไม่ สูตรในการคำนวณคือ 60 คูณค่าภาษีมาตรฐานของเรา หารด้วย ภาษีมาตรฐานรัฐนั้นๆยกกำลัง 2 ถ้าผลออกมาแล้วต่ำกว่าศูนย์มากเท่าไรโอกาสจะติดลบมากเท่านั้น แต่หากเป็น 1 จะเท่ากับ 0 หรือไม่ส่งผล หากมากกว่า 1 ก็จะบวกตามลำดับไป
Raise war taxes คือการประกาศขึ้นภาษีสงคราม จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อเราอยู่ในภาวะสงครามกับรัฐใดๆอยู่ ถึงจะเป็นสมาชิกรองๆในสงครามก็สามารถเรียกภาษีตัวนี้ได้ โดยใช้ 50 MIL ในการออกภาษี โดยจะมีผลดังนี้
- ลดค่าใช้จ่ายในการดูแลทหารลง 20 เปอร์เซ็นต์
- ลดค่าใช้จ่ายในการดูแลกองเรือลง 20 เปอร์เซ็นต์
- มีระยะเวลา 2 ปี ต้องพ้น 2 ปีจึงจะสามารถเรียกใหม่ได้
สำหรับการออกภาษีสงครามในช่วงที่รัฐท่านยังมีขนาดเล็ก(Base tax ต่ำกว่า 40)จะค่อนข้างจำเป็นมาก และไม่ค่อยมีผลกระทบเท่าไรเป็นการพยุงเศรฐกิจในระดับหนึ่ง การเสีย 50 MIL ไม่ค่อยมีผลกระทบเท่าไร เพราะเน้นการมีทหารมากกว่าก็เพียงพอ แต่หากเล่นเป็นรัฐที่มีขนาดใหญ่และมีเป้าหมายในการพิชิตรัฐขนาดใหญ่อื่นๆคิดว่าไม่จำเป็นนัก เพราะจะต้องแข่งขันกันในเชิงเทคโนโลยีมากกว่า ข้อแตกต่างของ 50 MIL มีมาก และอาจทำให้โดนรัฐมหาอำนาจอื่นๆรุมยำได้
3.3.5 การกู้เงิน (Loan)
ก็ไม่มีอะไรมากครับสำหรับหัวข้อนี้ ถ้าในกรณีที่ท่านเป็นรัฐขนาดเล็กถึงกลางและทำสงครามกับรัฐขนาดใกล้เคียงกัน อาจจำเป็นต้องใช้ทหารจำนวนมากกว่าศัตรูเพื่อเอาชนะขั้นเด็ดขาด การกู้เงินก็เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำอย่างนั้น แต่แน่นอนเมื่อกู้ก็ต้องมีดอกเบี้ยเป็นปกติ โดยจะอยู่ที่ 3 เปอร์เซ็นต์เป็นเบื้องค้น มีระยะการจ่ายคืน 5 ปี ซึ่งจากประสบการณ์ของผม ไม่ควรกู้เกินกว่า 3-5 ครั้ง เพราะถึงแม้ว่าถ้าไม่มีเงินจ่ายตามกำหนดมันก็เลื่อนให้ แต่นันก็หมายถึงดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน และแน่นอนหากท่านยืมมากไปจนถึง Limit ของรัฐท่านและเงินยังไม่พออีกก็จะทำให้ล้มละลาย (Bankrupt) ซึ่งมีผลดังนี้
- เพิ่มความเสี่ยงการเกิดกบฎ 3 หน่วย
- เพิ่มอัตราดอกเบี้ยของเงินทุกก้อนที่เคยยืมไป 10 เปอร์เซ็นต์
- ลดกำลังใจทหาร 100 เปอร์เซ็นต์
- ลดกำลังใจทัพเรือ 100 เปอร์เซ็นต์
- ระยะเวลาในการส่งทหารกองหนุนไปแนวหน้า (Reinforce speed) เพิ่มขึ้น 25 เปอร์เซ็นต์
- ความเร็วในการฟื้นกองกำลังสำรอง (Manpower recovery speed) ลดลง 100 เปอร์เซ็นต์
- ค่าจ้างที่ปรึกษาเพิ่มขึ้น 100 เปอร์เซ็นต์
ปล.เอาเป็นว่าคิดดีๆก่อนกู้ก็แล้วกันนะครับ โดนล้มละลายนี่ไม่สนุกแน่ๆ -*-
3.4 การค้า (Trade)
ก่อนอื่นก็คงต้องแปลความหมายของศัพท์ 5 คำให้เข้าใจก่อนนะครับ ไม่งั้นขืนอธิบายวิธีเลยคงจะมึนกันเปล่าๆ
- Trade Efficiency ประสิทธิภาพในการค้าขาย จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆยิ่งเทคโนโลยีสายการฑูตสูงขึ้น จนถึง 100 เปอร์เซ็นต์ตอนก่อนจบเกม ตัวนี้จะเป็นหัวหลักในการวัดว่ารายได้ที่เราจะได้จากการค้านั้นจะคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของที่ตอนจบเกมจะได้ (เทค DIP ระดับ 32 )
- Trade Range ระยะทางที่พ่อค้าของเราสามารถไปทำการค้าได้ โดยยึดจากระยะห่างของเขตการค้านั้นๆ กับเมืองท่าที่อยู่ใกล้ที่สุดของเรา หากไกลเกินกว่าระยะก็จะไม่สามารถส่งพ่อค้าไปทำอะไรได้ แต่หากอยากส่งไปจริงๆ ก็ต้องขอรัฐใดๆรัฐหนึ่งที่อยู่ในเขตการค้าหรือใกล้เขตการค้านั้นๆเพื่อ Fleet basin right ( กลับไปดูในข้อ 3.2.2 หัวข้อการกระทำทางการฑูต หัวข้อย่อยใน Access action)
![]() |
ข้อมูลเอเยนต์พ่อค้าและแถบรายละเอียด |
- Trade income รายได้จากการค้า ค่านี้จะมีผลเกี่ยวเนื่องมาจาก Trade efficiency แต่ว่าจะมีตัวแปรจำพวกอีเวนท์มาเสริมหรือลดจากที่ Trade efficiency มีอยู่เดิมแล้วในที่นี้อีเวนท์จะบวกเพิ่มไป 10 เปอร์เซ็นต์
- Mercantile ความเป็นพ่อค้าของรัฐของเรา ยิ่งมีมากขึ้น อำนาจทางการค้าที่จะได้จากจังหวัดภาคพื้นดินในเขตการค้านั้นๆ ก็จะเพิ่มขึ้นคูณด้วย 2 จากเจ้าค่านี้ที่เรามี ส่วนมากได้จากอีเวนท์และบางรั้งก็ National Decision บางอย่าง
**ข้อพิเศษ ข้อมูลเชิงลึกทางการค้า
ดังที่ได้เห็นมาแล้วการค้าในเกมนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหลายตัวแปรมาก แต่โดยหลักที่เราจะต้องใส่ใจมากที่สุดก็คือการที่พ่อค้าของเราสามารถสร้างโครงข่ายของการค้าได้ดีแค่ไหน สามารถรวมรายไ้ด้มาเท่าไร โดยจะสามารถแยกย่อยอธิบายเป็นแบบถาม-ตอบได้หลายหัวข้อดังนี้
1.การค้าในเกมนี้คืออะไร ?
การค้าในเกมนี้นััน คือกระแสของเงินที่เกิดจากโครงสร้างการผลิตสินค้าในเขตการค้าต่างๆ โดยเงินที่เกิดจากกระบวนการนี้จะมีการหมุนเวียนไปเรื่อยๆ จากเขตหนึ่งสู่อีกเขตหนึ่ง โดยจะถูกรัฐต่างๆพยายามกันไม่ให้ไหลต่อภายในเขตการค้าที่รัฐตัวเองมีอำนาจ จนส่วนที่เหลือและไม่ถูกเก็บ จะไปหยุดที่ 2 เมืองได้แก่เวนิซ (Venice) และ แอนต์เวิร์ป (Antwerpen) โดยเงินที่เหลือจากการค้าที่ผ่านมาจะไปตกอยู่ที่ 2 เมืองนี้เป็นจุดสุดท้ายเสมอ
2.การค้าทำเงินได้อย่างไร ?
หากรัฐเราเป็นรัฐที่มีอำนาจทางการค้าในเขตไหนๆมาก ก็จะสามารถเพิ่มกระบวนการการผลิตในเขตนั้นๆได้ โดยการสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆ และยังรวมถึงหากมีส่วนแบ่งในหลายโซนการค้า ก็สามารถกำหนดทิศทางการไหลของเงินเข้าสู่เมืองของตนเองได้มากกว่าการมีส่วนแบ่งในเขตเดียว และเมื่อสามารถกำหนดการไหลของเงินได้ก็จะรวมเข้าสู่เขตเมืองสำคัญเพื่อให้พ่อค้าเก็บรวมรวมเงินให้มากที่สุดต่อไป
3.เอเยนต์พ่อค้ามีประโยชน์อะไรล่ะ ?
อย่างที่บอกในคำถามก่อนหน้าว่าเราสามารถ 1. กำหนดทิศทางการไหลของเงิน 2. ใช้พ่อค้าเก็บเงินจากเมืองสำคัญๆ // ดังนั้นพ่อค้าก็มีหน้าที่ในการที่จะใช้เพื่อประโยชน์ 2 อย่างข้างต้นซึ่งมีคำสั่งในเกมดังต่อไปนี้
- Collect from Trade คือการให้พ่อค้าของเราไปเก็บเงินที่อยู่ในเขตการค้านั้นๆและยังไม่ได้ไหลออก นิยมใช้กับเฉพาะเขตการค้าที่เราครอบครองอาณาเขตในนั้นมาก หรือมีส่วนแบ่งทางการค้ามากกว่าครึ่งหนึ่งของทั้งหมด
- Transfer Trade Power (การถ่ายโอนอำนาจทางการค้า) ก็คือการให้พ่อค้าของเรานำเอาเงินจากเขตการค้าอื่นๆที่เราส่วนแบ่งทางการค้าอยู่จะมากหรือน้อยก็ได้ เพื่อนำมาสร้างเป็นโครงข่ายทางการค้าเพื่อให้สามารถเก็บได้ที่ปลายทาง อันเป็นเขตเมืองสำคัญทางการค้าหรือเป็นเมืองหลวงของเรานั่นเอง ปล.จะนิยมมากในกรณีที่เรามีอำนาจทางการค้าเพียงผู้เดียวในเขตนั้นๆ เพราะเงินจะไม่รั่วไหลเลย
4.อำนาจางการค้าคืออะไร ดูได้จากที่ไหน?
อำนาจทางการค้า สามารถดูได้โดยการคลิกที่กล่องข้อมูลประจำเขตการค้าต่างๆ ในแผนที่ทางการค้า โดยยิ่งเรามีส่วนแบ่งมาก ก็จะยิ่งสามารถเก็บเงิน หรือถ่ายโอนอำนาจทางการค้าสู่ศูนย์กลางได้มากขึ้นนั่นเอง สามารถดูได้ในกล่องข้อมูลการค้าของเขตนั้นๆ แล้วดูรายละเอียดในส่วนของแผนภูมิวงกลมอันริมขวาสุดในกล่อง
![]() |
กล่องข้อมูลของเขตการค้าต่างๆ |
![]() |
แผนภูมินี้จะแสดงถึงส่วนแบ่งทางการค้าของแต่ละรัฐเป็นเปอร์เซ็นต์ |
5.แต่ละเขตการค้ามีรายได้ไม่เท่ากัน แล้วจะรู้ได้อย่างไร?
ให้ดูได้ในกล่องข้อมูลการค้าอันเดียวกับข้อที่แล้วเลยครับ รวมถึงในส่วนนี้จะบอกถึงรายได้รวมที่อยู่ในเขตการค้านั้นๆอีกด้วย
![]() |
อันนี้จะบ่งบอกถึงที่มาที่ไปของเงินทั้งหมดที่ผลิตขึ้นและส่งออกอยู่ในเขตการค้านั้นๆนะครับ |
Incoming - เงินที่ไหลมาจากเขตการค้าอื่่นๆ
Local - เงินที่เกิดจากการผลิตของแต่ละจังหวัด ในเขตการค้านั้นๆ
Outgoing - เงินที่ไหลไปสู่เขตการค้าอื่นๆ ในกรณีที่มีรัฐที่มีอำนาจทางการค้าเลือก Transfer Trade Power หรือว่าไม่มีคน Collect from trade กันเท่าไร คือแถบสีแดงในแผนภูมิอันริมซ้าย
Total - จำนวนเงินรวม ที่สามารถแบ่งให้รัฐต่างๆที่มีส่วนแบ่งทางการค้าตามสัดส่วนไป ยิ่งครองสัดส่วนในแผนภูมิอันขวามาก ก็ยิ่งได้ส่วนแบ่งจากในแถบสีเขียวของแผนภูมิอันขวามากเท่านั้น
** ดังนั้น (Incoming + Local) - Outgoing = Total
![]() |
อัตราเงินเข้า/ออก สีเขียวคือเงินที่ยังอยู่ในเขตการค้า สีแดงคือเงินที่ไหลออกไปเขตอื่นๆ |
โดยหลักก็คือการยึดเมืองในเขตนั้นๆให้มากที่สุด รองลงมาคือการสร้าง Light ship ให้ Protecting Trade ในเขตนั้นๆ หากมีเรืออยู่เยอะๆ บางทีไม่ต้องมีเมืองเลยก็ยังได้ และยังได้จากสิ่งก่อสร้างประเภท + Local Trade power อีกเช่นกัน
![]() |
เรือ Light ship |
![]() |
การคุ้มกันเส้นทางการค้า (Protecting Trade) |
ดังที่ได้กล่าวมาทั้งหมดทั้งมวลเรื่องการค้าข้างต้น เมื่อรวมความแล้วนั้น ก็จะสามารถสรุปได้ว่า การจะทำการค้าให้สำเร็จจะต้องใช้เงื่อนไขหลายๆอย่าง ซึ่งเมื่อนำมาประกอบรวมกันแล้ว ก็จะเท่ากับการสร้างโครงข่ายการค้าของตัวเราเองให้มีขนาดใหญ่ให้ได้มากที่สุด ครอบคลุมในหลายๆพื้นที่และสามารถถ่ายโอนเงินเข้าสู่เมืองหลวงของตน โดยผมจะอธิบายในส่วนนี้ประกอบกับภาพและสถานการณ์ดังนี้รับ
สถานการณ์
- ผมเป็นรัฐ Manchu มีอิทธิพลในเขตการค้าทั้งหมด 4 แห่งดังภาพ
- ในเขตการค้า Beijing ผมควบคุมส่วนแบ่งทางการตลาดทั้งหมด ดังนั้นผมจึงเลือกเมืองหลวงไว้ที่นี่ เพื่อที่เมื่อให้พ่อค้าเก็บเงินที่จะไหลมา จะไม่มีการรั่วไปที่อื่นจากการ Transfer trade power ได้
** ไม่จำเป็นต้องเป็นเขตการค้าที่เรามีอำนาจครองทั้งหมด แต่ขอให้เป็นเขตที่เมืองหลวงของเราตั้งอยู่และถ้าเป็นไปได้ก็ควรที่จะมี Trade power มากที่สุดที่เรามีด้วย หากมีดีกว่าก็ย้ายเมืองหลวงได้
- ในเขตการค้า Hangzhou ผมมีส่วนแบ่งสูงที่สุดในบรรดารัฐทั้งหมด และเส้นทางการไหลเวียนการค้าของเขตการค้านี้มีสายหนึ่งมุ่งตรงไปที่ Beijing จึงเหมาะที่จะเป็นเมืองทางผ่านของเงินสายหลักของรัฐเรา
** หากเป็นเวลาปกติตอนเริ่มเกม เราจะมีพ่อค้า 2 คน การส่งพ่อค้าคนแรกให้ไป Collect from Trade และการให้อีกคนมาา Transfer Trade power ในเขตนี้ ถือเป็นวิธีพื้นฐานที่สุดในสร้างโครงข่ายการค้าในช่วงต้นเกมตามสูตรที่ว่า "โจรคนหนึ่งเตรียมที่เก็บอของยู่บ้าน อีกคนไปขโมยของข้างบ้านมา โจรคนที่สองควรมีข้อมูลของข้างบ้าน(Trade power) อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของทั้งหมด จึงเริ่มขโมย" จึงเป็นวิธีพื้นฐานในการสร้างโครงข่ายการค้า
- ในเขตการค้า Canton ผมมีอิทธิพลค่อนข้างมากและมีการไหลไปสู่ Hangzhou เหมาะแก่การส่งพ่อค้าไป Transfer trade power เพื่อส่งไป Beijing
- ในเขตการค้า Nippon ผมมีอำนาจการค้าประมาณครึ่งหนึ่งของทั้งหมดซึ่งน้อยที่สุดในบรรดาเขตที่ผมมีส่วนแบ่งทางการค้า แต่ก็ถือว่าเพียงพอสำหรับการดึงเม็ดเงินเพื่อให้จะไหลเข้าสู่ Hangzhou เช่นกัน เป็นกรณีเดียวกันกับเขต Canton ที่กล่าวไว้ก่อนหน้า แต่ในกรณีนี้หากว่าเม็ดเงินใน Canton และ Nippon ดันเท่ากัน ในเขต Nippon หรือเขตนี้จะได้เงินจากการดึงน้อยกว่า เพราะผมมีส่วนแบ่งน้อยกว่า
สูตรว่าด้วยการสร้างโครงข่ายการค้า
หัวหน้าโจร = พ่อค้าคนแรกประจำเมืองหลวง
บ้านหลังแรก = เมืองหลวงหรือเขตที่เมืองหลวงตั้งอยู่
ลูกน้องโจรคนแรก , บ้านหลังใหญ่ข้างๆ = พ่อค้าคนที่อยู่ประจำ Transfer trade power ในเขตการค้าที่อยู่ใกล้เมืองหลวงที่สุด
โจรคนอื่นๆ = พ่อค้าคนอื่นที่ส่งไปในเขตการค้าต่อๆจากเขตแรก ควรหาเขตที่เรามีอำนาจทางการค้ามากๆ เพื่อจะได้ถ่ายโอนมาได้เยอะๆ อย่างต่ำควรมีอย่างน้อย 25 เปอร์เซ็นต์
บ้านหลังอื่นๆ = เขตการค้าที่มีเส้นทางไหลการไหลของเงินมาสู่รัฐเรา โดยผ่านเขตการค้าแรกสุดที่พ่อค้าคนที่สองประจำอยู่
ข้อมูลของบ้านถัดๆไป = Trade power ที่เรามีในแต่ละเขตการค้าถัดที่อยู่ไปเรื่อยๆ ตามเส้นทางการไหลที่จะพาไปสู่เมืองหลวงของเรา ในบางจุดที่เรามี Trade power น้อยก็ให้ส่งเรือ Light ship ไป Protecting trade เพิ่มเยอะๆ ตามปกติหากอยากให้ได้ประสิทธิผลมากๆควรมีอย่างน้อยครึ่งหนึ่งในแต่ละเขตการค้า
"หัวหน้าโจรนั่ง collect อยู่บ้านหลังแรก ลูกน้องโจรคนแรกอาศัยข้อมูล (เปรียบกับ Trade power ในแต่ละเขตการค้า)ของบ้านหลังใหญ่ข้างๆ เพื่อไปขโมย (Transfer trade power) ก่อน ส่วนโจรคนอื่นๆก็ไปขโมยจากบ้านถัดๆไป มาให้ขโมยคนแรกเพื่อส่งไปให้หัวหน้าโจรที่บ้าน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นข้อมูลที่ตนเองมี ควรจะต้องให้มากกว่าครึ่งหนึ่งของทั้งหมดในแต่ละบ้านแล้วกัน"
ดังนั้นจากทฤษฎีที่ผมกล่าวมาทั้งหมดจึงเป็นข้อสรุปให้ผมกระทำการดังต่อไปนี้
1. ให้พ่อค้าคนหนึ่งไป Collecting from trade ที่ Beijing อันเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงของผม และเป็นเขตการค้าที่ผมมีอำนาจมากที่สุด
2. ให้พ่อค้าคนที่สอง ไป Transfer Trade Power จาก Hangzhou
3. ให้พ่อค้าคนที่สาม ไป Transfer Trade Power จาก Nippon
4. .ให้พ่อค้าคนที่สี่ ไป Transfer Trade Power จาก Canton
คราวนี้ลองเปรียบเทียบตัวเลขเงินที่เราจะได้จาก Beijing เมื่อทำการส่งพ่อค้าไปจนครบกับภาพเก่านะครับ
1. ก่อนสร้างโครงข่าย รายได้ที่เมืองหลวง = 18.3 ที่เมืองอื่นๆก็โดนรัฐอื่นๆกระจายกันไปหมด
2. หลังสร้างโครงข่าย รายได้ที่เมืองหลวง = 42.8 รายได้มุ่งเข้าสู่ศูนย์กลางง่ายต่อการเก็บ และได้จำนวนเงินมากกว่าเก่า ทั้งยังลดจำนวนเงินในเขตย่อยอื่นๆที่ไม่ใช่เมืองหลวงของเราทั้ง 3 เขต ทำให้รัฐอื่นๆแย่งได้น้อย รวมถึงในกรณีนี้ผมมีอำนาจเพียงรัฐเดียวใน Beijing ทำให้ไม่มีเงินไหลออกไป Yumen (ทางด้านซ้ายสีฟ้าอ่อน) ได้เลย และทำให้รัฐอื่นๆได้รายได้น้อยลงจากอีก 3 เขตทันตาเห็น
ปล. ทั้งนี้ทั้งนั้น ตัวแปรสำคัญของการจะสร้างโครงข่ายการค้าให้มีประสิทธิภาพก็คือ ทัพเรือ โดยเฉพาะเรือ Light ship ที่ใช้ป้องกันเขตการค้า (Protecting trade) เพราะตัวแปรหลักของการจะดึงรายได้เข้ามาสู่จุดที่เราต้องการคือ Trade steering (ย้อนกลับไปดูความหมายในหัวข้อการค้าข้อที่ 3.4 )ซึ่งค่านี้นั้นจะมีค่าเท่ากับ Navy tradition ของเรา และค่า Navy tradition จะได้มาจากการรบทางเรือบ่อยๆ หรือ การใช้เรือ Light ship ในการ Protecting trade เยอะๆ (วิธีทำการ Protecting trade ให้ทำย้อนไปในข้อถาม-ตอบ ข้อที่ 6)โดยยิ่งใช้เรือไปป้องกันเขตการค้าไหนๆมาก ก็ยิ่งดึงรายได้เข้ามาได้มากเท่านั้น และยังเป็นการเพิ่ม Trade power ไปในตัวอีกด้วย
![]() |
Navy Tradition ได้จากการรบทางเรือและ Protecting trade |
![]() |
สภาพปัจจุบัน T_T |
![]() |
โอเค...เยี่ยม |
ปล. 3 Achivement มันยากมาก Emperor new cloth - An early reich - A kaiser not just in name กินเวลาชีวิตผมไปอาทิตย์นึง -*-